2553/12/27

สื่อ วัสดุ ของเล่นจากธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย

                               สำหรับเด็กปฐมวัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างมาก  ในสภาพของสังคมไทย  เราสามารถหาสิ่งดังกล่าวได้จากธรรมชาติ และจากสภาพแวดล้อมรอบตัวซึ่งให้คุณค่ามากสำหรับเด็ก  สิ่ง
ดังกล่าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติ  ได้แก่  ลูกไม้  กิ่งไม้  ใบไม้  เปลือกหอย   ก้อนหิน  ก้อนกรวด    หรือไม่ก็เป็นของเล่นที่รุ่น
ปู่ย่าตายายทำให้กับลูกหลานเล่น  ส่วนใหญ่จะเป็นของที่ทำจากวัสดุพื้นบ้าน   ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า   ผ้าฝ้ายบางๆที่นำมา
ย้อมสีต่างๆ   สื่อ วัสดุ  อุปกรณ์  จากธรรมชาตินี้หาได้อย่างง่ายดายในสังคมเมืองไทย  เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นตามภูมิภาคของไทยเรา นอกจากมีผลดีเป็นอย่างมากในด้านการประหยัดแล้ว ยังทำให้เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของไทย  และที่สำคัญคือการส่งเสริมการนำสิ่งดังกล่าวมา
เล่นอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย

2553/12/17

ลักษณะของกิจกรรมการพัฒนาทางภาษาในเด็กปฐมวัย

                            การสอนภาษาที่ได้ผลสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีการทดลองและการวิจัยในประเทศไทย
และมีการใช้ในหลายโรงเรียน  คือการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม  เป็นการเรียนรู้ซึ่งครู
ต้องเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  พัฒนาการดังกล่าว คือ การฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน   โดยมี
กระบวนการคิดเป็นแกนสำคัญ  ภาษาที่เด็กใช้อยู่มาจากการคิดไม่ว่าจะเป็นการทักษะใดก็ตาม   ภาษา
จะต้องเริ่มจากการพัฒนาทางด้านความคิดก่อน  การพัฒนาภาษาแบบองค์รวมดังกล่าว  ครูและผู้เกี่ยว
ข้องมีความสำคัญต้องมีความเข้าใจและจัดกิจกรรมการพัฒนาทางภาษาที่มีลักษณะดังนี้
                             -  ครูสอนภาษาอย่างมีความหมายสำหรับเด็ก เช่น  การสอนอ่าน ให้เด็กได้รู้จักการใช้
หนังสือ  เปิดหนังสืออย่างถูกต้อง  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย  ซักถามเกี่ยวกับหนังสือ
                             -   เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือ  ผ่านการเล่านิทาน  การ
สนทนาโต้ตอบ  คำคล้องจอง  เป็นต้น
                             -   มีหนังสือ   สิ่งพิมพ์ต่างๆ  ให้เด็กได้สัมผัส  ได้เลือกตามความสนใจและความ
ต้องการ
                             -   ให้เด็กได้สัมผัสกับการอ่าน  การเขียน  ในลักษณะต่างๆ   ด้วยความสนใจและ
ตามประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน  โดยไม่จำเป็นต้องถูกต้องทั้งหมด
                             -    การสอนอ่านมีทั้งการสอนอ่านทั้งกลุ่มย่อย  และกลุ่มใหญ่   มีสื่อที่เป็นหนังสือ
ที่เพียงพอ  และเหมาะสม  พร้อมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทางภาษา

2553/12/13

ฝึกการคิดแก้ปัญหาตั้งแต่เด็กเล็กๆ

                   การคิดแก้ปัญหาของมนุษย์เราแต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู
ตั้งแต่เล็ก ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกจึงจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน  ครูปฐมวัยมี
ความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุน และฝึกการคิดแก้ปัญหาให้กับเด็กจนเด็กสามารถแก้ปัญหาได้
อย่างมีคุณภาพ   โดยการพัฒนาและการฝึกการคิดแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกในวัยเด็กเล็ก  เพราะสมองมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว   เซลประสาทที่มีอยู่อย่างมากมายกำลังแตกแขนง  มีการเชื่อมโยงต่อกันในสมอง   ยิ่งเด็กได้รับการฝึกคิดอย่างต่อเนื่อง  อยู่เป็นประจำเซลสมองหรือเซลประสาทยิ่งแตกแขนงขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปฐมวัย   ดังนั้นเด็กเล็กจึงต้องอาศัยการเรียนรู้  การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับเด็ก  เช่น   การฝึกการแก้ปัญหาที่เกิดสำหรับตนเอง  การฝึกแก้ปัญหาเมื่อเกิดกับผู้อื่น   เป็นต้น   ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต

2553/11/30

ความสำคัญกล้ามเนื้อใหญ่ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

             ถ้าเราพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้เด็กเล็กมีความสามารถแล้ว จะทำให้เด็กมีพัฒนาการใน
ส่วนอื่นๆตามไปด้วย  เพราะความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ หมายถึง ความสามารถในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเริ่มจากศีรษะไปสู่ปลายเท้าจากลำตัวไปยังแขน  มือ  และ
นิ้ว  จากสะโพกไปยังขา  จนถึงปลายเท้า  การเคลื่อนไหวของเด็กจะพัฒนาได้เพียงใดขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของร่างกาย    โอกาส   หรือประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเด็ก   การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่จะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของเด็ก
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเราก็สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของเขาแล้ว  ดังนั้นการเคลื่อนไหวในลักษณะ
ต่างๆ ของเด็กแสดงถึงความสามารถของกล้ามเนื้อใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นการคลาน  การยืน  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด   เด็กต้องได้รับการฝึก  การพัฒนาตามลำดับ  ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเคลื่อนไหว
พื้นฐาน   ทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ไปจนการเคลิ่อนไหวที่สลับ
ซับซ้อนเพิ่มขึ้น  การฝึกหรือพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพโดยกิจกรรมง่ายๆ เช่น  การร่วมกิจกรรมกีฬาสี  การเล่นเกม  การเล่นกลางแจ้ง
เป็นต้น  จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้างอารมณ์  จิตใจ   สังคม
ตลอดจนสติปัญญา

2553/11/26

สมองสองซีกกับเด็กปฐมวัย

                                 คนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีเอกลักษณ์ซึ่งไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ
ความแตกต่างของสมองสองซึก  คือสมองซึกซ้ายกับสมองซีกขวา   สมองทั้งสองซีกมีการทำงานที่
แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในการคิดวิเคาะห์  การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเรียนคณิตศาสตร์
การเข้าใจจำนวน  ส่วนสมองซึกขวา  ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์  การจินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์
การมองสิ่งที่เป็นมิติ  การคิดเชิงนามธรรม การมีอารมณ์ขัน  เป็นต้น   สรุปได้ว่าสมองซึกซ้ายมีลักษณะ
เด่นในเรื่องภาษา  ความคิดวิเคราะห์  การคิดคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา  มีความเด่นในเรื่องของความ
รู้สึก  อารมณ์  สุนทรียภาพต่างๆ   สมองของคนแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกัน   ดังนั้นครูจะต้อง
เข้าใจถึงความแตกต่างในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาเด็กแต่ละคน  โดยเฉพาะพ่อแม่  ผู้ปกครองอย่า
เป็นผู้กดดันเด็กโดยไม่รู้ตัว  เช่น  เด็กมีการพัฒนาด้านสมองซึกขวา  มีความชอบในงานศิลปะ  ชอบ
วาดรูป ขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องการให้เก่งในเรื่องคณิตศาสตร์ คำนวณหรือภาษาแล้ว เด็กไม่ได้รับ
การสนับสนุนในเรื่องงานศิลปะหรือการพัฒนาในด้านสมองซีกขวาตั้งแต่เล็กๆ   เด็กคนนั้นก็จะไม่
ประสบความสำเร็จเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

2553/11/19

คุณค่าของกิจกรรมเสรี/ การเล่นตามมุม

                      การที่เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมการเล่นเสรี  หรือให้เด็กเล่นตามมุมนั้น  มีประโยชน์และมี
คุณค่าสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจถือว่าเป็นการเสียเวลาและไม่เป็นประโยชน์
แก่เด็ก  จึงให้เด็กนั่งเรียนเขียนอ่านเหมือนเด็กโต  คิดว่ายิ่งเรียนมากๆ  จะทำให้เด็กเก่งและเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนเก่งเมื่อโตขึ้น   ความคิดและความเข้าใจดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยนี้   เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำนั้นเด็กต้องได้ทำสิ่งที่สนุกเพลิดเพลินไปพร้อมกัน   เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้  กิจกรรมเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี  เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือ  มุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน  ที่จัดไว้ในห้องเรียน   ไม่ว่าจะเป็นมุมหนังสือ   มุมบ้าน  มุมวิทยาศาสตร์   มุมบล็อก  มุมหมอ  เป็นต้น   การให้เด็กได้เข้าเล่นในมุมดังกล่าว  ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นตามความต้องการและความสนใจ    กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว  อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้น  อาจเป็นเครื่องเล่นสัมผัส  หรือเกมการศึกษาก็ได้  การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเสรี การเล่นตามมุมจึงมีคุณค่าสำหรับเด็ก ดังนั้นครูมีความ
จำเป็นที่ต้องจัดสภาพแวดล้อม  เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม   และเข้าใจถึงพัฒนาการ
ของเด็กเป็นสำคัญ

2553/11/09

การฝึกทักษะการสังเกตให้กับเด็ก

                         การที่จะให้เด็กมีทักษะการสังเกตเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่  เด็กจะต้องได้รับการฝึก
ตั้งแต่ยังเล็กอยู่  ดังนั้นครู  พ่อแม่  ผู้ใหญ่  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดประสบ
การณ์ให้เด็กมีทักษะการสังเกต    ทักษะการสังเกตที่จะต้องฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
                         1 เด็กจะต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง ในการสังเกตสิ่งของบางอย่างเพราะจะได้เห็น
ถึงความแตกต่าง
                         2 ครูหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมสื่อ  อุปกรณ์ในการฝึกให้พร้อม  มีการออกแบบกิจกรรม
ล่วงหน้า
                         3 การฝึกจะต้องฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ได้แก่  ตา  หู จมูก
ลิ้น  และกาย 
                         4 การฝึกทักษะการสังเกตครั้งแรก  ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความสนใจ  และความ
ตระหนักในสิ่งที่จะสังเกต   ดังนั้นกิจกรรมหรือสิ่งที่ให้สังเกตต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ  ก่อน แล้วจึง
เป็นสิ่งที่ยากขึ้น
                         5 การสังเกตในแต่ละครั้ง ข้อมูลของการสังเกตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ  ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กนำมาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเด็กจะต้องการแก้ปัญหา
                          การฝึกทักษะให้เด็กได้มีความสามารถในการสังเกตดังตัวอย่างข้างต้นแล้วในชีวิต
ประจำวันของเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและตลอดไป

2553/11/04

เด็กเล็กกับการจัดประสบการณ์ทดลอง

        การจัดประสบการณ์ทดลองจะดำเนินการในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หรือกิจกรรมวงกลม
เน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการ  มากกว่าที่จะให้เด็กได้จำเนื้อหา  เน้นการฝึกทักษะกระบวนการทำให้เด็กได้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ในเนื้อหาที่ผู้ใหญ่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเองในตัวเด็ก   เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ  จากประสบการณ์ตรง  ค้นคว้าหาวิธีด้วยตนเอง    จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง  ทำให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดหาเหตุผล     ทักษะการคิดแก้ปัญหา   นอกจากนั้นทางด้านอารมณ์  จิตใจ    ทำให้เด็กเป็นคน
ละเอียด  รอบคอบ  มานะอดทน  มีระบบของการทำงานที่มีระเบียบวินัย    และช่วยการสร้างเจตคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์     ส่วนทางด้านสังคมทำให้เด็กได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และปลูกฝังการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยเมือโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

2553/11/01

ประโยชน์ของคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย

          คำคล้องจองสำหรับเด็กเล็กเป็นคำที่ต้องใช้ถ้อยคำที่สั้นๆ  ง่ายๆ  และมีความยาวไม่มากนัก  มีเนื้อหาสาระที่ไม่มาก  เด็กท่องแล้วเกิดความสนุกสนาน    ง่ายต่อการจำ    มีความเพลิดเพลินต่อคำสัมผัส  เมื่อเด็กได้ท่อง   คำคล้องจองจึงมีความสำคัญต่อเด็กดังนี้
           -  ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็ก  ทำให้เด็กใช้ภาษาได้อย่างดี
           -  ส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก
           -  สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติในเรื่องของจังหวะ  เพราะเด็กๆ  มีความสุขใน
ขณะที่ได้ท่องคำคล้องจอง
           -  ช่วยเตรียมความพร้อมด้านภาษาก่อนที่เด็กจะได้อ่าน 
           -  สร้างและสะสมคำศัพท์ให้กับเด็ก
           -  เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ  แก่เด็ก
           -  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
          การให้เด็กได้ท่องหรือพูดคำคล้องจองจึงมีประโยชน์ต่อเด็ก  เป็นอย่างมาก   ครูหรือผู้ใกล้ชิด
เด็กถ้าส่งเสริมให้เด็กได้ท่องคำคล้องจองจะทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆโดยเฉพาะภาษา

2553/10/26

จุดมุ่งหมายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

             การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  การจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
ให้เด็กเพื่อให้เกิดผลในเด็กดังนี้
             -  ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดอย่างมีเหตุผล  อย่างเป็นระบบ  โดยเด็กได้รับการฝึกให้
มีทักษะในการสังเกตเป็นสิ่งแรก
             -  ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น   มีความสงสัย  อยากทราบ
คำตอบ
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจตนเอง  และสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
            -  ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดในการแปลความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเรียนในระดับต่อไป
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
            -  ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
            -  ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติรอบตัวเด็ก
               จึงเห็นว่าการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดกับเด็กหลาย
ประการ  ที่กล่าวข้างต้นเป็นแต่เพียงตัวอย่างเท่านั้น  ดังนั้นการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
จึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อเด็กเป็นอย่างมาก

2553/10/18

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์

          ในด้านการศึกษาปฐมวัยทฤษฎีทางสติปัญญาของโฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์  มีบทบาทต่อการ
ศึกษาปฐมวัยโดยเหตุที่มีนักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญทางสติปัญญา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวารร์ด
คือโฮเวิร์ด  การร์ดเนอร์  ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา  ที่จำแนกความสามารถ
หรือสติปัญญาของคนว่ามีความหลากหลาย  ดังนั้นแต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน  มีความสำคัญ
และความสามารถที่แตกต่าง  สมองของมนุษย์ได้แบ่งเป็นส่วนๆ  แต่ละส่วนได้กำหนดความสามารถ
ที่ค้นหาและแก้ปัญหาที่เรียกว่าปัญญา  ซึ่งมีหลายอย่างที่กำหนดมาจากสมอง  สติปัญญาด้านต่างๆ
ที่กล่าวได้มีดังนี้
          สติปัญญาด้านภาษา     ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์    ด้านมิติสัมพันธ์
          ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว      ด้านมนุษย์สัมพันธ์       ด้านดนตรี
          ด้านตนหรือการเข้าใจตนเอง          ด้านการรักธรรมชาติ     ด้านการดำรงชีวิต
          ความรู้ในเรื่องความหลากหลายของสติปัญญาดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย  โดยการ
ที่ครูผู้สอน  หรือผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กต้องมีความรู้และความเข้าใจเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างเต็ม
ศักยภาพ

2553/10/13

วิธีการเล่านิทานสำหรับเด็กเล็ก

              การเล่านิทานให้เด็กได้ฟังมีอย่างหลากหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการเตรียม
อุปกรณ์และความพร้อมของผู้เล่านิทานที่ต้องการให้เกิดกับเด็กเป็นสำคัญ    วิธีการเล่าพอจะ
กล่าวได้ดังนี้คือ
              - เล่านิทานแบบปากเปล่า   โดยไม่มีการใช้สื่อประกอบการเล่า  นอกจากน้ำเสียงและ
จังหวะการพูดที่ใช้เสียงสูงต่ำ  และการเล่าที่เป็นต้องใช้ศิลปะในการพูด
              - เล่าประกอบเสียง  เช่น  เสียงเพลง  เสียงดนตรี   เทปบันทึกเสียงต่างๆ   เป็นการสร้าง
บรรยากาศที่กระตุ้นเร้าให้เกิดความตื่นเต้น
              - เล่าประกอบอุปกรณ์  หรือสิ่งประดิษฐ์  เช่น  หน้ากาก  หุ่นมือ  หุ่นเชิด  ตุ๊กตา  เพื่อสร้าง
ความสนใจ  สนุกสนานให้กับเด็ก
              - เล่าประกอบภาพ เช่น  ภาพวาด  ภาพจากหนังสือ    ภาพเคลื่อนไหว เพื่อจูงใจเด็ก
เด็กได้เกิดความสนุกสนานและจินตนาการ
              - เล่าประกอบท่าทาง   ซึ่งมีทั้งท่าทางผู้เล่า  และผู้ฟัง   ทำให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการ
ในลักษณะเป็นรูปธรรมมากขึ้น
              ดังนั้น  ผู้ที่จะเล่านิทานให้เด็กควรเตรียมตัวและเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อเด็ก                  

2553/10/05

กระดาษสู่กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

            กระดาษเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย  ถือว่าเป็นวัสดุเหลือใช้ที่
สามารถหาได้ง่าย  ประหยัด  และนำมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างหลากหลาย    ไม่ว่าจะเป็น
กระดาษหนังสือพิมพ์  กระดาษนิตยสาร   กระดาษโฆษณาต่างๆ  กระดาษห่อของขวัญ   กระดาษ
เหลือใช้ต่างๆ  ฯลฯ    กระดาษดังกล่าวสามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้ดังนี้
            การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
            การฉีก  ปะ   ตัดกระดาษ
            การสาน  การร้อย
            การพับเป็นรูปต่างๆ
            การปะติดกระดาษ
            กิจกรรมที่กล่าวข้างต้นเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์  ที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้เด็กได้ฝึก
ความแข็งแรง  ความคล่องแคล่ว   การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา   และที่สำคัญปลูกฝัง
ให้เด็กได้รู้ค่าของกระดาษ  รู้จักการประหยัดตั้งแต่เด็กซึ่งส่งผลถึงเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ 

2553/09/28

กิจกรรมสังเกต นำสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                   การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกการสังเกตให้กับเด็กปฐมวัย  เป็นเรื่องที่ไม่ยากและทำให้เกิดความ
สนุกสนานเป็นอย่างมาก    วัสดุอุปกรณ์ก็หาไม่ยาก  อย่างเช่น      แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ครูเอาไข่ไก่มาให้เด็กได้ดูแล้วช่วยกันสังเกตลักษณะภายนอกของไข่ไก่ให้มากที่สุด    จดบันทึกลักษณะที่สังเกตได้ หากเขียนไม่ได้ก็ให้วาดรูปประกอบ     หลังจากนั้นครูนำไข่เป็ด  ไข่นกกะทา    มาให้เด็กได้ดู  พร้อมกับให้
สังเกตลักษณะภายนอกของไข่ในแต่ละประเภท   สังเกตความเหมือน  ความแตกต่าง   หรือสิ่งที่เด็ก
ได้พบจากการได้เห็นวัสดุในแต่ละประเภท  เมื่อได้สังเกตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ให้มีการอภิปราย  และ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  ทั้งหมดเป็นการฝึกการสังเกต  การอภิปราย   ฝึกกระบวนการคิด  ซึ่งมี
ค่ามหาศาลสำหรับปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กๆ  นอกจากนั้นยังสามารถหาอุปกรณ์อื่นๆ  ได้อีกมากมายเพื่อ
ให้เด็กได้สังเกต   ได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสของเด็ก  สิ่งที่สำคัญครูจะต้องคอยดูแล  จัดสภาพ
แวดล้อมให้ปลอดภัย    และอุปกรณ์จะต้องไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก  กิจกรรมแค่นี้ก็ทำให้เด็กเกิด
ความสนุกสนานและได้ความรู้ไปพร้อมกัน

2553/09/21

บทบาทครูเมื่อให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์

                  กิจกรรมสร้างสรรค์คือกิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำงานศิลปะต่างๆ  เพื่อให้ได้แสดงออกทาง
ความคิดสร้างสรรค์  ให้เด็กได้มีความเพลิดเพลิน   งานศิลปะมีมากมายที่ให้เด็กได้ทำ ไม่ว่าจะ
เป็นงานวาดภาพด้วยสีน้ำ  สีเทียน  งานปั้น   การประดิษฐ์  การพิมพ์ภาพ  การหยดสี  การประดิษฐ์
การฉีก  การปะ  การร้อยวัสดุ  เป็นต้น  บทบาทของครู  ไม่ใช่ให้เด็กได้ทำงานศิลปะที่สวยงาม
หรือเป็นการเลียนแบบ  ไม่ใช่เป็นจุดมุ่งหมายของการทำงานศิลปะ  ครูหรือผู้เกี่ยวข้องต้อง
เข้าใจบทบาทและต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงจำเป็นต้องรู้บทบาทดังนี้
                 -  จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรมให้พร้อมและหลากหลาย  เน้นวัสดุที่เป็น
ธรรมชาติ  และหาได้ง่าย
                 -   แนะนำอุปกรณ์ที่เด็กจะใช้ให้เด็กได้เข้าใจอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อนำไปสร้างงานตาม
จินตนาการ
                 -  คอยส่งเสริมและสนับสนุน ให้กำลังใจกับเด็กขณะทำกิจกรรม  ให้ความสนใจกับ
งานของเด็กทุกคน
                 -  นำผลงานของเด็กทุกคนแสดงที่ป้ายนิเทศ โดยหมุนเวียนเปลี่ยนกันให้ครบ
                 -  ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นการวาด  การประดิษฐ์
การฉีก-ปะ  เป็นต้น
                -   เก็บผลงานของเด็กเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคน
                ดังนั้นการให้เด็กทำงานศิลปะหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นงานที่มีความสำคัญและ
มีคุณค่าต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ใช่ทำโดยไม่มีจุดหมาย

2553/09/19

ประสบการณ์ 5 ปีแรกคือพื้นฐานของบุคลิกภาพ

                    เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ประสบการณ์ในวัยเด็กที่อยู่รอบตัวตั้งแต่แรกในระยะ
เวลา 5 ปีมีความสำคัญต่อเด็กมากเพราะจะกลายเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพ  เมื่อเด็กโตขึ้นเป็น
ผู้ใหญ่   จิตใจอารมณ์ หรือการพัฒนาการทางสังคมขึ้นอยู่กับพัฒนาการที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอน
ถ้าเด็กไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม หรือไม่ได้รับการตอบสนอง  การพัฒนาก็จะชะงักงัน  การเล่น
ของเด็กจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางอารมณ์ จิตใจและสังคมของเด็กดังนี้
                   -รู้จักการให้อภัย
                   -ฝึกให้เด็กรู้จักความสามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
                   -ฝึกให้รู้จักการรอคอย  อดทน มีความอบอุ่นใจและยอมรับความจริง
                   -ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                   -เรียนรู้และมีพัฒนาการในการปรับตัวที่ดี
                   -ส่งเสริมการมองโลกในแง่ดี
                   -ลดความเครียดที่เกิดขึ้น
                 จึงควรส่งเสริมและดูแลให้เด็กได้เล่น  เพื่อการพัฒนาด้านสังคมและจิตใจที่ดีให้กับเด็ก
                  
               

2553/09/17

สอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้อย่างไร

                        การสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยากตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่
สามารถเริ่มได้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก   การให้เด็กได้รู้จักการสังเกตนั้น ครู พ่อแม่จะต้องจัดประสบการณ์  หาเครื่องมือ  จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย  และต้องทำอย่างต่อเนื่องให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต   ซึ่งเป็นทักษะเริ่มแรกของการเรียนวิทยศาสตร์   สิ่งที่ครูควรตระหนักในการจักิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี้

                     - ให้โอกาสกับเด็กในการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และจะต้องใจเย็น
                     - ให้เด็กหัดสังเกตธรรมชาติรอบตัวเด็ก  ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้  สัตว์  พืช  สิ่งของ  ฯลฯ
                     -  ให้เด็กได้พูดคุย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
                     -  เครื่องมือ  สื่อ   วัสดุ  อุปกรณ์   ในการจัดกิจกรรมมีความจำเป็นมากสำหรับให้
เด็กได้สังเกต  ได้สัมผัส  ฯลฯ
                     -  สิ่งแวดล้อม มีความสำคัญในการกระตุ้น  ให้เด็กได้สัมผัส  ได้สังเกต  ซึ่งเป็น
ทักษะเบื้องต้นของการเรียนวิทยาศาสตร์
                     ฉะนั้นครูจำเป็นต้องมีความตั้งใจและเข้าใจถ้าต้องการให้เด็กของเราสนใจและชอบ
การเรียนวิทยาศาสตร์เมื่อโตขึ้น

2553/09/15

วิธีที่ดีที่สุดที่พ่อแม่ช่วยลูกให้เป็นนักอ่านคือ การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง

            มีการวิจัยที่แสดงผล อย่างชัดเจนซึ่งชี้ให้เห็นว่า  วิธีที่ดีที่สุดที่พ่อแม่สามารถช่วยลูก  ให้เป็นนักอ่านที่ดีก็คือ  การอ่าน
หนังสือให้ลูกฟัง   แม้เมื่อลูกยังเล็กมาก เด็กเล็กๆ จะได้รับประโยชน์จากการอ่านออกเสียงมากที่สุด เช่น  การรับรู้เกี่ยวกับ
อักขระ  พยัญชนะ  สระ  โดยไม่รู้ตัว  และเด็กจะเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆ จากการได้ฟังคำต่างๆ  จากการอ่านของ
พ่อแม่    แล้วเด็กจะมีคลังคำศัพท์สะสมอยู่กับตัวเด็ก    ฉะนั้นพ่อแม่สามารถส่งเสริมการอ่านของลูกได้อย่างหลากหลายวิธี
ตรงนี้ครูปฐมวัยจำเป็นต้องชี้แจงให้กับพ่อแม่  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน  และจะต้องปฏิบัติไปพร้อมกับ
ความเข้าใจดังกล่าว     เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว  หรือมีพัฒนาการทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการฟัง  พูด  อ่าน
หรือเขียน  มักมาจากการที่พ่อแม่มีความเชื่อว่า  การอ่านให้ลูกฟังมีความสำคัญ  และจะใช้โอกาสทุกครั้งที่ตนเองมีเวลาอยู่
กับลูก

2553/09/14

กิจกรรมทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย

           สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วการจัดกิจกรรมดนตรีให้เด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
           - การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง  การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว   ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ   ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ  เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
           - การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท  เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ  เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง  ต่ำ  กลาง   เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
           - การเคลื่อนไหว   การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ  ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ  เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
           - การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ   และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น  ระนาด  กลอง  รำมะนา  ฉิ่ง  ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
           - การอ่าน  ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
           - ความคิดสร้างสรรค์  ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง  การเคลื่อนไหว  การเล่น เป็นต้น
           การจัดกิจกรรมทางดนตรีให้กับเด็กจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย

2553/09/09

การพูดในเด็กปฐมวัย

            การพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้นทักษะการฟัง -  พูดมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกให้เด็ก
เป็นเบื้องแรก โดยเฉพาะการพูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับเด็กเล็กๆ  การที่เด็กสามารถพูด
สื่อสารได้ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของเด็กตั้งแต่แรก   การฝึกทักษะการพูดมีความจำเป็นดังนี้
             -  เพื่อใช้เป็นเครืองมือติดต่อกับสังคม  กับเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆ การที่เด็กจะเป็นที่น่าคบหา
สมาคมด้วยย่อมต้องมีภาษาที่สุภาพ  เด็กจะต้องได้ฝึกในเรื่องคำสุภาพ เช่น  คำว่า  ขอโทษ   ขอบใจ
นอกจากนั้นจะต้องให้รู้จักกาลเทศะด้วยเสียงที่พูดในสถานที่ต่างๆ
             -  เพื่อพัฒนาความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่น ไม่เพียงแต่แสดงความคิดเห็นของตนเอง
เท่านั้น  แต่ยังสามารถเข้าใจผู้อื่นด้วย
             -  เพื่อพัฒนาความสามารถในการการพูดให้ชัดเจน  ฝึกการออกเสียงที่มีปัญหา   คำควบกล้ำ
การออกเสียงร ล  เป็นต้น
             -  เพื่อพัฒนาการพูดได้คล่องตามธรรมชาติ    เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
              ดังนั้นการฝึกให้เด็กเล็กได้มีทักษะในการพูดจึงมีความสำคัญและจำเป็น  เมื่อเด็กพูดสื่อสาร
ได้เด็กจะมีความมั่นใจ  และภูมิใจที่สามารถสื่อสารได้สำเร็จ

2553/08/21

การเล่นส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม

                ประโยชน์ของการเล่นในเด็กปฐมวัย   ส่งผลต่อตัวเด็กหลายประการ  และทำให้ผู้ใหญ่
ได้เห็นพฤติกรรมต่างๆของเด็ก  เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรม
ในทางบวก   ประโยชน์ของการเล่น ในด้านสังคมมีดังนี้
               ฝึกให้เด็กรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสถาณการณ์และสภาพสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้อง
              ได้มีโอกาสฝึกการพูดและได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากการเล่น
               การเล่นเป็นการสะท้อนสภาพของสังคม  ได้เห็นภาพของสังคมที่เป็นอยู่
              ช่วยให้เด็กลดความตึงเครียด ที่เกิดจากความขัดแย้งทางสังคม
              ช่วยเตรียมความเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต
              ปัจจุบันนี้เด็กมักถูกปล่อยให้อยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์  สื่อเทคโนโลยีต่างๆ
จากประโยชน์ของการเล่นดังกล่าว   คงเป็นข้อสังเกตให้ผู้ใหญ่ได้ส่งเสริมสนับสนุน
เด็ก  โดยให้เด็กมีกิจกรรมการเล่นตามวัย

2553/08/20

เด็กเคลื่อนไหวแล้วได้อะไร

                       การเคลื่อนไหวของเด็กมีประโยชน์มากสำหรับเด็กปฐมวัย   เด็กได้ประโยชน์จาก
การเคลื่อนไหวคือได้เรียนรู้ขณะเคลื่อนไหวตลอดเวลา   และมีการพัฒนาความพร้อมด้านต่างๆ
ไปด้วยกัน ประโยชน์ที่เห็นชัดๆพอจะกล่าวได้ดังนี้
                       -ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
                       -ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจ
                       -ช่วยให้เป็นคนกล้าแสดงออกในทางที่ดีงาม
                       -พัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่ในวัยเด็ก
                       -ตอบสนองความต้องการทางธรรมชาติของบุคคล
                       -ส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
                       -ทำให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว
                        ดังนั้นในวัยเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวตามวัย  อย่าคิดว่าเด็กเคลื่อนไหว
แล้วเป็นเด็กที่ซุกซนและไม่เรียบร้อยอีกต่อไป  

2553/08/19

คุณค่า และความหมายของกิจกรรมกลางแจ้ง

                       ถ้าพูดถึงกิจกรรมกลางแจ้งแล้ว  บางคนคิดว่าต้องจัดกลางแจ้งเท่านั้น  ซึ่งไม่ใช่
กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เล่นทั้งในร่มและที่แจ้ง และมีบริเวณสะดวกปลอดภัย
 และสะอาดเหมาะสมกับการเล่น  กิจกรรมกลางแจ้งที่จัดให้กับเด็ก  ได้แก่  การเล่นทราย  การ
เล่นน้ำ  การเล่นเครื่องเล่นสนาม  การเล่นสมมุติในบ้านตุ๊กตา    การเล่นในมุมช่างไม้  การเล่นเกม
การละเล่น  เป็นต้น  การเล่นเกมมีความหมายสำหรับเด็ก ครูต้องสาธิต อธิบายกติกา ดูแลความ
ปลอดภัย  ไม่เน้นการแข่งขัน การแพ้  ชนะ   คุณค่าของการเล่นกลางแจ้ง หรือการละเล่น จะช่วย
ให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อ  สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว  และต่อเนื่อง  นอกจากนั้น
ยังฝึกความมีระเบียบวินัย  ความเชื่อมั่นในตนเอง  การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น   และส่งเสริม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2553/08/17

การละเล่นเด็กไทยพัฒนาเด็กปฐมวัย

            การละเล่นของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งมีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่  เป็นการเล่นแบบง่ายๆ
อุปกรณ์การเล่นก็จะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ  เพื่อการพัฒนาร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สังคม  และ
สติปัญญา   พอจะกล่าวถึงประโยชน์ของการเล่นได้ดังนี้
            ฝึกทักษะในการคิด เช่น  อีตัก  ปริศนาคำทาย
            ฝึกทักษะในการใช้สายตา การสังเกต และไหวพริบ  เช่น   กาฟักไข่  ทอยเส้น
            ฝึกทักษะความแม่นยำ  เช่น  การเล่นทอยกอง  ทอยหลุม
            ฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมพันธ์  การสังเกต  ไหวพริบ  เช่น  มอญซ่อนผ้า  การเล่นซ่อนหา
โพงพาง
            ฝึกกล้ามเนื้อต่างๆ  เช่น  จับปูดำ  ขยำปูนา
            ฝึกกล้ามเนื้อใหญ่  เช่น  วิ่งเปี้ยว  รีรีข้าวสาร  ลิงชิงหลัก  น้ำขึ้นน้ำลง ปลาหมอตกกระทะ
            จึงกล่าวได้ว่าการพัฒนาเด็กไทยเรามีการให้ความสนใจมาตลอดเวลา   ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน   แล้วเราจะนำวิธีการ และแนวคิดนั้นมาบูรณาการกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพปัจจุบัน
ได้อย่างไร   ไม่ใช่เราจะละทิ้งสิ่งเดิมๆไป  ดังนั้นจึงเป็นภาระและหน้าที่ของผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้อง
ในสังคมไทย

2553/08/11

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวัย 2-6 ปี

         คนทั่วโลกจะรู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์   ซึ่งเขากล่าวว่า   ถ้าท่านอยาก
ให้เด็กฉลาด  จงเล่าเทพนิยายให้เด็กฟัง  ถ้าอยากให้เด็กฉลาดมากๆ  ยิ่งขึ้น  ก็จงเล่าเทพนิยายให้
มากขึ้น      ดังนั้นการเล่านิทานทำให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ตลอดจนการเข้าใจ
สัญลักษณ์ต่างๆ  ส่งผลให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียน  เด็กวัย อายุ 2-6  ปี  เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองในขั้น  preoperational stage   เป็นวัยที่เด็กเรียนรู้ภาษา  และคิดแบบ
ตนเองเป็นศูนย์กลาง  และคิดแบบสัญลักษณ์  เด็กวัยนี้จะชอบเล่นแบบสมมุติ  เล่นเลียนแบบผู้ใหญ่  สมองในส่วนของการเคลื่อนไหวและการสัมผัสจะทำงาน   ดังนั้นกิจกรรมให้เด็กได้ทำในวัยนี้  จะต้องเป็นกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวและได้สัมผัส  และที่สำคัญคือการให้เด็กได้ฟังนิทาน    และการเล่า
เรื่องราวต่างๆให้เด็กฟัง   หน้าที่ตรงนี้คงจะไม่เกินความสามารถของผู้ใหญ่ไปได้ถ้าพวกเราเข้าใจ
และตั้งใจจริงๆ

2553/08/09

ได้อะไรจากการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง

              เด็กเล็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกถ้าจะปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน  ผู้ใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้อง
สร้างสภาพแวดล้อมหรือเอื้ออำนวยให้เด็กได้มีเจตคติที่ดีต่อหนังสือ  ดังนั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจถึง
ประโยชน์ของการอ่านหนังสือให้เด็กฟังซึ่งมีดังนี้คือ
              -เด็กเข้าใจการอ่านว่าเป็นอย่างไร
              -เพิ่มความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์
              -ช่วยให้เด็กรู้จักลักษณะโครงสร้างภาษาเขียน
              -ช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือ
              -สร้างความกระตือรือร้นที่จะอ่าน
              -เพิ่มความเข้าใจด้านเนื้อเรื่อง
              -เพิ่มระดับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
              -จำตัวอักษรและสัญลักษณ์ได้มากขึ้น
              -มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ
              -มีความสนใจหนังสือเพิ่มมากขึ้น
              -เข้าใจประโยคที่มีความยาวมากขึ้น
               สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยชน์ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง  ซึ่งมีอีก
มากมาย  ดังนั้นควรช่วยกันปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านด้วยการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง

2553/07/12

ความหมายง่ายๆของการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย

           การเรียนรู้ของเด็กในเรื่องภาษาแบบธรรมชาติหรือ Whole language นั้น เป็นวิธีการสอนภาษาที่ช่วยให้เด็กเกิดทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน   อย่างสัมพันธ์กันและสอดคล้องต่อเนื่อง  ไม่แยก
จากกัน   ซึ่งบางครั้งอาจจะเน้นทักษะใดทักษะหนึ่งก็ตาม  โดยใช้กิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการ
ของเด็ก ให้เด็กได้รับความสุขสนุกสนานขณะที่เรียนรู้ภาษาไปพร้อมกัน  การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความสำคัญและทำให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กหลายประการ  พอจะกล่าวได้ดังนี้
           -เด็กมีความสุข สนุกสนาน ในการเรียนภาษาและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
           -เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา  อย่างมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันทั้งทักษะการฟัง
พูด  อ่าน และเขียน  พร้อมทั้งพัฒนาไปด้วยกันไม่แยกเป็นทักษะต่างๆ
           -ครู ผู้ปกครอง เกิดความเข้าใจ ในการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการอ่าน การเขียน
ในระดับปฐมวัย
           -สนองความต้องการของผู้ปกครองส่วนมาก  ซึ่งต้องการให้เด็กได้รับการพัฒนาภาษา
ในระดับปฐมวัย

2553/06/24

การพัฒนาสังคมนิสัยในวัยเด็ก

              การพัฒนาสังคมนิสัยต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยที่เด็กเล็กๆ  ไม่ใช่ปล่อยให้โตขึ้นแล้วค่อย
ฝึก การพัฒนาสังคมนิสัยเริ่มในวัยเด็กเพื่อ  ให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสม
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรัก
การทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น  ดังนั้นครู  ผู้เลี้ยงดูเด็ก  พ่อแม่
จะต้องจัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  รับประทานอาหาร พักผ่อน
นอนหลับ ขับถ่าย  ทำความสะอาดร่างกาย   เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิบัติตามกฎ
กติกา  ข้อตกลง  เก็บของเข้าที่เมื่อเล่น  หรือเมื่อเด็กทำงานเสร็จ   เมื่อเด็กมีลักษณะนิสัยที่
ดีแล้วเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เขาจะเป็นคนมีนิสัยที่ดีติดตัวตลอดไป

2553/06/22

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย

              ประสบการณ์สำคัญสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปีในด้านร่างกาย นั้นเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มี
โอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย   การรักษาความปลอดภัย   การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้าม
เนื้อเล็ก  อย่างการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่  การเล่นเครืองเล่นสนาม เป็น
กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กได้พัฒนาการด้านร่างกาย  การเล่นเครื่องเล่นสนามเป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรม
การเล่นกลางแจ้ง    การเล่นกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง  เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ  โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก  ดังนั้นการจัดให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนาม  ครูจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัย
สำหรับเด็กเป็นความสำคัญอันดับแรก  จึงต้องมีความรู้และเข้าใจว่าเครื่องเล่นสนาม หมายถึง  เครื่อง
เล่นที่เด็กอาจปีนป่าย  หมุน โยก ฯลฯ   ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ  ดังนี้ เครื่องเล่นสำหรับปีนป่ายหรือตาข่าย  สำหรับปีนเล่น     เครื่องเล่นสำหรับโยกหรือไกว   เครื่องเล่นสำหรับหมุน   เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน
เครื่องเล่นสำหรับการเดินทรงตัว    ฯลฯ
               ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของครู  ผู้ดูแลเด็กต้องเข้าใจ  และจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีการเล่นกลางแจ้ง
โดยนำเด็กๆ  ออกไปเล่นที่เครื่องเล่นสนามตามความเหมาะสม  ไม่ใช่อยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น

2553/06/14

การเล่น : ที่ไม่ใช่เล่นๆ

                 การเล่นของเด็กมีความสำคัญและอยู่คู่กับเด็กตลอดเวลา  มีผู้ใหญ่อีกเป็นจำนวนมากไม่เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเล่น  ฉะนั้นก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนถึงความสำคัญของการเล่น  เพื่อผู้ใหญ่จะสนับสนุนส่งเสริมการเล่นในเด็กได้อย่างไร   ถ้าผู้ใหญ่ของไทยเราเข้าใจแล้ว  คงจะช่วยทำให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยมีคุณาภาพขึ้น    ขณะนี้เรามักใช้
ประสบการณ์เดิมๆ  ในการเลี้ยงดูเด็กของเราโดยไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลง สำหรับการเล่นใน
เด็กเล็ก มีการวิจัยสามารถอ้างอิงได้ว่า เวลาตื่นตัว  คนเราจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายามง่วงเหงาหาวนอนหรือ
ตื่นเต้นเกินไป  อธิบายได้ว่า การกระตุ้นเด็กมากหรือน้อยเกินไป ไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว 
               การเล่นสนุกและหัวเราะจะทำให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมที่จะรับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ สิ่งใดก็ตามหากเข้ามาตอนที่เด็กมีความเพลิดเพลิน  สิ่งนั้นเด็กจะรับได้ นับว่าเป็นจังหวะให้เด็กได้รู้จักและรับเรื่องราวใหม่ๆ  ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นเกมต่างๆ  การเล่นชนิดต่างๆทั้งที่เคยเล่นมาแล้ว  หรือการเล่นแปลกใหม่เด็กจะได้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาการให้เขาได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ  ดังนั้นปล่อย
ให้เด็กเขาได้เล่นตามวัยและตามโอกาสที่เหมาะสม   ถ้าเขาโตพ้นวัยไปแล้วจะไม่มีโอกาสได้เล่น
แล้วจะมีการพัฒนาได้อย่างไร

2553/05/30

ช่วยกันสร้างความงามในหัวใจเด็ก

          การสร้างความงามในตัวเด็กนั้นต้องช่วยกันสร้างตั้งแต่เล็กๆ  ความงามนั้นเป็นสุนทรียศาสตร์
ส่วนใหญ่เกิดจากงานศิลปะ  ดนตรี นิทาน  ซึ่งทำให้เด็กมีชีวิตที่มีความสุขทั้งส่วนตนและการอยู่ร่วมกันสังคมชีวิตมีความสวยงาม  ปัจจุบันนี้เด็กจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นความเก่ง  ความฉลาด  ความรู้ 
ทำให้เด็ก  ขาดความสมดุลของชีวิต  ห่างจากชีวิตที่สัมผัสกับธรรมชาติ   บางท่านกล่าวว่าเด็กใน
ปัจจุบันมีแต่ความรู้แต่ไม่มีความรู้สึก  เป็นสิ่งที่น่าห่วงมากสำหรับเด็ก เพราะต่อไปเด็กต้องโตเป็น
ผู้ใหญ่    ดังนั้นเราจึงจะต้องร่วมกันสร้างความงามให้เกิดในหัวใจเด็ก  สิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับการสร้าง
ความงามนั้นคือความรัก  นอกจากดนตรี นิทานหรือศิลปะ  ความรักนั้นต้องเริ่มจากผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เด็ก  มากที่สุดคือพ่อแม่นอกจากพ่อแม่แล้วคือครูเมื่อเด็กมาโรงเรียน   พ่อแม่ ครูจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ให้ความรักแก่เด็ก  ความรักเริ่มด้วยการให้เวลาแก่เด็ก   การให้ความรัก  และเวลาสำหรับเด็ก จะทำให้
เด็กมีความรู้สึกอบอุ่น  สิ่งที่กล่าวเป็นการสร้างรากฐานชีวิตมนุษย์คือการมีจิตใจที่ดีงาม  เมื่อเด็ก
มีจิตใจที่ดีงาม  คุณธรรมต่างๆก็สามารถปลูกฝังได้ทุกอย่าง 

การเล่านิทานให้เด็กฟัง

        การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกิจกรรมหนึ่งที่นิยมจัดให้กับเด็ก โดยมีจุดประสงค์หลาย
อย่าง  เช่น  การต้องการปลูกฝังคุณธรรม  การสร้างความเพลิดเพลิน การพัฒนาการทางภาษา
เป็นต้น   จัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ซึ่งเป็นกิจกรรม
ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้  ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่ม
ใหญ่   กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง  พูด  สังเกต  คิดแก้ปัญหา  ใช้เหตุผล  และฝึกปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ  เช่น  การอภิปราย
การสาธิต  การทดลอง  เล่นบทบาทสมมติ ท่องคำคล้องจอง  ศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น  การเล่านิทาน
ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หลังจากการเล่านิทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้ตอบคำถามโดยใช้ความคิดของตนเอง  สิ่งทีสำคัญครูจะ
ต้องใจเย็น เพื่อให้เด็กได้คิดคำตอบ  ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงคำตอบที่  ใช่  หรือ  ไม่ใช่   หรือมีคำตอบ
ให้เด็กเลือก   กิจกรรมนี้นอกจากเหมาะสมที่ครูใช้แล้ว  ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทำกิจกรรม
นี้ที่บ้านด้วย

2553/05/27

การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย

          การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ เด็กจะได้พัฒนาการร่างกายในส่วนต่างๆ นั้น ครู
จำเป็นต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวในลักษณะของรูปแบบต่างๆ  เช่น
          การเคลื่อนไหวพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ การเดิน  การคลาน  การคืบ  การวิ่ง   ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
          การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย  เรื่องราว
          การทำท่าทางกายบริหาร
          การเลียนแบบท่าทางสัตว์  การเลียนแบบท่าทางคน   การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งของ ฯลฯ
          การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
          การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
          การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์หรือการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
          กิจกรรมที่นำเสนอดังกล่าว นอกจากทำให้เด็กได้พัฒนาการด้านร่างกายแล้ว  เด็กยังได้พัฒนาการด้านอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย
         

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์

         การจะนำหลักสูตรระดับปฐมวัยสู่ห้องเรียน โดยคำนึงเด็กเป็นตัวตั้งคือการพัฒนาด้านร่างกาย
อารมณ์  จิตใจ  สังคม และสติปัญญานั้น  แผนการจัดประสบการณ์หรือแผนการจัดการเรียนรู้ มีความ
สำคัญ ครูปฐมวัยจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมายในการจัดทำและแนวทางการจัดทำแผนฯ  และต้อง
คิดว่าเป็นหน้าที่ปกติที่จะต้องจัดทำ  แผนการจัดประสบการณ์ที่กล่าว มีสิ่งที่ควรระบุให้ชัดเจนดังนี้
         1 ชื่อหน่วย ชื่อแผน  วัน เดือนปี และระยะเวลาของการจัดประสบการณ์
         2 จุดประสงค์การเรียนรู้   ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
         3  สาระการเรียนรู้  ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร แบ่งเป็น  2  ส่วน คือสาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ  ซึ่งได้วิเคราะห์ และกำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้รายปี
         4  กิจกรรมการเรียนรู้  สามารถออกแบบได้หลายลักษณะ อาจจะเป็นกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม
ที่เราเข้าใจก็ได้ หรืออาจเรียกชื่อกิจกรรมแตกต่างกัน    ประเด็นที่สำคัญคือต้องครอบคลุมพัฒนา
การทุกด้านของเด็ก   อาจนำนวัตกรรมทางการศึกษาด้านปฐมวัยมาทดลองใช้ก็ได้
          5  สื่อ  และแหล่งเรียนรู้  ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือนอกสถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัด
ประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
          6  การวัดและประเมินพัฒนาการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดประสบการณ์
          7  บันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มีรายละเอียดที่ต้องแสดงให้
เห็นในเรื่องของ  ผลการจัดประสบการณ์  ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ 
          8  ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร 

2553/05/25

มารู้จักการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์กัน

        การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมศิลปะนั้น  จุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม
ดังกล่าวคือ  เป็นกิจการกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์  ความรู้สึก  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และจินตนาการ  โดยใช้ศิลปะ  เช่น  การเขียนภาพ  การปั้น  การฉีก  - ปะ   การพิมพ์ภาพ  การร้อย
การประดิษฐ์  หรือวิธีการอิ่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์  และเหมาะกับพัฒนาการ  เช่น   การเล่นพลาสติก
สร้างสรรค์  การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯ   ที่กล่าวข้างต้นเป็นความหมายของการจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์   ส่วนวิธีการจัดกิจกรรมดังกล่าว  ครูควรจัดให้เด็กทำทุกวัน  โดยอาจจัดว้นละ  3-5 กิจกรรม
ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย  1-2 กิจกรรมตามความสนใจ  มีข้อเสนอแนะสำหรับครูในการจัดกิจกรรมดังนี้
        1  เตรียมอุปกรณ์  สำหรับทำกิจกรรมให้พร้อม  และควรเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาไม่ยากในสภาพที่
เป็นอยู่
        2  ก่อนให้เด็กทำกิจกรรม ต้องอธิบายวิธีใช้วัสดุที่ถูกต้อง    สาธิตการทำกิจกรรมหรือวัสดุต่างๆ
ให้เด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน
        3  แสดงความสนในงานของเด็กทุกคน  และเห็นความสำคัญของงานอย่างจริงใจ
        4   หากพบว่าเด็กคนใดสนใจทำกิจกรรมอย่างเดียวตลอดเวลา  ควรกระตุ้น และจูงใจให้เด็ก
ให้เด็กเปลี่ยนทำกิจกรรมอื่นบ้าง
        5  เก็บผลงานแต่ละคน เพื่อแสดงความก้าวหน้า  และพัฒนาการของเด็ก
                                 ฯลฯ

2553/05/18

การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

           ถ้าพูดถึงการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว  สภาพแวดล้อมมีความจำเป็นมากในการที่จะทำให้
เด็กใช้ภาษาได้อย่างมีคุณภาพ  การใช้ภาษาเราต้องเข้าใจว่าหมายถึง  การฟัง  พูด   อ่าน  และเขียน
ในเด็กเล็กๆ  ทักษะที่เด็กจำเป็นต้องพัฒนาคือทักษะ การฟัง  และพูด  สภาพแวดล้อมที่จะทำให้เด็ก
ฟัง และพูดอย่างมีคุณภาพ  คือทั้งที่บ้านและโรงเรียน   ตลอดจนสภาพสังคมที่เด็กมีชีวิตอยู่  ถ้าเป็น
โรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่  การจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้
ทางภาษาของแต่ละคน  ตามความสนใจของเด็ก ถ้าจะทำให้เด็กใช้ภาษาอย่างมีคุณภาพแล้ว  สถานที่เด็กอยู่ต้องเป็นโลกของภาษา  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็ก
สนใจโดยเด็กเข้าไปเรียนรู้  ซึมซับภาษาได้ตามความต้องการของเด็ก ได้ตลอดเวลา   ดังนั้นการจัดห้องเรียนเป็นมุมต่างๆ  จึงมีความสำคัญและมีความหมายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ใช่จัดไว้เพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว  อย่างเช่น   มุมบ้าน  การที่เด็กเข้ามุมบ้าน เด็กก็จะได้พูดคุย เล่นกัน  มีการสื่อสาร  ระหว่างก้นทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้เด็กพัฒนาการฟัง  พูด   นอกจากนั้นการเล่นกับเพื่อนเป็นพ่อแม่  เพื่อน  ได้เรียนรู้จากเพื่อน  และการมีกระดาษ ดินสอ  ไปบันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงแม่  พ่อ  การจดรายการซื้อของเมื่อไปจ่ายตลาดกับแม่    การเล่นบทบาทสมมติดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาโดยธรรมชาติ  พร้อมกับทำให้เด็กมีความรู้สึกเพลิดเพลิน   ถ้าเป็นมุมตลาด  เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ  ผู้ขาย  การได้ศัพท์ในการต่อรองซื้อของ  การใช้หน่วยในการชั่ง  การกะปริมาณ   เป็นต้น    และเมื่อจัดห้องเรียนเป็นมุมหมอ  เด็กก็จะได้เล่นบทบาทเป็นคนไข้  เป็นหมอ   ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการเป็นหมอ อาการต่างๆของการเจ็บป่วย หรือถ้าเป็นมุมศิลปะเด็กก็จะได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นต้น

2553/05/12

การสอนสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัย

           จุดประสงค์ของการสอนสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม   คือเด็กต้องมีเจตคติที่ดี  มีความรู้ที่ถูกต้อง  และมีทักษะหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งแวดล้อม    สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต  เช่น  พืช สัตว์  น้ำ หิน  ดิน ทราย  ต้นไม้  อากาศ  เป็นต้น  ปัจจุบันนี้มีการพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเพราะ  มนุษย์ได้รับผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ  เราช่วยกันแก้ปัญหาโดยกำหนดหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาตั้งแต่ในระดับปฐมวัย  แต่ เราจะมีเฉพาะหลักสูตรเท่านั้นคงจะไม่ประสบความสำเร็จ   จำเป็นต้องมีกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กปฐมวัยรัก
ธรรมชาติและมีพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กระบวนการที่กล่าวต้องเป็นกระบวนการที่พัฒนากาย
จิต  และปัญญา  เพื่อให้เด็กเกิดความรู้ จิตสำนึก  และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กระบวนการ
เรียนนี้ต้องเริ่มการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ค่อยๆ  ซึมซาบเพื่อไป
สู่ภายในจิตใจ เข้าไปสู่กระบวนการคิด  แล้วแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยบุคคลที่เกี่ยว
ข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องร่วมมือกันปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก  เช่น  การทิ้งขยะ  การประหยัดน้ำ
การปลูกต้นไม้    เป็นต้น

2553/05/03

กิจกรรมทางภาษาสำหรับเด็กเล็ก

                กิจกรรมทางภาษาสำหรับเด็กเล็กๆ  พ่อแม่  ครูจำเป็นต้องเข้าใจและส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่   เพราะเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นในความประทับใจที่จะเรียนภาษาของคนเรา กิจกรรมที่เสนอแนะ
มีดังนี้
              - ให้เด็กเรียนรู้อย่างอิสระ  โดยให้เด็กมีโอกาสเขียน ขีดเขี่ย  วาดภาพ  ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้
ประสบการณ์  และความประทับใจอย่างอิสระ
              -  การสอนอ่าน  สอนอย่างมีความหมาย และให้เด็กมีความสนุกสนาน  รู้จักใช้หนังสือ
เปิดหนังสืออย่างถูกต้อง  พร้อมกับมีการประเมินผลไปพร้อมกัน
              -  ใช้กิจกรรมการฟัง  การเล่านิทาน  การสนทนาโต้ตอบ  การเล่าประสบการณ์  ฯลฯ  ในการ
ทำให้เด็กประทับใจในการเรียนภาษา
              -  ให้เด็กมีโอกาสนำหนังสือที่ตนเองชอบไปอ่านเองตามจินตนาการ  หรือให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
              -  เตรียมหนังสือ  สภาพแวดล้อมต่างๆ  ที่เอื้ออำนวยในการเรียนภาษา
              -  คอยดูแลและคอยประเมินสภาพการเรียนภาษาของเด็กอย่างต่อเนื่อง   ไม่คอยจ้องจับผิด
เด็ก  แต่ควรให้กำลังใจสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
              -  มีการสอนในลักษณะของกลุ่มย่อย  และกลุ่มใหญ่
              สิ่งที่กล่าวเป็นแต่เพียงกิจกรรมเสนอแนะ  สำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กให้ได้นำไปใช้
ต่อไป

2553/04/29

ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กเล็ก

                เด็กเล็กเรียนรู้ตามวัย     ซึ่งมีลักษณะการเรียนรู้สำคัญต่างๆพอจะกล่าวได้ดังนี้
           
            1  การเล่น  ถือเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กเล็ก
            2  ภาษาที่ใช้กับเด็กต้องเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ    ไม่ซับซ้อน  วกวน  โดยที่จะต้องเป็นสิ่ง
ที่ตรงไปตรงมา
            3  สิ่งที่นำมาให้เด็กเรียนรู้ควรเป็นรูปธรรม  ในการเรียนรู้เด็กจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
            4  ประสบการณ์ต่างๆ   คือแหล่งเรียนรู้ของเด็ก   ถ้าประสบการณ์ที่เด็กได้รับมีการดูแล  และสนับสนุนจากผู้ใหญ่ที่เหมาะสม  จะทำให้ประสบการณ์นั้นๆ  มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของเด็ก
            5  เด็กเรียนรู้จากการเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง
             ลักษณะการเรียนรู้ดังกล่าว   ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและนำความรู้นี้ไปจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

การเล่นของเด็กอายุ 4-5 ปี

               เด็กอายุ   4-5 ปี  พัฒนาการการเล่นของเขา จะเป็นการเล่นที่มีกฎเกณฑ์มากขึ้น  มีแบบแผน
รู้จักการเล่นกับเพื่อน  มีการเล่นเป็นกลุ่ม  ต้องการเล่นกับเพื่อน การเล่นที่พัฒนาเป็นอย่างมากในวัยนี้
คือการเล่นตามจินตนาการ มีการแบ่งเพศในการเล่น  เป็นเด็กผู้หญิง ผู้ชาย  การเล่นจะช่วยกันกำหนดบทบาทและหน้าที่ในการเล่น เช่น  การเล่นเป็นแม่ค้า  เป็นครูนักเรียน  การเล่นเป็นคนขายของ  ฯลฯ
การเล่นดังกล่าวจะกำหนดบทบาท  กำหนดการพูด  กำหนดสถานการณ์    สำหรับเด็กวัยนี้  ชอบทำกิจกรรมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่ แขน  ขา  เช่น  การวิ่ง  กระโดด  เดิน ปีน  ป่าย ฯลฯ  เด็กสามารถกระโดดด้วยขาข้างเดียวได้  สามารถเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียวได้  สามารถเดินตามเส้นรอบวงได้โดยไม่ออกนอกเส้น  เดินขึ้นลงบันไดโดยการสลับขาได้    วิ่งแล้วสามารถหยุดได้ท้นทีที่ต้องการ   วิ่งกลับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว    เป็นต้น   เมื่อเข้าใจพัฒนาการเล่นของเด็กวัยนี้แล้ว
ผู้ใหญ่ควรทำการส่งเสริมการเล่นของเด็กให้เกิดคุณค่ามากที่สุด 

2553/04/08

เล่น เรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย

           การให้เด็กได้เล่น   โดยมีผู้ใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  คอยดูแล  สนับสนุนและส่งเสริม  คอยจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ  มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กทั้งสี่ด้านแล้ว   การเล่นจะมีคุณค่า  และเป็นประโยชน์กับเด็กอย่างมหาศาล   อย่าเคร่งเครียดและบังคับให้เด็กเรียนแบบเด็กโต 
เด็กเล็กจะเรียนรู้จากการเล่น  และจากการที่เขาได้กระทำ  ในสิ่งที่เด็กมีความสุขและมีความเพลิดเพลิน
สมองของเด็กพร้อมที่จะรับและได้เรียนรู้  เมื่อใดที่เด็กเครียด สมองจะปิดการเรียนรู้  ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้เด็กเรียนรู้ทั้งๆที่เขามีความเครียด  เพราะจะเป็นการเสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง     อย่างเช่น 
มีงานวิจัย  ในเรื่องการเริ่มเขียนของเด็กที่ว่า การพัฒนาการเชื่อมโยงของนิวโรน  จะช่วยเพิ่มทักษะด้านการเขียน    การให้เด็กได้เล่นขีดเขี่ย   การได้ดูตัวหนังสือ ได้จับต้องตัวพยัญชนะที่ทำเป็นสื่อให้เด็กได้เล่น  ลักษณะของตัวอักษะแต่ละตัว  จะถูกบันทึก เก็บและสะสมไว้  หลังจากนั้นจึงค่อยๆมา ปะติดปะต่อกันเป็น คำ  และพัฒนาเป็นประโยค และข้อความในโอกาสต่อไป  โดยสมองจะสร้างเครือข่าย ของ
นิวโรน  (เซลล์ประสาท) อย่างเช่นเรื่องของคำ ในสมองของเด็กจะจัดระเบียบ  การเคลื่อนไหวทุกอย่างซึ่งทำให้เด็กเขียนคำคำหนึ่งได้อย่างคล่องมือและอัตโนมัติ   เป็นต้น

2553/03/27

ข้อคำนึงในการฝึกคิดให้เด็กปฐมวัย

        ผู้ใหญ่  ครู  ผู้ใกล้ชิดเด็ก  ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าเด็กจะเป็นผู้คิดได้อย่างหลากหลายและมีทักษะการคิดเมื่อโตขึ้น    ต้องทำการฝึกตั้งแต่เด็กๆ  โดยมีคนรอบข้างเข้าใจและช่วยกันทำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับข้อคำนึงมีดังนี้
      1 ผู้ใหญ่อย่าคิดแทนเด็กทั้งหมด  อย่าเป็นผู้สั่ง 
      2 ต้องใช้คำถามที่ให้เด็กได้คิด ทำไม  เพราะอะไร  เพื่ออะไร  ฯลฯ
      3 ใช้กิจกรรมที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน  ประสบการณ์ที่สะสม   โดยให้เด็กได้เล่าทบทวนความรู้
และประสบการณ์ดังกล่าว   โดยไม่ต้องสร้างกิจกรรมอะไรที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการฝึกโดยเฉพาะ
      4 เด็กจะคิดได้มากและหลากหลายในสภาวะที่เด็กมีความรู้สึกสบาย   ไม่เกิดสภาพที่เครียด   เร่งรีบ
      5 ต้องให้เด็กๆได้ช่วยตนเอง  งานที่เด็กทำด้วยตนเองเป็นการทำให้เด็กได้คิดอย่างอัตโนมัติ
      6 อย่าใช้คำพูดที่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก   เช่น  พูดถึงความโง่ของเด็ก  การเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

2553/03/22

สิ่งที่เด็กเล็กได้จากกิจกรรมการทำอาหาร(ผัก)

            การให้เด็กได้มีกิจกรรมการทำอาหารนั้น   ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ  ก็มีคุณค่ามหาศาล
สำหรับเด็ก  อย่างเช่นการให้เด็กได้รู้จักผักประเภทต่างๆ  เด็กได้เรียนรู้ผักมีหลายชนิด  ทั้งผักที่ใช้กินใบ
กินหัว  กินราก  กินดอก  เป็นต้น  การนำผักมาทำอาหารเด็กได้ประสบการณ์จากผักเป็นจำนวนมาก เช่น
            1  ลักษณะของผักประเถทต่างๆ
            2  ขั้นตอนการนำผักมาทำอาหาร
            3  การทำความสะอาดผักและสุขนิสัยของการกินผัก
            4  ส่วนประกอบต่างๆของผัก
            5  ความภูมิใจของการได้ทำอาหาร และการทำอาหารได้
            6  การรู้จักการใช้อุปกรณ์ในการทำอาหารลักษณะต่างๆ
            7  การฝึกการสังเกต การจำแนก  การจัดหมวดหมู่  เมื่อนำผักมาทำอาหาร
              จึงเห็นได้ว่าถึงแม้จะเป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างมาก

2553/03/19

มารู้จักหนังสือเล่มใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย

    หนังสือเล่มใหญ่ที่ใช้กับเด็กปฐมวัยเพื่อการสอนอ่านนั้น เหมาะสมสำหรับการสอนอ่านให้กับเด็กเล็กๆ มีลักษณะของหนังสือที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือขนาดของรูปเล่ม  มีความกว้าง  15  นิ้ว  สูง   21  นิ้ว  (โดยประมาณ)  ส่วน หนังสือเล่มเล็ก  กว้าง  8.5 นิ้ว  สูง  11.5 นิ้ว (โดยประมาณ)   ส่วนลักษณะอื่นๆ มีดังนี้
      เนื้อเรื่อง  เป็นเรื่องที่เด็กชอบ สนใจ  สนุกสนาน  มีการผูกเรื่องให้เด็กคิดคาดคะเนทายเหตุการณ์ 
และสอดแทรกการเรียนรู้ที่ไม่ใช้วิธีสั่งสอนโดยตรง แต่เน้นความสนุก ตื่นเต้น  และให้เด็กคิดได้ด้วยตนเอง
      ภาษาที่ใช้  ใช้ภาษาที่ง่าย คำซ้ำ คำคุ้นเคย  ประโยคสั้น  ข้อความง่ายๆ  ตัวหนังสือพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มาตรฐาน เว้นช่องไฟถูกต้อง  และพิมพ์แยกจากภาพประกอบ
     ระยะเวลาการใช้หนังสือเล่มใหญ่   หนังสือเล่มใหญ่  1 เล่ม ครูใช้เทคนิคการสอนสำคัญจนถึงขั้นอ่านทบทวน  จึงแจกหนังสือเล่มเล็กให้เด็กกลับไปอ่านกับผู้ปกครองหรือพี่ที่บ้าน
      การอ่านหนังสือเล่มใหญ่  จึงมีการใช้กิจกรรมการอ่านหลายลักษณะ    ไม่ว่าจะเป็นการอ่านให้ฟัง 
การอ่านร่วมกัน  การอ่านอิสระ  การอ่านกับเพื่อน    นอกจากนั้นคำนึงถึงการพัฒนาทักษะทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการพูด  การฟัง  การอ่าน  และการเขียน   ที่ใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นหลัก

2553/03/17

การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ : ไม่ยากสำหรับเด็กเล็ก

        การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเล็กนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยากเพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนใจ  อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ  ตัว  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็ก  มีลักษณะเป็นกายภาพ  กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำจึงควรให้เด็กได้ฝึกโดยอาศัยการสังเกต  การทดลอง   การถามคำถาม  เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   ตลอดจนเจตคติทางวิทยาศาสตร์   กระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านการเสาะแสวงหา  ให้เด็กได้ลองจับ  ให้ถาม  ให้สัมผัส  ให้ชิม  ให้ดู   ให้คิด   ให้สังเกต  ให้มีโอกาสได้ทดลอง   ฯลฯ  พฤติกรรมดังกล่าวที่ต้องการให้เกิดกับเด็กนี้  ครูต้องคิดกิจกรรม
และหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม    มีการเตรียมสภาพแวดล้อมและสถานที่ให้สอดคล้องด้วย   กิจกรรมอาจให้ทำทั้งกลุ่มหรือเดี่ยว  โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ  ให้เด็กเกิดความรู้  ความเข้าใจ  และเกิดเจตคติ     เนื้อหาที่จัดอาจเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  เช่น  การทดลองเกี่ยวกับน้ำ  อากาศ
ลม   เป็นต้น

2553/03/16

สนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง

            นิทานให้ประโยชน์ต่อเด็กหลายอย่าง ถ้าเด็กได้ฟังนิทานจากผู้ใหญ่ตั้งแต่เล็ก เด็กจะได้รับการพัฒนาในหลายด้าน  ดังนั้นต้องชี้แจงและสนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทาน และให้เข้าใจว่า  การเล่านิทานเป็นสิ่งที่ไม่ยาก  พ่อแม่อย่าเบื่อ ช่วงเด็กอายุ 0-6 ขวบ   เป็นวัยทองของชีวิต  ต้องรีบและทำในช่วงที่เหมาะสมนี้   เมื่อเด็กอ่านได้เอง  เขาก็ค้นคว้าและเสาะแสวงหาได้เอง   สำหรับการเล่านิทานให้กับเด็กของพ่อแม่ทำได้อย่างหลากหลาย และทำได้ในสถานการณ์  เช่น
            การเล่านิทานก่อนนอน   เด็กจะชอบมากเมื่อมีพ่อแม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอนถึงแม้จะเป็นนิทานที่เคยฟังมาแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมที่ต้องการให้เด็กได้ซึมซับตั้งแต่เล็ก
            การเล่านิทานระหว่างเดินทาง  ช่วงเดินทางถ้าพ่อแม่เล่านิทานให้ฟัง เด็กจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน  พร้อมได้รับประสบการณ์ที่ได้พบตลอดระยะทางของการเดินทาง   หรือเด็กได้เกิดจินตนาการในเรื่องต่างๆที่เกิดจากการฟังนิทาน
            การเล่านิทานยามว่าง   เมื่อพ่อแม่มีเวลาว่างแล้วเล่านิทานให้ลูกฟัง  เป็นช่วงที่เหมาะสมเพราะไม่มีภาระหรือหน้าที่จะต้องทำ    พ่อแม่ต้องการจะให้เด็กมีประสบการณ์ด้านใด  มีความต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร  สามารถทำได้จากการเล่านิทานนี้
           การเล่านิทานของพ่อแม่นี้  มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็ก   พ่อแม่จะต้องมีความตระหนักในความสำคัญดังกล่าว  และพยายามปฏิบัติให้ได้อย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว ลูกก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป
              

2553/03/04

ส่งเสริมให้เด็กแสดงออกในทางที่ถูกต้อง

      ครูปฐมวัยต้องคอยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม  การจัด
ประสบการณ์ให้กับเด็กครูจะต้องคำนึงถึงด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก  การแสดงออกของเด็กควรให้เด็กมีความรู้สึกมั่นใจในการแสดงออก   สิ่งที่ครูควรปฏิบัติต่อเด็กในเรื่องดังกล่าวคือ
      1  บอกการปฏิบัติแก่เด็กอย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับเหตุการณ์ 
      2  บอกวิธีการปฏิบัติแก่เด็กด้วยวิธีที่ง่ายและชัดเจน  เด็กเข้าใจได้ง่าย  ไม่ซับซ้อน
      3   เป็นตัวอย่างแก่เด็กในพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
      4   จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย  และสบายใจในการแสดงออก
      5   ส่งเสริมและสนับสนุนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยการให้คำชมเชย  และภาษาท่าทางที่ให้เด็กมีความมั่นใจ
      6   การแสดงออกที่ถูกต้องและเหมาะสมของครูจะต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
      ดังนั้นนอกจากการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงว่าไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กอีกหลายประการ อย่างเช่นการใช้คำพูดที่เป็นการดุด่า  การตะคอก  เป็นต้น