2559/12/31

การเล่นเกม : ประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัย

         การเล่นเกมในเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมการเล่นอย่างหนึ่งที่มีกฎเกณฑ์ กติกาที่ไม่ซับซ้อน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เกิดความสนุกสนาน เกิดความสนใจ มีความกระตือรือร้น เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย และที่สำคัญเกมสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาซึ่งพอจะกล่าวถึงประโยชน์ได้ดังนี้
         - ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและแข็งแรง มีสุขภาพดี
         - สร้างพื้นฐานทักษะทางกีฬาและสมรรถภาพทางกาย
         - ได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง ผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด
         - ได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำงานและการเล่นร่วมกับคนอื่น ปฏิบัติตามระเบียบ
         - สร้างลักษณะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
         - เกิดความกล้าที่จะแสดงออกและมีความเชื่อมั่น
         - ได้ฝึกทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษาด้านฟัง พูด อ่าน เขียน
         - มีความกระจ่างในเนื้อหาของสิ่งที่เรียนรู้ในแต่ละเรื่อง
         การเล่นเกมจึงมีประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมากดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ควรให้ความสำคัญและจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นเกมอย่างเหมาะสม

2559/11/30

กิจกรรมที่พัฒนาการด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        ภาษามีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมากเพราะเป็นสิ่งที่ใช้สื่อสารเพื่อความต้องการด้านต่างๆ ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งที่อยู่แวดล้อมเด็ก ความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กจึงมีความ
จำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา กิจกรรมที่สามารถพัฒนาภาษาให้เด็กได้พอจะกล่าวได้ดังนี้
       - การเล่นเกมทางภาษา  ทายคำศัพท์
       - การให้ทำชิ้นงานต่างๆ เช่น การทำบัตรอวยพร การทำหนังสือเล่มเล็ก
       - การใช้สื่ออุปกรณ์ เช่น เกมการศึกษา บัตรภาพ ฯลฯ
       - ฝึกให้เล่น เคลื่อนไหว ทำท่าทางประกอบการพูด  การร้องเพลง
       -ใช้คำคุณศัพท์ต่างๆกับเด็ก เช่น สีของสิ่งของ คุณลักษณะของสิ่งของ
       - ชักชวนให้เด็กอธิบายคำง่ายๆ
       - จัดกิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
       - ให้เด็กลองผิด ลองถูกในการใช้ภาษาขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การวาดรูปแล้วให้เล่าเรื่อง
       กิจกรรมดังกล่าวเป็นตัวอย่างของการที่จะจัดให้กับเด็กเพื่อเป็นการพัฒนาภาษา เด็กจะได้สนุกสนานกับการเรียนรู้ทางภาษาซึ่งจะส่งเสริมเด็กให้พัฒนาภาษาอย่างมีคุณภาพต่อไป

2559/10/31

ลักษณะพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

        เด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการเรียนรู้จากการเล่น การลองผิดลองถูกในการ
กระทำต่างๆ การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การสังเกต การซักถาม พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวพอสังเกตได้ดังนี้
       - ชื่นชอบและสนุกกับการเล่นด้วยคำพูดและมีทักษะในการเล่นสูง
       - เรียนรู้ด้วยการจินตนาการผ่าน
การเล่นบทบาทสมมติ การเล่านิทาน การทำงานศิลปะ เป็นต้น
       - มีการแสดงออกและมีการเรียนรู้โดยใช้วิธีต่างๆเชิงสร้างสรรค์ เช่น การทดลอง การซักถาม การตั้งข้อสังเกต  การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นต้น
       - มีระยะความสนใจนานในขณะที่กำลังทำกิจกรรมที่สนใจซึ่งเด็กวัยนี้มีระยะความสนใจประมาณ 15
นาที ในการทำกิจกรรมหนึ่งๆ แต่เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะให้ความสนใจนานถึง 30 นาที และบาง
กิจกรรมอาจจะมีความสนใจนานถึง 60 นาที
      - มีความสนใจในการแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
      ดังนั้นลักษณะพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ให้ผู้ใหญ่ได้สังเกตเด็กๆเพื่อที่จะได้ช่วยกันส่งเสริมให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ต่อไป

2559/09/30

พัฒนาด้านการฟังและพูดของเด็กอายุ 5-6 ปี

        หากผู้ใหญ่ได้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการฟังและการพูดของเด็กเล็กๆแล้วจะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้
        - พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 2500-2800 คำ
        - พูดประโยคที่มีความยาว 5-6 คำขึ้นไป เป็นประโยคที่มีความซับซ้อนขึ้นและมักใช้ประโยคคำสั่ง
        - พูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกับผู้อื่นได้อย่างสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด
        - บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
        - พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์
และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ส ได้ชัดเจนขึ้นเสียง ร อาจยังไม่ชัด
        - รู้จักใช้คำถาม "ทำไม" "อย่างไร"
       ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่ได้ทราบพัฒนาการตามที่กล่าวแล้วทำให้สามารถที่จะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กต่อไป

2559/08/31

วัสดุอุปกรณ์ : การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

        การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่เด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ กิจกรรมสร้างสรรค์ควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
        - สีเทียนแท่งใหญ่ สีน้ำ พู่กันขนาดใหญ่ กระดาษ เสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนสำหรับการควาดภาพและระบายสี
        - ดินน้ำมัน ดินเหนียว แป้งโดว์ แผ่นรองปั้น แม่พิมพ์รูปต่างๆ
ไม้นวดแป้ง สำหรับการปั้น
        - เชือก เส้นด้าย ตรายาง กระดาษ ผ้าเช็ดมือ สีโปสเตอร์ สำหรับการพิมพ์ภาพ
        - กระดาษหรือวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้พับ ฉีก ตัด ปะ กรรไกรขนาดเล็กปลายมน กาวน้ำหรือแป้งเปียก ผ้าเช็ดมือ สำหรับการพับ การฉีก ตัดปะ
       - กระดาษ ใบตอง ใบมะพร้าว สำหรับการสาน
       - ลูกปัด หลอดกาแฟ หลอดด้าย สำหรับการร้อย
       - เศษวัสดุต่างๆ มีกล่องกระดาษ แกนกระดาษ เศษผ้า กาว กรรไกร สี ผ้าเช็ดมือ สำหรับการประดิษฐ์
       ดังนั้นกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาการะบวนการคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้เด็กแสดงออกตามความสามารถจึงจำเป็นต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวให้พร้อม
       
 

2559/07/31

บทบาทครูในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย

      ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัยโดยครูจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความคิดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ บทบาทของครูพอจะกล่าวได้ดังนี้
      - สร้างความเป็นกันเอง ความอบอุ่นเพื่อให้เด็กมีความมั่นใจที่จะพูด กล้าคิด กล้าทำ
      - เป็นผู้ฟังที่ดี และตั้งใจฟังคำถามของนักเรียน
      - เป็นผู้สนับสนุนให้ผู้เรียนค้นคว้าและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
      - ให้โอกาสผู้เรียนคิดโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย
      - ลดบทบาทในการเป็นผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้บอก แต่ควรใช้วิธีการแนะหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง
     - ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย เกิดปัญหาและอยากหาคำตอบ โดยตั้งคำถามอย่างหลากหลายให้คิด
     - ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะในการคิด
     ดังนั้นการที่จะให้เด็กได้มีการพัฒนาความคิดนั้นครูจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมและต้องมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย

2559/06/30

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการให้เด็กได้คิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อมข้อมูล  ประยุกต์ และสรุปเป็นความรู้ได้ด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี  
        - ทักษะการสังเกต (การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน)
        - ทักษะการจำแนกประเภท(การแบ่งพวกหรือการเรียงลำดับวัตถุสิ่งของ)
        - ทักษะการวัด(การเลือและใช้เครื่องมือในการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ)
        - ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสกับสเปสกับเวลา(การหาความสัมพันธ์มิติของวัตถุ ระหว่างที่อยู่ของวัตถุ เป็นต้น)
        - ทักษะการคำนวณ(การนับจำนวนของวัตถุ และการนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน)
        - ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล(การนำข้อมุลมาจัดกระทำใหม่และนำเสนอให้ผู้อื่นได้เข้าใจ)
        - ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล(การเพิ่มความเห็นให้กับข้อมูลที่ได้อย่างมีเหตุผล)
        - ทักษะการพยากรณ์(การคาดคะเนคำตอบโดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำ)
        ทักษะดังกล่าวควรส่งเสริมให้เกิดแก่ผู้เรียนในระดับปฐมวัย

2559/05/31

ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

        การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดกิจกรรมตามสภาพจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้โลกรอบๆตัว โดยให้เด็กเป็นผู้กระทำในสิ่งที่ต้องการศึกษาด้วยตนเอง อาจทำเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล และกิจกรรมควรเหมาะสมกับพัฒ
นาการและความสามารถของเด็ก ซึ่งการจัดกิจกรรมมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยดังนี้
        - เด็กเกิดความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
        - เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
        - เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
        - เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับมโนคติและความคิดในการแปลความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก
        - เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่่างๆรอบตัวมากขึ้น
        - เด็กมีการพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีทางวิทยาศาสตร์
        - เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา
        - เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
        - เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
       ประโยชน์ดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่จะเกิดกับเด็กปฐมวัยหากผู้ใหญ่ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง

2559/04/28

พฤติกรรมเด็กที่มีความสามารถทางการสังเกต

       ความสามารถในการสังเกตเป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย
อย่างเพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เช่น เห็นอย่างไร
ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปอย่างนั้น สำหรับพฤติกรรมที่แสดงว่า
เด็กมีความสามารถในการสังเกตพอจะกล่าวได้ดังนี้
     - บรรยายลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆโดยการกะประมาณได้
     - ชี้และระบุข้อมูลการสังเกตจากข้อมูลที่กำหนดได้
     - บอกลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆได้จากการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
     - บรรยายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่สังเกตได้
     - แยกแยะข้อมูลจาการสังเกต และการลงความเห็นได้
     - บอกสิ่งที่ต้องคำนึงและความปลอดภัยในการสังเกตได้
     ดังนั้นความสามารถในการสังเกตของเด็กนั้นจำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาตั้งแต่
ในระดับปฐมวัยโดยที่ผู้ใหญ่ต้องให้เด็กได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าไม่ว่าตา หู จมูก ลิ้นและผิวกาย

2559/03/31

สื่อสำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

            สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นและสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนได้เร็ว ถูกต้อง ฯลฯ ตัวอย่างของสื่อมีดังนี้
            - ของเล่น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับการเลือกของครูผู้สอน
            - ของจริง เป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้กับเด็กมากที่สุดและเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
            - ของจำลองและสถานการณ์จำลอง เป็นสื่อที่ใกล้เคียงของจริงหรือสถานการณ์จริงมากที่สุด
            - หนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กโดยครูใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้หรือจัดวางไว้ในมุมหนังสือ
            - ภาพ บัตรภาพ และแผนภูมิ ครูใช้ประกอบการจัดประสบการณ์ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
            - เกม เพลงต่างๆทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้เคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นต้น
            - นิทาน การเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานทำให้เด็กได้พัฒนาในด้านต่างๆอย่างมีคุณภาพ
            สื่อการเรียนรู้ดังกล่าวจึงมีคุณค่าสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก ขึ้นอยู่กับครูที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม

2559/02/29

กิจกรรมที่ส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แก่เด็กปฐมวัย

                   การส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญและจำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น คล่องแคล่ว และให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสัมพันธ์
ระหว่างมือกับตา กิจกรรมที่ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติมีดังนี้
                   - การวาดภาพระบายสี เช่น การวาดภาพด้วยสีเทียน การป้ายสีน้ำด้วยพู่กัน ฯลฯ
                   - การทดลองเกี่ยวกับสี เช่น การละเลงสีด้วยส่วนต่างๆ การหยดสี การพับสี ฯลฯ
                   - การปั้น เช่น การปั้นดินน้ำมัน ดินเหนียว หรือแป้ง ฯลฯ
                   - การพับ ฉีก ดัด ปะ เช่น การฉีก ตัด หรือปะ กระดาษโดยเสรี การพับใบตอง ฯลฯ                                      - การร้อย เช่น การร้อยลูกปัด การร้อยหลอดกาแฟ ฯลฯ
                   - การประดิษฐ์ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ สิ่งของต่างๆ ฯลฯ
                 กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้มีความสามารถดังนั้นต้องให้เด็กได้รับการฝึกฝนโดยให้เด็กได้กระทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

   

2559/01/31

กิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

      กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยการสร้างเสริมประสบการณ์สำคัญต่างๆในลักษณะของการบูรณาการเพื่อให้เด็กได้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน เกิดความคิดรวบยอด เด็กได้เกิดความกล้าที่จะแสดงออก เป็นต้น กิจกรรม
เสริมประสบการณ์มีหลายประเภท ตัวอย่างของกิจกรรมมีดังนี้
     - การเล่านิทาน เป็นการเล่านิทานให้เด็กฟังอาจเล่าด้วยปากเปล่าหรือใช้สื่อประกอบ
     - การเล่าเรื่อง ข่าว เหตุการณ์ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่เล่าหรือการเล่าประสบการณ์ของตัวเอง
     - การสาธิต เป็นกิจกรรมที่ครูทำให้ดู การแนะนำ ชี้แจง นำไปสู่การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
     - การปฏิบัติการทดลอง เป็นการที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติและทำกิจกรรมเพื่อค้นพบข้อเท็จจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลและสนับสนุนจากครู
     - การแสดงบทบาทสมมติ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทางการพูด การแสดงท่าทางตามความคิดเห็นของเด็กเองโดยไม่มีการซักซ้อมล่วงหน้า
     กิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่างๆทีกล่าวสามารถทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
ซึ่งครูจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กและสถานการณ์