2556/02/26

ข้อควรทำในการจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย

                             งานศิลปะสำหรับเด็กเป็นการพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างทั้งสภาพแวดล้อมตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู การจัดกิจกรรมศิลปะของผู้ใหญ่จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก แนวทางที่ควรทำมีดังนี้
                             - อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย แนวทางการจัด และบทบาทครู
                             - ให้คิดว่ากิจกรรมศิลปะมีความสำคัญเช่นเดียวกับการจัดประสบการณ์ในการเขียน-การอ่าน
                             - เน้นกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานที่เด็กทำ
                             - สนับสนุนส่งเสริมการแสดงความคิดสร้างสรรค์หลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ
                             - ชื่นชมผลงานและความก้าวหน้าของเด็ก
                             - ฝึกฝนและแนะนำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัตด้วยตนเอง และมีทัศนคติที่ดีต่องานศิลปะ
                             - วางแผน เตรียมกิจกรรมต่างๆ และวัสดุต่างๆ สำหรับเด็กให้พร้อม
                           การดำเนินงานดังกล่าวเกี่ยวกับงานศิลปะสำหรับเด็กมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กในทุกด้าน หากครูจัดได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เด็กก็จะได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

2556/02/18

พฤติกรรมหรือบทบาทเด็กในห้องเรียนมอนเตสซอรี

                           การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี จุดมุุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมและทักษะที่จะมีไปตลอดชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะเห็นในห้องเรียนมอนเตสซอรีมีดังนี้
                           -เด็กเรียนรู้ได้ตามความพร้อมและความสามารถของตนเอง
                           -เด็กมีอิสระจากการที่ได้เลือกอุปกรณ์ตามความชอบและความสนใจของตนเอง แทนการทำตามคำสั่ง
                           -เด็กเป็นตัวของตนเอง มีสมาธิ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้ความร่วมมือ
                           -เด็กมีวินัยในตนเอง ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการบังคับแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเอง
                           -เด็กสามารถปฏิบัติงานได้ซ้ำแล้วซำอีกตามความสนใจของเด็กเอง ซึ่งส่งผลต่อทักษะในตัวเด็ก
                           -เด็กเรียนรู้และสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองได้จากการปฏิบัติงานจากสื่อและอุปกรณ์
                           -เด็กหยิบงานจากชั้นด้วยตนเอง เด็กเก็บอุปกรณ์เข้าที่ทุกคุรั้งอย่างเรียบร้อยหลังจากการนำไปใช้แล้ว
                         ดังนั้นพฤติกรรมที่กล่าวข้างต้นเราจะได้เห็นจากห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนดังกล่าว ซึ่งต้องอาศัยเวลาและความพยายามอย่างมากของครูผู้สอน

2556/02/17

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กฐมวัย

            ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีอยู่ในตัวเด็กและสามารถพัฒนาได้โดยจำเป็นต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กๆ จากผู้ใหญ่ซึ่งมีพ่อแม่ ครู ผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้
           - ให้ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ต่อเด็ก สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนา
           - ให้กำลังใจอย่าติติง ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกขัดใจ
           - ให้คว่ามรู้สึกอิสระ ไม่บังคับให้ทำ แต่ให้ทำ เล่นในสิ่งที่เด็กอยากทำ แต่ไม่ได้หมายถึงการตามใจในทุกอย่าง
           - เป็นผู้ฟังที่ดี อย่าเห็นว่าสิ่งที่เด็กพูด เล่าเป็นเรื่องไร้สาระ
           - ฝึกทักษะการคิดให้กับเด็กโดยการใช้คำถาม เริ่มตั้งแต่คำถามง่ายๆ จนเป็นคำถามที่เด็กต้องใช้ทักษะการคิดที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
           - การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัยให้กับเด็ก
           - พัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ


           การจะพัฒนาความคิดสร่้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกัน และเริ่มตั้งแต่วัยเด็กให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

2556/02/09

สมองของเด็กปฐมวัยกับการจัดสภาพแวดล้อม


                 การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาสมองเป็นอย่างมาก สมองทุกส่วนจะทำงานพร้อมกันและสมองจะเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นและท้าทายฉะนั้นพ่อแม่ ครู ผู้เลี้ยงดูเด็กควรส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็กด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยประสาทสัมผัสทั้งห้า การจัดหาหรือการจัดวางอุปกรณ์ควรจัดวางอย่างหลากหลาย เพียงพอสะดวกต่อการหยิบใช้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้ และภาพแวดล้อมต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เพิ่มประสบการณ์  ท้าทายให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วย สิ่งที่จะต้องไม่ลืมในการจัดสภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองของเด็กคือ สมองจะเรียนรู้ได้ดีในสภาวการณ์ที่ดี อารมณ์เป็นสุข สมองจึงสามารถเก็บข้มมูลได้ดีด้วยสภาพอารมณ์เชิงบวก ดังนั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่ออารมณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติกับเด็กจึงต้องมีความอ่อนโยน อารมณ์ดี และมีความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งส่งผลต่ความรู้สึกของเด็กทำให้เด็กมีความอบอุ่นและปลอดภัย สมองก็พร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ