2563/10/09

หลักสำคัญในการพัฒนาทางภาษาในเด็กปฐมวัย

                 หากผู้ใหญ่ที่มีส่วนในการพัฒนาภาษาให้กับเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพัฒนาภาษาแล้ว การเรียนรู้ภาษาของเด็กจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลักง่ายๆของการพัฒนาภาษาพอจะกล่าวได้ดังนี้

                 -ให้เด็กมีเวลาเพียงพอที่จะทำกิจกรรมทางภาษาและมีวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม 

                 -ต้องให้เด็กมีโอกาสใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย และอย่างหลากหลาย

                 -เด็กต้องอยูู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการใช้ภาษา

                 -ให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น กล้าที่จะเสี่ยง ทดลอง ถามคำถามและแสดงความคิดเห็น

                 -ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา

                 -ผู้ใหญ่ต้องให้กำลังใจและส่งเสริมเด็กให้มีความสามารถด้านภาษา

                 -ผู้ใหญ่ต้องยอมรับว่าเด็กทุกคนมีความสามารถด้านภาษาอยู่แล้วและจะต้องพัฒนาจากประสบการณ์เดิมของเด็

                 ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักที่จะสามารถพัฒนาทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ


2563/09/09

ลักษณะของเด็กวัย 4-5 ปีที่มีพัฒนาการทางสังคม

                  พัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัยเป็นการแสดงพฤติกรรมในด้านต่างๆที่เด็กมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สำหรับเด็กวัย 4-5 ปี ตัวอย่างของพฤติกรรมที่พอจะกล่าวได้ดังนี้

                  -ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่เด็กพบเห็น

                  -ทำตามคำสั่ง กฎเกณฑ์ ข้อตกลงต่างๆได้

                  -เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

                  -เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อให้อยู่่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

                  -เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่มได้

                  -ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้

                             ฯลฯ

                 ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยควรมีความรู้และตระหนักในความสำคัญของพัฒนาการทางสังคมเพื่อจะได้ปลูกฝังให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมวัย


2563/07/31

แนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับเด็กปฐมวัย

         การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เป็นความสามารถที่เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้เมื่อพบอุปสรรคต่างๆโดยเฉพาะการปัญหาของตนเองหรือการช่วยเหลือตนเอง การส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถดังกล่าวพอจะกล่าวได้ดังนี้
         - เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นและให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆตามความพอใจของเด็ก
         - ฝึกเด็กให้เป็นคนสังเกต พัฒนาการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสท้ังห้าโดยผู้ใหญ่คอยชี้แนะและตั้งคำถามให้เด็กได้ใช้การสังเกต
         - ส่งเสริมและฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือและพี่งตนเองเพื่อให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
         - ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์เพราะมีความสัมพันธ์กับการคิดแก้ปัญหา
         - ส่งเสริมและให้ประสบการณ์ต่างๆกับเด็กเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ
         -ให้ความรักและความอบอุ่นกับเด็กเพื่อทำให้เด็กรู้สึกมีความมั่นใจในตนเอง
         - ใช้วิธีการชี้แจงต่างๆอย่างมีเหตุผลแทนการบังคับหรือการสั่งการ
        ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปํญหา ผู้ใหญ่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้กับเด็กต้ังแต่ปฐมวัยและจะสะสมไปเรื่อยๆจนเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ เด็กก็จะเป็นคนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา

2563/06/24

กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถทางด้านการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย

      ความสามารถด้านการฟังเป็นทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้ด้านภาษาของเด็กปฐมวัยและเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรที่จะจัดกิจกรรมที่จะสามารถพัฒนาความสามารถทางการฟังให้กับเด็กปฐมวัยดังนี้
     - เพลงหรือดนตรี หรือการทำท่าทางประกอบเพลง เด็กจะมีความสนุกสนานจากการได้ร้องเพลงและเพลงที่นำมาให้เด็กร้องต้องเหมาะสมกับวัย เครื่องดนตรีสามารถทำมาจากเศษวัสดุได้ เช่น กระป๋อง ขวดลักษณะต่างๆ  เป็นต้น
     - คำคล้องจอง คำกลอน  ซึ่งจะต้องไม่ยาวมากควรสั้นๆ และสามารถจำได้ง่ายและอย่างรวดเร็ว หรือเป็นภาษาที่เด็กคุ้นเคย
     - เกมต่างๆ ซึ่งมีกฎ กติกาง่ายๆ เด็กเล่นแล้วมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เน้นการแข่่งขันแต่ให้เด็กได้ร่วมเล่น
อย่างสนุกสนาน และให้เด็กได้ฝึกการฟังให้เข้าใจในกติกาของการเล่น
     - ปริศนาคำทาย เป็นกิจกรรมที่เด็กทำแล้วเกิดความสนุกสนานซึ่งผู้ใหญ่จะต้องมีเทคนิคในการใช้ปริศนาคำทายโดยจะต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก เป็นปริศนาคำทายที่เด็กคุ้นเคยและมีประสบการณ์มาแล้ว
     กิจกรรมดังกล่าวถ้าเด็กได้ทำและมีประสบการณ์อยุ่เรื่อยๆจะเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการฟังสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ   
   

2563/05/19

การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย

      การส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่จำเป็นจะต้องปลูกฝังให้เด็กปฐมวัยมีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าเด็กมีนิสัยรักการอ่านแล้วจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่เด็กจะประสบความสำเร็จในชีวิต การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กเล็กๆจนทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินนั้นพอจะกล่าวได้ดังนี้
        -การสร้างบรรยากาศให้เกิดการอยากอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการจัดมุมหนังสือ การจัดห้องสมุดให้เด็กอยากเข้าไปอ่านหรือหยิบจับหนังสือ
       -การอ่านหนังสือให้เด็กฟังโดยเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ มีความสนุกสนาน
       -การเล่านิทาน โดยกระตุ้นหรือทำให้เด็กอยากอ่านหนังสือ
       -การแนะนำหนังสือ โดยเลือกหนังสือที่ดีและเหมาะสมกับเด็กแล้วนำหนังสือดังกล่าวมาแนะนำให้เด็กได้สนใจและอยากอ่าน
      -การอ่านหนังสือด้วยกันกับผู้ใหญ่
      -การพาไปร้านหนังสือ
      -การให้เด็กเล่าเรื่องในหนังสือโดยมอบหมายให้ไปดูหนังสือนิทานมาคนละเรื่องแล้วมาเล่าให้ฟัง
      -การเล่่นทายปัญหา การตั้งคำถามจากเรื่องในหนังสือที่ผู้ใหญ่เล่าหรืออ่านให้ฟัง
      -การทำกิจกรรมศิลปะจากเรื่องในหนังสือนิทานต่างๆที่ได้ฟัง
   ดังนั้นกิจกรรมต่างๆข้างต้นเป็นกิจกรรมที่ไม่ยากผู้ใหญ่ควรช่วยกันส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย