2562/03/31

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ที่มีต่อเด็กปฐมวัย

          แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่มีทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตที่สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียรู้ต่อไปเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นแหล่งเรียนรู้มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยดังนี้
          - เด็กเกิดกการเรียนรู้จากการคิดเอง ปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
         - เป็นแหล่งที่รวมขององค์ความรู้อันหลากหลาย พร้อมที่จะให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษา ค้นคว้า ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันแต่ละบุคคล และเป็นแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
         - เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและสนใจที่จะเรียนรู้โดยไม่เกิดความเบื่อหน่าย   
         - ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งโดยใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลและสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล
         - กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลาย
         - เสริมสร้างการเรียนรู้จนเกิดทักษะในการแสวงหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างการพัฒนาทักษะการคิด ทั้งการคิดแก้ปัญหา การให้เหตุผล การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น

         ฉะนั้น แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก

2562/01/28

แนวทางในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

   ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้น ครูผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องมีความรู้ความเข้าในที่จะพัฒนาอย่างถูกต้อง ต้องพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นรูปธรรมซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้
    การจัดประเภท ให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงในการจัดกลุ่มสื่งของที่เหมือนกันไว้ด้วยกันหรือการจัดกลุ่มความสัมพันธ์ โดยให้บอกเหตุผลในการจัดกลุ่มที่เป็นพวกเดียวกัน
    การเปรียบเทียบ จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่น ได้ทดลอง การเล่นบล็อก การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ เช่น
การปั้น การวาดภาพ ระบายสี การฉีก การตัด เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เปรียบ
เทียบพื้นผิว สี ความยาว รูปร่าง เป็นต้น
    การเรียงลำดับ ให้เด็กได้เล่นบล็อก เล่นของเล่นต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ในการเรียงลำดับ เช่น เรื่องความสั้นหรือยาว  อันไหนสั้นที่สุด หรือยาวที่สุด
    การวัด จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง อาจใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายวัดก็ได้
เช่น ใช้มือวัดความยาวของสิ่งต่างๆ  วัดระยะทางด้วยการเดิน เป็นต้น
    รูปทรง และขนาด ให้เด็กได้หยิบบล็อก หรือสิ่งของที่มีรูปทรงต่างๆทั้งรูปสี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม
การให้เด็กได้วาดรูปรูปทรงดังกล่าว เป็นต้น
    จำนวนเลข ให้เด็กได้นับสิ่งของและชี้สิ่งของให้ตรงกับสิ่งที่นับ ทั้งการนับต่อเนื่อง นับข้ามหรือนับย้อน
    ดังนั้นการพัฒนาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยจึงมึความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาอย่างถูกต้อง