2554/09/18

กิจกรรมกลางแจ้ง: การประเมินผล

    ลักษณะของกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้มีโอกาสออกกำลังกายอย่างอิสระ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยู่นอกห้องเรียนซึ่งเป็นการพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย และส่งผลถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมกัน การจัดกิจกรรมดังกล่าวให้กับเด็กครูจะต้องเข้าใจถึงการประเมินผลของกิจกรรมซึ่งมีดังนี้คือ ครูจะต้องใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมและความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้
    - การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในด้านน้ำหนัก ส่วนสูง - ลักษณะการพัฒนาของกล้ามเนื้อใหญ่
    - ความมีระเบียบวินัย การเคารพกฎกติกา ข้อตกลง - การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
    - การปรับตัว การเล่นร่วมกับผู้อื่น   - การรู้จักและสามารถเก็บอุปกรณ์การเล่นให้เป็นระเบียบ
   การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งต้องมีการเตรียมการวางแผนทั้งวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม การประเมินผลและจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนจึงจะเกิดประโยชน์

2554/09/12

ธรรมชาติการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ครูต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กเล็กๆ คือเด็กเรียนรู้จากการที่เขาได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  ไม่ใช่การเรียนรู้จากการบอกเล่าหรือการสรุปจากการบอกของครูและ ผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากการปฏิบัตินั้น จะต้องจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ของจริง  สื่อที่เป็นรูปภาพ ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ให้เด็กได้ทำคือทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การจำแนก การคาดคะเน การตั้งข้อคาดเดาหรือการตั้งสมมติฐาน นอกจากนั้นจะต้องมีการตั้งคำถาม การอภิปราย การให้เหตุผล การใช้เครื่องมือ การบันทึก และการสรุปผล กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการคิด การวิเคราะห์ การให้เด็กได้มีอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการทำกิจกรรม เด็กทุกคนต้องได้รับการจัดกิจกรรมดังกล่าว

2554/09/07

การส่งเสริมทักษะการฟัง พูดสำหรับเด็กปฐมวัย

             ครูปฐมวัยมีหน้าที่สำคัญที่จะส่งเสริมทักษะการฟัง พูดในเด็กปฐมวัย เพราะมีความจำเป็นต่อเด็กในการที่เด็กจะต้องมีการสื่อสาร การติดต่อกับบุคคลต่างๆในสังคมแวดล้อมของเด็ก เทคนิคหรือแนวทางที่ครูควรจัดกิจกรรมง่ายๆ พอจะกล่าวได้คือ
             - การบอก การอธิบาย ครูควรให้โอกาสเด็กได้บอก แสดงออก แสดงความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยครูเป็นผู้ถาม และเด็กเป็นผู้ตอบ  เด็กแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อ
คำถามที่ครูถาม
             - การเล่าเรื่อง ครูให้โอกาสกับเด็กทั้งการได้เล่าเรื่องราวต่างๆ หรือการให้เด็กได้ฟังเรื่องราว ทั้ง
ที่เป็นเรื่องจริง เรื่องที่เป็นจินตนาการ ข่าว เหตุการณ์ นิทาน  เป็นต้น สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่องให้เด็กเล็กๆฟังนั้น เรื่องที่เล่าต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง เรียงลำดับเรื่องราวโดยไม่ย้อนกลับไปกลับมา เน้นสาระสำคัญของเรื่องมากกว่ารายละเอียด
             กิจกรรมข้างต้นครูจำเป็นต้องจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เด็กจึงจะมีทักษะด้านการฟัง พูดอย่างแท้จริงซึ่งมีผลต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต

2554/09/04

รู้ทฤษฏีโคลเบอร์กเพื่อพัฒนาจริยธรรมเด็กปฐมวัย

                

 

จริยธรรมเป็นความประพฤติที่สังคมยอมรับหรือชื่นชม