2553/10/26

จุดมุ่งหมายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

             การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  การจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
ให้เด็กเพื่อให้เกิดผลในเด็กดังนี้
             -  ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดอย่างมีเหตุผล  อย่างเป็นระบบ  โดยเด็กได้รับการฝึกให้
มีทักษะในการสังเกตเป็นสิ่งแรก
             -  ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น   มีความสงสัย  อยากทราบ
คำตอบ
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจตนเอง  และสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
            -  ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดในการแปลความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเรียนในระดับต่อไป
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
            -  ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติรอบตัวเด็ก
               จึงเห็นว่าการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดกับเด็กหลาย
ประการ  ที่กล่าวข้างต้นเป็นแต่เพียงตัวอย่างเท่านั้น  ดังนั้นการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
จึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อเด็กเป็นอย่างมาก

2553/10/18

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์

          ในด้านการศึกษาปฐมวัยทฤษฎีทางสติปัญญาของโฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์  มีบทบาทต่อการ
ศึกษาปฐมวัยโดยเหตุที่มีนักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญทางสติปัญญา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวารร์ด
คือโฮเวิร์ด  การร์ดเนอร์  ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา  ที่จำแนกความสามารถ
หรือสติปัญญาของคนว่ามีความหลากหลาย  ดังนั้นแต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน  มีความสำคัญ
และความสามารถที่แตกต่าง  สมองของมนุษย์ได้แบ่งเป็นส่วนๆ  แต่ละส่วนได้กำหนดความสามารถ
ที่ค้นหาและแก้ปัญหาที่เรียกว่าปัญญา  ซึ่งมีหลายอย่างที่กำหนดมาจากสมอง  สติปัญญาด้านต่างๆ
ที่กล่าวได้มีดังนี้
          สติปัญญาด้านภาษา     ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์    ด้านมิติสัมพันธ์
          ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว      ด้านมนุษย์สัมพันธ์       ด้านดนตรี
          ด้านตนหรือการเข้าใจตนเอง          ด้านการรักธรรมชาติ     ด้านการดำรงชีวิต
          ความรู้ในเรื่องความหลากหลายของสติปัญญาดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย  โดยการ
ที่ครูผู้สอน  หรือผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กต้องมีความรู้และความเข้าใจเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างเต็ม
ศักยภาพ

2553/10/13

วิธีการเล่านิทานสำหรับเด็กเล็ก

              การเล่านิทานให้เด็กได้ฟังมีอย่างหลากหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการเตรียม
อุปกรณ์และความพร้อมของผู้เล่านิทานที่ต้องการให้เกิดกับเด็กเป็นสำคัญ    วิธีการเล่าพอจะ
กล่าวได้ดังนี้คือ
              - เล่านิทานแบบปากเปล่า   โดยไม่มีการใช้สื่อประกอบการเล่า  นอกจากน้ำเสียงและ
จังหวะการพูดที่ใช้เสียงสูงต่ำ  และการเล่าที่เป็นต้องใช้ศิลปะในการพูด
              - เล่าประกอบเสียง  เช่น  เสียงเพลง  เสียงดนตรี   เทปบันทึกเสียงต่างๆ   เป็นการสร้าง
บรรยากาศที่กระตุ้นเร้าให้เกิดความตื่นเต้น
              - เล่าประกอบอุปกรณ์  หรือสิ่งประดิษฐ์  เช่น  หน้ากาก  หุ่นมือ  หุ่นเชิด  ตุ๊กตา  เพื่อสร้าง
ความสนใจ  สนุกสนานให้กับเด็ก
              - เล่าประกอบภาพ เช่น  ภาพวาด  ภาพจากหนังสือ    ภาพเคลื่อนไหว เพื่อจูงใจเด็ก
เด็กได้เกิดความสนุกสนานและจินตนาการ
              - เล่าประกอบท่าทาง   ซึ่งมีทั้งท่าทางผู้เล่า  และผู้ฟัง   ทำให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการ
ในลักษณะเป็นรูปธรรมมากขึ้น
              ดังนั้น  ผู้ที่จะเล่านิทานให้เด็กควรเตรียมตัวและเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อเด็ก                  

2553/10/05

กระดาษสู่กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

            กระดาษเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย  ถือว่าเป็นวัสดุเหลือใช้ที่
สามารถหาได้ง่าย  ประหยัด  และนำมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างหลากหลาย    ไม่ว่าจะเป็น
กระดาษหนังสือพิมพ์  กระดาษนิตยสาร   กระดาษโฆษณาต่างๆ  กระดาษห่อของขวัญ   กระดาษ
เหลือใช้ต่างๆ  ฯลฯ    กระดาษดังกล่าวสามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้ดังนี้
            การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
            การฉีก  ปะ   ตัดกระดาษ
            การสาน  การร้อย
            การพับเป็นรูปต่างๆ
            การปะติดกระดาษ
            กิจกรรมที่กล่าวข้างต้นเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์  ที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้เด็กได้ฝึก
ความแข็งแรง  ความคล่องแคล่ว   การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา   และที่สำคัญปลูกฝัง
ให้เด็กได้รู้ค่าของกระดาษ  รู้จักการประหยัดตั้งแต่เด็กซึ่งส่งผลถึงเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่