ถ้าเราพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้เด็กเล็กมีความสามารถแล้ว จะทำให้เด็กมีพัฒนาการใน
ส่วนอื่นๆตามไปด้วย เพราะความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ หมายถึง ความสามารถในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเริ่มจากศีรษะไปสู่ปลายเท้าจากลำตัวไปยังแขน มือ และ
นิ้ว จากสะโพกไปยังขา จนถึงปลายเท้า การเคลื่อนไหวของเด็กจะพัฒนาได้เพียงใดขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของร่างกาย โอกาส หรือประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเด็ก การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่จะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของเด็ก
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเราก็สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของเขาแล้ว ดังนั้นการเคลื่อนไหวในลักษณะ
ต่างๆ ของเด็กแสดงถึงความสามารถของกล้ามเนื้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการคลาน การยืน การเดิน การวิ่ง การกระโดด เด็กต้องได้รับการฝึก การพัฒนาตามลำดับ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเคลื่อนไหว
พื้นฐาน ทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ไปจนการเคลิ่อนไหวที่สลับ
ซับซ้อนเพิ่มขึ้น การฝึกหรือพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพโดยกิจกรรมง่ายๆ เช่น การร่วมกิจกรรมกีฬาสี การเล่นเกม การเล่นกลางแจ้ง
เป็นต้น จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้างอารมณ์ จิตใจ สังคม
ตลอดจนสติปัญญา
2553/11/30
2553/11/26
สมองสองซีกกับเด็กปฐมวัย
คนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีเอกลักษณ์ซึ่งไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ
ความแตกต่างของสมองสองซึก คือสมองซึกซ้ายกับสมองซีกขวา สมองทั้งสองซีกมีการทำงานที่
แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในการคิดวิเคาะห์ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเรียนคณิตศาสตร์
การเข้าใจจำนวน ส่วนสมองซึกขวา ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ การจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
การมองสิ่งที่เป็นมิติ การคิดเชิงนามธรรม การมีอารมณ์ขัน เป็นต้น สรุปได้ว่าสมองซึกซ้ายมีลักษณะ
เด่นในเรื่องภาษา ความคิดวิเคราะห์ การคิดคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา มีความเด่นในเรื่องของความ
รู้สึก อารมณ์ สุนทรียภาพต่างๆ สมองของคนแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูจะต้อง
เข้าใจถึงความแตกต่างในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่า
เป็นผู้กดดันเด็กโดยไม่รู้ตัว เช่น เด็กมีการพัฒนาด้านสมองซึกขวา มีความชอบในงานศิลปะ ชอบ
วาดรูป ขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องการให้เก่งในเรื่องคณิตศาสตร์ คำนวณหรือภาษาแล้ว เด็กไม่ได้รับ
การสนับสนุนในเรื่องงานศิลปะหรือการพัฒนาในด้านสมองซีกขวาตั้งแต่เล็กๆ เด็กคนนั้นก็จะไม่
ประสบความสำเร็จเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
ความแตกต่างของสมองสองซึก คือสมองซึกซ้ายกับสมองซีกขวา สมองทั้งสองซีกมีการทำงานที่
แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในการคิดวิเคาะห์ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเรียนคณิตศาสตร์
การเข้าใจจำนวน ส่วนสมองซึกขวา ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ การจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
การมองสิ่งที่เป็นมิติ การคิดเชิงนามธรรม การมีอารมณ์ขัน เป็นต้น สรุปได้ว่าสมองซึกซ้ายมีลักษณะ
เด่นในเรื่องภาษา ความคิดวิเคราะห์ การคิดคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา มีความเด่นในเรื่องของความ
รู้สึก อารมณ์ สุนทรียภาพต่างๆ สมองของคนแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูจะต้อง
เข้าใจถึงความแตกต่างในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่า
เป็นผู้กดดันเด็กโดยไม่รู้ตัว เช่น เด็กมีการพัฒนาด้านสมองซึกขวา มีความชอบในงานศิลปะ ชอบ
วาดรูป ขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องการให้เก่งในเรื่องคณิตศาสตร์ คำนวณหรือภาษาแล้ว เด็กไม่ได้รับ
การสนับสนุนในเรื่องงานศิลปะหรือการพัฒนาในด้านสมองซีกขวาตั้งแต่เล็กๆ เด็กคนนั้นก็จะไม่
ประสบความสำเร็จเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
2553/11/19
คุณค่าของกิจกรรมเสรี/ การเล่นตามมุม
การที่เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมการเล่นเสรี หรือให้เด็กเล่นตามมุมนั้น มีประโยชน์และมี
คุณค่าสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจถือว่าเป็นการเสียเวลาและไม่เป็นประโยชน์
แก่เด็ก จึงให้เด็กนั่งเรียนเขียนอ่านเหมือนเด็กโต คิดว่ายิ่งเรียนมากๆ จะทำให้เด็กเก่งและเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนเก่งเมื่อโตขึ้น ความคิดและความเข้าใจดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยนี้ เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำนั้นเด็กต้องได้ทำสิ่งที่สนุกเพลิดเพลินไปพร้อมกัน เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือ มุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมหมอ เป็นต้น การให้เด็กได้เข้าเล่นในมุมดังกล่าว ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นตามความต้องการและความสนใจ กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้น อาจเป็นเครื่องเล่นสัมผัส หรือเกมการศึกษาก็ได้ การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเสรี การเล่นตามมุมจึงมีคุณค่าสำหรับเด็ก ดังนั้นครูมีความ
จำเป็นที่ต้องจัดสภาพแวดล้อม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม และเข้าใจถึงพัฒนาการ
ของเด็กเป็นสำคัญ
คุณค่าสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจถือว่าเป็นการเสียเวลาและไม่เป็นประโยชน์
แก่เด็ก จึงให้เด็กนั่งเรียนเขียนอ่านเหมือนเด็กโต คิดว่ายิ่งเรียนมากๆ จะทำให้เด็กเก่งและเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนเก่งเมื่อโตขึ้น ความคิดและความเข้าใจดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยนี้ เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำนั้นเด็กต้องได้ทำสิ่งที่สนุกเพลิดเพลินไปพร้อมกัน เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือ มุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมหมอ เป็นต้น การให้เด็กได้เข้าเล่นในมุมดังกล่าว ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นตามความต้องการและความสนใจ กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้น อาจเป็นเครื่องเล่นสัมผัส หรือเกมการศึกษาก็ได้ การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเสรี การเล่นตามมุมจึงมีคุณค่าสำหรับเด็ก ดังนั้นครูมีความ
จำเป็นที่ต้องจัดสภาพแวดล้อม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม และเข้าใจถึงพัฒนาการ
ของเด็กเป็นสำคัญ
2553/11/09
การฝึกทักษะการสังเกตให้กับเด็ก
การที่จะให้เด็กมีทักษะการสังเกตเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะต้องได้รับการฝึก
ตั้งแต่ยังเล็กอยู่ ดังนั้นครู พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดประสบ
การณ์ให้เด็กมีทักษะการสังเกต ทักษะการสังเกตที่จะต้องฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
1 เด็กจะต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง ในการสังเกตสิ่งของบางอย่างเพราะจะได้เห็น
ถึงความแตกต่าง
2 ครูหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมสื่อ อุปกรณ์ในการฝึกให้พร้อม มีการออกแบบกิจกรรม
ล่วงหน้า
3 การฝึกจะต้องฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก
ลิ้น และกาย
4 การฝึกทักษะการสังเกตครั้งแรก ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความสนใจ และความ
ตระหนักในสิ่งที่จะสังเกต ดังนั้นกิจกรรมหรือสิ่งที่ให้สังเกตต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน แล้วจึง
เป็นสิ่งที่ยากขึ้น
5 การสังเกตในแต่ละครั้ง ข้อมูลของการสังเกตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กนำมาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเด็กจะต้องการแก้ปัญหา
การฝึกทักษะให้เด็กได้มีความสามารถในการสังเกตดังตัวอย่างข้างต้นแล้วในชีวิต
ประจำวันของเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
ตั้งแต่ยังเล็กอยู่ ดังนั้นครู พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดประสบ
การณ์ให้เด็กมีทักษะการสังเกต ทักษะการสังเกตที่จะต้องฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
1 เด็กจะต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง ในการสังเกตสิ่งของบางอย่างเพราะจะได้เห็น
ถึงความแตกต่าง
2 ครูหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมสื่อ อุปกรณ์ในการฝึกให้พร้อม มีการออกแบบกิจกรรม
ล่วงหน้า
3 การฝึกจะต้องฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก
ลิ้น และกาย
4 การฝึกทักษะการสังเกตครั้งแรก ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความสนใจ และความ
ตระหนักในสิ่งที่จะสังเกต ดังนั้นกิจกรรมหรือสิ่งที่ให้สังเกตต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน แล้วจึง
เป็นสิ่งที่ยากขึ้น
5 การสังเกตในแต่ละครั้ง ข้อมูลของการสังเกตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กนำมาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเด็กจะต้องการแก้ปัญหา
การฝึกทักษะให้เด็กได้มีความสามารถในการสังเกตดังตัวอย่างข้างต้นแล้วในชีวิต
ประจำวันของเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
2553/11/04
เด็กเล็กกับการจัดประสบการณ์ทดลอง
การจัดประสบการณ์ทดลองจะดำเนินการในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมวงกลม
เน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการ มากกว่าที่จะให้เด็กได้จำเนื้อหา เน้นการฝึกทักษะกระบวนการทำให้เด็กได้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาที่ผู้ใหญ่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเองในตัวเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง ค้นคว้าหาวิธีด้วยตนเอง จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดหาเหตุผล ทักษะการคิดแก้ปัญหา นอกจากนั้นทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กเป็นคน
ละเอียด รอบคอบ มานะอดทน มีระบบของการทำงานที่มีระเบียบวินัย และช่วยการสร้างเจตคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนทางด้านสังคมทำให้เด็กได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และปลูกฝังการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยเมือโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
เน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการ มากกว่าที่จะให้เด็กได้จำเนื้อหา เน้นการฝึกทักษะกระบวนการทำให้เด็กได้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาที่ผู้ใหญ่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเองในตัวเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง ค้นคว้าหาวิธีด้วยตนเอง จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดหาเหตุผล ทักษะการคิดแก้ปัญหา นอกจากนั้นทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กเป็นคน
ละเอียด รอบคอบ มานะอดทน มีระบบของการทำงานที่มีระเบียบวินัย และช่วยการสร้างเจตคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนทางด้านสังคมทำให้เด็กได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และปลูกฝังการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยเมือโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
2553/11/01
ประโยชน์ของคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย
คำคล้องจองสำหรับเด็กเล็กเป็นคำที่ต้องใช้ถ้อยคำที่สั้นๆ ง่ายๆ และมีความยาวไม่มากนัก มีเนื้อหาสาระที่ไม่มาก เด็กท่องแล้วเกิดความสนุกสนาน ง่ายต่อการจำ มีความเพลิดเพลินต่อคำสัมผัส เมื่อเด็กได้ท่อง คำคล้องจองจึงมีความสำคัญต่อเด็กดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็ก ทำให้เด็กใช้ภาษาได้อย่างดี
- ส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก
- สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติในเรื่องของจังหวะ เพราะเด็กๆ มีความสุขใน
ขณะที่ได้ท่องคำคล้องจอง
- ช่วยเตรียมความพร้อมด้านภาษาก่อนที่เด็กจะได้อ่าน
- สร้างและสะสมคำศัพท์ให้กับเด็ก
- เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ แก่เด็ก
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
การให้เด็กได้ท่องหรือพูดคำคล้องจองจึงมีประโยชน์ต่อเด็ก เป็นอย่างมาก ครูหรือผู้ใกล้ชิด
เด็กถ้าส่งเสริมให้เด็กได้ท่องคำคล้องจองจะทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆโดยเฉพาะภาษา
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็ก ทำให้เด็กใช้ภาษาได้อย่างดี
- ส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก
- สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติในเรื่องของจังหวะ เพราะเด็กๆ มีความสุขใน
ขณะที่ได้ท่องคำคล้องจอง
- ช่วยเตรียมความพร้อมด้านภาษาก่อนที่เด็กจะได้อ่าน
- สร้างและสะสมคำศัพท์ให้กับเด็ก
- เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ แก่เด็ก
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
การให้เด็กได้ท่องหรือพูดคำคล้องจองจึงมีประโยชน์ต่อเด็ก เป็นอย่างมาก ครูหรือผู้ใกล้ชิด
เด็กถ้าส่งเสริมให้เด็กได้ท่องคำคล้องจองจะทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆโดยเฉพาะภาษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)