2554/05/20

สมองกับการจำของเด็ก

                   การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยใช้การจัดกิจกรรมผ่านการเล่นเพื่อให้เกิด
การเรียนรู้ เด็กควรมีความเพลิดเพลินซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่ต้องให้เด็กมีอารมณ์ทางบวก
การจำของสมองจะจำสิ่งที่เรียนรู้ไปหลังจาก 24 ชั่งโมงมีดังนี้
                  การฟังคำบรรยาย อย่างเดียวโดยไม่มีการซักถามจะจำได้ร้อยละ 5
                  การอ่านเรื่องราวซึ่งให้แง่คิดความเห็นจะจำได้ร้อยละ 10
                  การฟังด้วยหูและเห็นด้วยภาพจะจำได้ร้อยละ 20
                  การแสดงจะจำได้ร้อยละ 30
                  การอภิปรายถกเถียงจะจำได้ร้อยละ 50
                  การลงมือปฏิบัติจะจำได้ร้อยละ 75
                  การนำสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาสอนจะจำได้ร้อยละ 90
                 ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กปฐมวัยได้เกิดประสบการณ์หรือให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องวาง
แผนในการจัดกิจกรรมโดยใช้ความรู้ดังกล่าวในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้พัฒนามากที่สุด
                

2554/05/04

กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง

          มนุษย์ทุกคนย่อมต้องปลูกฝังให้เกิดความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้
มนุษย์หรือคนเราเมื่อเห็นคุณค่าของตนเองแล้วย่อมส่งผลต่อการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เราจะต้องทำจากภายในออกสู่ภายนอกซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าจะปลูกฝังได้  แต่ก็ไม่เกินความสามารถ
ของมนุษย์ไปได้  ดังนั้นจึงต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆเป็นต้นไป กิจกรรมที่จะฝึกให้กับเด็กเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ
อย่างเช่นเมื่อเด็กไปโรงเรียน ครูควรดำเนินการดังนี้
         - ให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ทั้งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวเอง  และที่เป็น
กิจกรรมของส่วนรวม  เช่น  การล้างหน้า แปรงฟัน การสวมเสื้อผ้า รองเท้า-ถุงเท้า การเก็บที่นอน  การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดอุปกรณ์หรือสื่อที่ใช้ร่วมกัน การยกเก็บอุปกรณ์  เป็นต้น
         - ให้เด็กช่วยเหลือครูในกิจกรรมที่ปฏิบัติในห้องเรียน  เช่น  การถือของ การยกของ  การแจกของ
เป็นต้น
         -ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ครูได้วางแผน เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมสร้างสรรค์  กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น  กิจกรรมดังกล่าวครูต้องให้เด็ก
ได้ปฏิบัติอย่างทั่วถึง และมีการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมและบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่อง
โดยส่งเสริมให้เด็กได้พูดโต้ตอบ สื่อสารให้ตรงตามที่เด็กและครูต้องการ  มีการให้แรงเสริมและให้
กำลังใจแก่เด็ก ฯลฯ
          สิ่งที่กล่าวถึงแม้จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆหรือทำเป็นประจำแล้ว แต่ถ้าครูละเลยและไม่ให้ความ
สนใจ ตลอดทั้งไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่สามารถสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับเด็กได้