ความคิดวิเคราะห์ในเด็กปฐมวัยเป็นความสามารถที่จะแยกแยะหรือย่อยข้อมูลออกเป็นส่วนที่ทำให้เข้าใจง่าย สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้โดยเข้าใจหลักการและประโยชน์ที่จะนำมาใช้ สามารถจำแนกความเหมือน ความแตกต่าง เปรียบเทียบลักษณะรูปร่างของสิ่งต่างๆได้ บทบาทของ ครูในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เด็กมีความคิดวิเคาระห์ควรมีดังนี้
- ให้เด็กสังเกตและบอกความแตกต่างของสิ่งของต่างๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างน้ำเปล่ากับน้ำอัดลม ดินสอกับปากกา น้ำตาลกับเกลือ ดินเหนียวกับดินทราย เป็นต้น
- ใช้คำถามที่เหมาะสมและถูกจังหวะ เพื่่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด
- ให้เวลากับเด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง อดทนรอคำตอบจากเด็ก
- พูดอย่างมีจุดมุ่งหมายในขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- สังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคลและบันทึกผลไว้
หากครูมีบทบาทและพฤติกรรมดังกล่าวในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กแล้ว จะเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาความคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัย
2556/04/29
2556/04/26
ครูปฐมวัยกับการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก
การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านการอ่าน ควรให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่่างไม่รู้ตัวโดยเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ครอบครัว และโรงเรียนซึ่งจะต้องมีความร่วมมือและประสานสัมพันธ์กัน ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับครูปฐมวัยการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กมีปัจจัยที่สำคัญคือ
- การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดความอยากอ่านและตระหนักในความสำคัญ เห็นว่าการอ่านให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น การจัดมุมหนังสือ การจัดป้ายนิเทศแสดงนิทานใหม่ๆ
- การคำนึงถึงพัฒนาการ จิตวิทยา กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น การเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นต้น
- การจัดการเรียนรู้หรือการจัดประสบการณ์ของครูให้กับเด็ก เช่น การเล่่านิทานหรือการอ่่านหนังสือนิทานให้กับเด็กฟัง การเล่่นเกมทางภาษา การให้เด็กยืมหนังสือนิทานกลับบ้าน ฯลฯ
ปัจจัยดังกล่่าวถ้าครูปฐมวัยคำนึงถึงและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครองจะเป็นการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กจนกระทั่งเด็กมีพฤติกรรมการอ่านเมื่อโตขึ้น
- การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดความอยากอ่านและตระหนักในความสำคัญ เห็นว่าการอ่านให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น การจัดมุมหนังสือ การจัดป้ายนิเทศแสดงนิทานใหม่ๆ
- การคำนึงถึงพัฒนาการ จิตวิทยา กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น การเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นต้น
- การจัดการเรียนรู้หรือการจัดประสบการณ์ของครูให้กับเด็ก เช่น การเล่่านิทานหรือการอ่่านหนังสือนิทานให้กับเด็กฟัง การเล่่นเกมทางภาษา การให้เด็กยืมหนังสือนิทานกลับบ้าน ฯลฯ
ปัจจัยดังกล่่าวถ้าครูปฐมวัยคำนึงถึงและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครองจะเป็นการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กจนกระทั่งเด็กมีพฤติกรรมการอ่านเมื่อโตขึ้น
2556/04/03
การเล่นตามมุมของเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมเล่นตามมุมให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการกิจกรรมให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นแต่ละประเภท เพื่อสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก สิ่งที่จัดให้กับเด็กหรือเนื้อหามีดังนี้
- การเล่นบทบาทสมมติ และเล่นเลียนแบบในมุมบ้าน มุมหมอ มุมร้านค้า ฯลฯ
- การอ่านหรือการดูภาพในมุมหนังสือ
- การสังเกตและการทดลองในมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ
- การเล่นในมุมบล็อก
- การเล่นฝึกทักษะต่างๆในมุมเครื่องเล่นสัมผัส
- การเล่นฝึกและทบทวนทักษะต่างๆในมุมเกมการศึกษา
การเล่นตามมุมดังกล่าวเป้นการเล่นในมุมประสบการณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กเล่นอย่างอิสระซึ่่งมีความสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านต่างๆให้กับเด็กปฐมวัย
- การเล่นบทบาทสมมติ และเล่นเลียนแบบในมุมบ้าน มุมหมอ มุมร้านค้า ฯลฯ
- การอ่านหรือการดูภาพในมุมหนังสือ
- การสังเกตและการทดลองในมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ
- การเล่นในมุมบล็อก
- การเล่นฝึกทักษะต่างๆในมุมเครื่องเล่นสัมผัส
- การเล่นฝึกและทบทวนทักษะต่างๆในมุมเกมการศึกษา
การเล่นตามมุมดังกล่าวเป้นการเล่นในมุมประสบการณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กเล่นอย่างอิสระซึ่่งมีความสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านต่างๆให้กับเด็กปฐมวัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)