2556/12/24

หลักการเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย

                     การเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็กต้องเริ่มเตรียมกันตั้งแต่่ในระดับปฐมวัยซึ่งผู้ใหญ๋หรือครูปฐมวัยจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจดังนี้
                     - ให้เด็กเร่ียนรู้จากการปฏิบัติจริงไม่ให้เด็กเล่นไปตามยถากรรม
                     - ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้จากโรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
                     - ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
                     - นำประสบการณ์เดิมของเด็กมาใช้ในการสอนประสบการณ์ใหม่
                     - สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก
                     - สอนตามลำดับขั้นตอนการพัฒนาความคิดรวบยอด และทักษะทางคณิตศาสตร์ตลอดจนคำนึงถึงหลักทฤษฎี
                     - ให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างหลากหลาย เด็กปฏิบัตกิจกรรมด้วยตนเองและพบคำตอบด้วยตนเอง
                     การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง หากเด็กไม่ได้รับการเตรียมแล้วเด็กก็ไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างดี

2556/12/17

ความสำคัญในการเล่นของเด็ก

                 การเล่นของเด็กเป็นการให้ประสบการณ์ตรงต่อเด็ก เพื่อเด็กจะได้รับประสบการณ์ใหม่และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ความสำคัญของการเล่นมีดังนี้
                - พัฒนาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
                - พัฒนาด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา
                - ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
                - ปัองกันการเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
                - ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการสังเกต
                - ฝึกคุณธรรม จริยธรรม เช่น การมีวินัย ความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ  ฯลฯ
                - พัฒนาทักษะการใช้ภาษา การสื่อสาร
                ดังนั้นการเล่นสำหรับเด็กแล้วมีความสำคัญในชีวิตของเด็กทุกๆคน ผู้ใหญ่มีหน้าที่พัฒนาเด็กโดยการส่งเสริมและสนับสนุน คอยดูแลให้เด็กได้เล่นอย่างเหมาะสมต่อไป

2556/12/15

สอนภาษาแบบธรรมชาติ(Whole Language Approach) ให้กับเด็กปฐมวัย

              การสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาแนวคิดที่่ผู้ใหญ่ ครู หรือพ่อแม่สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาธรรมชาติทั้งในและนอกห้องเรียน ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้พอกล่าวได้คือ
              - เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในการเรียนรู้และระดับการพัฒนาได้ไม่เท่ากัน
              - เด็กเร่ียนรุ้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านประสาทสัมผัสทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอย่างมีความสุข
              - การเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน นอกห้องเรียน ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมจริงๆรอบตัวเด็ก
              - เนื้อหาการเรียนรู้เป็นเนื้อหาที่อยู่ใกล้ตัวและมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
              - การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากการได้รับการแนะนำช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ ไม่ใช่เกิดจากการถูกบังคับหรือการควบคุม
              - เด็กเรียนรู้ภาษาไปพร้อมกับการพัฒนาในทุกๆด้านไปพร้อมกันทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และร่างกาย
              ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติผู้ใหญ่่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนเห็นหรือตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก

   

2556/12/08

กิจกรรมที่ช่วยฝึกความพร้อมของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และแขนให้กับเด็กปฐมวัย

                เด็กปฐมวัยหากได้รับการฝึกให้ใช้กล้ามเนื้อมือ นิ้วมือและแขนใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและแข็งแรงแล้วจะส่งผลต่อการพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กสำหรับกิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กมีดังนี้
                - การทำงานศิลปะต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสีเทียน สีไม้ สีน้ำ การระบายสีด้วยนิ้วมือ การพิมพ์ การปั้น การพับกระดาษ ฯลฯ
                - การเล่นของเล่นที่ใช้มือ นิ้วมือ เช่น การเล่นเปลี่ยนเสื้อผ้าตุ็กตา การผูกเชือกรองเท้า การติดกระดุม รูดซิป ฯลฯ
                - การใช้ไม้ขีดเขียนเล่นบนดิน ใช้มือเขียนเล่นบนทราย การก่อเจดีย์ทราย
                - การเล่นเกมหรือการละเล่นต่างๆ ที่มีการวิ่ง กระโดด การเล่นที่ใช้มือโดยนั่งเล่นอยู่กับที่ เช่น หมากเก็บ ฯลฯ
               - การเล่นเครื่องดนตรีสำหรับเด็ก เช่น ตีกลอง เป่าปี่ ตีระนาด เขย่าลูกแซก ฯลฯ
               - การเล่านิทานโดยใช้หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือประกอบ
               - การทำท่าประกอบคำคล้องจองหรือตามเนื้อเพลง
               หากเด็กได้รับการฝึกโดยได้ทำกิจกรรมต่างๆที่กล่าวเด็กจะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือและแขนซึ่งจะทำให้มีความพร้อมด้านการเขียนต่อไป




2556/12/04

สื่อพื้นฐานที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

         ทักษะวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทำให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และทำให้มีเหตุผล เป็นคนคิดเป็นทำเป็น ตลอดจนแก้ปัญหาได้ สื่อพื้นฐานพอจะกล่าวได้ดังนี้
         - แว่นขยาย
         - เครื่องชั่ง
         - แม่เหล็ก
         - เทอร์โมมิเตอร์
         - ไฟฉาย
         - วัสดุต่างๆจากธรรมชาติหรือมีอยุ่ในท้องถิ่น เช่น เปลือกหอย ดิน หิน แร่ เมล็ดพืชต่างๆ ใบไม้แห้ง ดอกไม้แห้ง ฯลฯ
         - อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น กะละมัง ถังน้ำ ฯลฯ
         ดังนั้นผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูสามารถส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีทักษะวิทยาศาสตร์ได้โดยการหาสื่อที่กล่าวข้างต้นและให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมที่ครูเตรียมให้ด้วยตัวของเด็กเอง