ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการเล่นของเด็กเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดความสนใจในการเล่น การเลือกของเล่นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมจึงมีหลักดังนี้
- ความปลอดภัยในการเล่น ของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ ที่ไม่มีอันตรายต่อผิวสัมผัส ไม่หลุดหรือแตกหักง่าย ไม่มีวัสดุที่เป็นพิษต่อเด็ก ไม่มีขนาดเล็กเกินไป น้ำหนักพอเหมาะ ฯลฯ
- ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นสำหรับเด็กควรส่งเสริมและเร้าความสนใจเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดความคิดและจินตนาการ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ พัฒนาประสาทมือและตาให้สัมพันธ์กัน พัฒนาการใช้มืออย่างคล่องแคล่ว ฯลฯ
- ประสิทธิภาพในการเล่น ของเล่นควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุ และความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก เด็กได้ใช้ประสบการณ์ตรงและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และปรับเปลี่ยนตัดแปลงใช้ประโยชน์ได้หลายโอกาส หลายรูปแบบ หรือเล่นได้หลายคน
- ประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่เป็นของเล่นที่จัดหาได้ง่าย มีราคาย่อมเยา หรือหาได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กจำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักดังที่กล่าวเพื่อจะได้ส่งเสริมและพัฒนาเด็กของเราให้มีคุณภาพ
2556/11/30
2556/11/26
ประเภทของเครื่องเล่นสนามที่สามารถพัฒนาเด็กอย่างมึคุณภาพ
ผู้ใหญ่ควรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดหาเครื่องเล่นสนามที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย เครื่องเล่นที่เหมาะกับเด็กควรเป็นเครื่องเล่นที่เด็กสามารถปีนป่าย หมุน โยก ฯลฯ เครื่องเล่นดังกล่าวจะส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื่้อใหญ่ให้แข็งแรง คล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้
- ประเภทปีนป่าย เช่น โคม ตาข่ายสำหรับปีน ทีปีนแบบโค้ง
- ประภทโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก
- ประเภทหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัยรถสำหรับหมุนเล่น
- ประเภทโหน เช่น บาร์โหน ราวโหน บาร์คู่
- ประเภทไต่ เช่น ราวไต่หรือต้นไม้ สำหรับหัดเดินทรงตัว
- ประเภทลื่น เช่น ไม้ลื่น อุโมงค์ลอด
สื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆจึงมีความสำคัญสามารถพัฒนาความพร้อมด้านร่างกาย เด็กจะมีกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงได้เด็กต้องผ่านการเล่นจากอุปกรณ์ดังกล่าว
- ประเภทปีนป่าย เช่น โคม ตาข่ายสำหรับปีน ทีปีนแบบโค้ง
- ประภทโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก
- ประเภทหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัยรถสำหรับหมุนเล่น
- ประเภทโหน เช่น บาร์โหน ราวโหน บาร์คู่
- ประเภทไต่ เช่น ราวไต่หรือต้นไม้ สำหรับหัดเดินทรงตัว
- ประเภทลื่น เช่น ไม้ลื่น อุโมงค์ลอด
สื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆจึงมีความสำคัญสามารถพัฒนาความพร้อมด้านร่างกาย เด็กจะมีกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงได้เด็กต้องผ่านการเล่นจากอุปกรณ์ดังกล่าว
2556/11/19
ขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การวางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นเราควรเตรียมขอบข่ายของคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่ผู้ใหญ่จะต้องจัดประสบการณ์ให่้เด็กมีดังนี้
- การนับ เป็นการนับอย่างมีความหมาย
- ตัวเลข ให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
- การจับคู่ ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน
- การจัดประเภท ให้เด็กสังเกตและสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ
- การเปรียบเทียบ เป็นการบอกความสัมพันธ์ของสองสิ่งหรือมากกว่า เช่น สั้นกว่า ยาวกว่า
- การจัดลำดับ ให้เด็กจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่ง เช่น เรียงลำคับจากสูงไปต่ำ
- การวัด ให้เด็กวัดด้วยตนเอง เช่น วัดความยาว ชั่งน้ำหนัก
การจัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะดังกล่าวจำเป็นจะต้องให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง มีสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตลอดจนทำอย่างต่อเนื่อง
- การนับ เป็นการนับอย่างมีความหมาย
- ตัวเลข ให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
- การจับคู่ ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน
- การจัดประเภท ให้เด็กสังเกตและสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ
- การเปรียบเทียบ เป็นการบอกความสัมพันธ์ของสองสิ่งหรือมากกว่า เช่น สั้นกว่า ยาวกว่า
- การจัดลำดับ ให้เด็กจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่ง เช่น เรียงลำคับจากสูงไปต่ำ
- การวัด ให้เด็กวัดด้วยตนเอง เช่น วัดความยาว ชั่งน้ำหนัก
การจัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะดังกล่าวจำเป็นจะต้องให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง มีสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตลอดจนทำอย่างต่อเนื่อง
2556/11/14
การพัฒนาทักษะการจำแนกให้แก่เด็กปฐมวัย
การให้เด็กได้มีความสามารถในการจำแนกนั้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำในการจัดวัตถุ เหตุการณ์ต่างๆตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง
ลักษณะ เสียง เป็นต้น หลักการในการพัฒนาทักษะการจำแนกควรจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมดังนี้
- จัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์อย่างหลากหลายชนิด มาให้เด็กได้เล่นหรือได้มีประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้สนใจ และคอยส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะในการจัดประเภทสิ่งของด้วยวิธีการสังเกต
- คอยส่งเสริมให้เด็กเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างและความเหมือนกันระหว่างสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆกัน
- กระตุ้นให้เด็กได้เสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลายๆลักษณะให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นแล้วให้เด็กอภิปรายหรือให้เหตุผลในการจำแนกประเภทดังกล่าว
- ส่งเสริมการสร้างนิสัยความมีระเบียบในการจัดของให้เป็นประเภทเดียวกัน
การพัฒนาทักษะการจำแนกดังกล่าวมีความสำคัญต่อเด็กเพราะเป็นทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต่อไปไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ลักษณะ เสียง เป็นต้น หลักการในการพัฒนาทักษะการจำแนกควรจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมดังนี้
- จัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์อย่างหลากหลายชนิด มาให้เด็กได้เล่นหรือได้มีประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้สนใจ และคอยส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะในการจัดประเภทสิ่งของด้วยวิธีการสังเกต
- คอยส่งเสริมให้เด็กเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างและความเหมือนกันระหว่างสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆกัน
- กระตุ้นให้เด็กได้เสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลายๆลักษณะให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นแล้วให้เด็กอภิปรายหรือให้เหตุผลในการจำแนกประเภทดังกล่าว
- ส่งเสริมการสร้างนิสัยความมีระเบียบในการจัดของให้เป็นประเภทเดียวกัน
การพัฒนาทักษะการจำแนกดังกล่าวมีความสำคัญต่อเด็กเพราะเป็นทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต่อไปไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
2556/11/10
เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยเพื่ออะไร
ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผู้ใหญ่โดยเฉพาะครูจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อเตรียมเด็กให้มีความสามารถด้านนี้เพราะจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กมีดังนี้
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ อยากรู้และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
- เพื่อฝึกให้เด็กมีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ได้แก่ การนับ การจับคู่ การจัดประเภท ฯลฯ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น คำศัพท์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ความมุ่งหมายดังกล่าวผู้ใหญ่จะต้องเตรียมโดยให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จากสื่อ อุปกรณ์ มีการสำรวจ ค้นพบ ฯลฯเพื่อให้มีทักษะโดยผ่านกระบวนการต่างๆสู่การมีความพร้อมในที่สุด
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ อยากรู้และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
- เพื่อฝึกให้เด็กมีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ได้แก่ การนับ การจับคู่ การจัดประเภท ฯลฯ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น คำศัพท์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ความมุ่งหมายดังกล่าวผู้ใหญ่จะต้องเตรียมโดยให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จากสื่อ อุปกรณ์ มีการสำรวจ ค้นพบ ฯลฯเพื่อให้มีทักษะโดยผ่านกระบวนการต่างๆสู่การมีความพร้อมในที่สุด
2556/11/05
ภาษาพูด:กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดมีกระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดตลอดเวลาจนสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ กระบวนการเรียนรู้มีดังนี้
- การเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เด็กเลียนเสียงคนอื่นที่แวดล้อมจนนำไปสู่การพูดตามเสียงที่ได้ยิน
- การเอาอย่าง เด็กมิได้เลียนแบบการออกเสียงอย่างเดียวแต่พยายามเลียนแบบท่าทาง ตามเสียงที่ได้ยินด้วย
- การเรียนรู้ด้วยความสัมพันธ์ภาษา เด็กจะเรียนรู้คำต่างๆ เช่น แม่ยื่นตุ็กตาให้พร้อมกับบอกว่าตุ็กตา เด็กจะเรียนรู้ได้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ
- การลองผิดลองถูก เมื่อใดที่เด็กออกเสียงได้ถูกต้องจะทำให้เด็กมั่นใจและช่วยให้เด็กมีการพัฒนาการพูดได้เร็ว
- การถ่ายทอดการเรียนรู้ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีการเรียนรู้เกี่ยวกันมาก่อน เช่น
การรู้จักวัว แล้วสอนให้รู้จักควาย โดยชี้ให้เห็นความแตกต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
หากพ่อแม่ ผู้ปกครองได้เข้าใจและมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดดังกล่าวแล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างต่อเนื่องแล้วเด็กจะมีการพัฒนาการพูดอย่างรวดเร็ว
- การเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เด็กเลียนเสียงคนอื่นที่แวดล้อมจนนำไปสู่การพูดตามเสียงที่ได้ยิน
- การเอาอย่าง เด็กมิได้เลียนแบบการออกเสียงอย่างเดียวแต่พยายามเลียนแบบท่าทาง ตามเสียงที่ได้ยินด้วย
- การเรียนรู้ด้วยความสัมพันธ์ภาษา เด็กจะเรียนรู้คำต่างๆ เช่น แม่ยื่นตุ็กตาให้พร้อมกับบอกว่าตุ็กตา เด็กจะเรียนรู้ได้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ
- การลองผิดลองถูก เมื่อใดที่เด็กออกเสียงได้ถูกต้องจะทำให้เด็กมั่นใจและช่วยให้เด็กมีการพัฒนาการพูดได้เร็ว
- การถ่ายทอดการเรียนรู้ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีการเรียนรู้เกี่ยวกันมาก่อน เช่น
การรู้จักวัว แล้วสอนให้รู้จักควาย โดยชี้ให้เห็นความแตกต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
หากพ่อแม่ ผู้ปกครองได้เข้าใจและมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดดังกล่าวแล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างต่อเนื่องแล้วเด็กจะมีการพัฒนาการพูดอย่างรวดเร็ว
2556/11/03
การส่งเสริมทักษะการคิดให้กับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมหรือวิธีการที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการคิดนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและให้เด็กได้ปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิดดังนี้
- ใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด
- เปิดโอกาสให้เด็กคิด ให้แสดงออก และยอมรับความคิดของเด็ก
- ใช้กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะให้แสดงออกทางความคิด
- ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการค่ิดอย่างเป็นระบบ
- ให้ความรักและความสะดวกใจแก่เด็กในการแสดงคตวามรู้ความคิด
- ให้เด็กพยายามช่วยเหลือตนเองด้วยการคิดที่หลากหลาย
- จัดหาสถานที่อุปกรณ์และสิ่งที่เด็กสนใจสามารถศึกษา ค้นคว้า ทดลองในสิ่งที่เด็กสนใจ
- สนทนาซักถาม แสดงความคิดเห็นและตอบโต้ ซึ่งกระตุ้นให้เด้กได้ฝึกฝนทักษะการคิด
ด้งนั้นผู้ใหญ่จึงสามารถสร้าง ส่งเสริมสนับสนุนเด็กปฐมวัยให้เป็นนักคิดโดยการใช้วิธีการและกิจกรรมที่กล่าวข้างต้น
- ใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด
- เปิดโอกาสให้เด็กคิด ให้แสดงออก และยอมรับความคิดของเด็ก
- ใช้กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะให้แสดงออกทางความคิด
- ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการค่ิดอย่างเป็นระบบ
- ให้ความรักและความสะดวกใจแก่เด็กในการแสดงคตวามรู้ความคิด
- ให้เด็กพยายามช่วยเหลือตนเองด้วยการคิดที่หลากหลาย
- จัดหาสถานที่อุปกรณ์และสิ่งที่เด็กสนใจสามารถศึกษา ค้นคว้า ทดลองในสิ่งที่เด็กสนใจ
- สนทนาซักถาม แสดงความคิดเห็นและตอบโต้ ซึ่งกระตุ้นให้เด้กได้ฝึกฝนทักษะการคิด
ด้งนั้นผู้ใหญ่จึงสามารถสร้าง ส่งเสริมสนับสนุนเด็กปฐมวัยให้เป็นนักคิดโดยการใช้วิธีการและกิจกรรมที่กล่าวข้างต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)