มุมหนังสือหรือมุมอ่านมีความสำคัญมาก ทั้งที่เด็กอยู่บ้านหรืออยู่ที่โรงเรียน ผู้ใหญ่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมุมดังกล่าวให้แก่เด็ก เพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการปลูก
ฝังการรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ใช่หวังแต่เพียงโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องสร้างบรรยากาศ
เพื่อการอ่านให้แก่เด็ก สภาพทางบ้านและทางโรงเรียนจะต้องช่วยกัน และร่วมมือกันอย่างที่เรียกว่าเราจะต้องไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเด็กมีพฤติกรรมรักการอ่าน ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่เริ่มขับเคลื่อนโดยจัดเป็นมุมหนังสือในห้องเรียนและมีความมุ่งมั่นดังนี้
-จัดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งในห้อง กำหนดพื้นที่ไว้ด้วยเสื่อหรือพรม ห้ามเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะอยู่ในมุมหนังสือ
-จัดหาหนังสือที่หลากหลาย จัดเป็นแถวให้เห็นทุกปก ไม่จัดเรียงซ้อนกัน หรือจัดสูง
เกินไปสำหรับเด็กจะหยิบได้
-จัดเปลี่ยนหนังสือตามหัวข้อที่ต้องการให้เด็กอ่าน หรือตามความสนใจ สำหรับหนังสือ
เล่มโปรดของเด็กไม่จำเป็นต้องเอาลงจากชั้น อาจตั้งโชว์ไว้เป็นเวลานานก็ได้แล้วแต่ความสนใจของเด็ก
ดังนั้นการที่จะให้เด็กรักการอ่านหนังสือผู้ใหญ่จะต้องทำหลายอย่างไม่ใช่เพียงแต่เขียน
โครงการหรือพูดกันเท่านั้น มีกิจกรรมหลายอย่างที่เราจะต้องลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
2554/03/21
2554/03/12
2554/03/10
ความสำคัญของกระบวนการพัฒนาร่างกาย
มีผู้ใหญ่หลายคนที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กยังไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนา
การด้านร่างกาย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นจริงแล้วการ
พัฒนาด้านร่างกายแล้วมีส่วนสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตของสมองอย่างแยกกันไม่ออกเลย โดย
เฉพาะในเด็กช่วงปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้กระบวนการพัฒนาร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็ก จำเป็น
จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงสร้างของร่างกาย
ตั้งแต่กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ในการที่ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ผู้ใหญ่
ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาคือ
-ให้เด็กได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนให้ร่างกายได้ใช้ทั้งระบบ
-ให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการใช้ตา มือ เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
ให้สัมพันธ์กัน
-ให้เด็กได้เล่น การเล่นของเด็กทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด
ปีน โหน เป็นต้น
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการในตัวเด็กอย่างมากมายหรือที่
เรียกว่าการพัฒนาแบบองค์รวม
การด้านร่างกาย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นจริงแล้วการ
พัฒนาด้านร่างกายแล้วมีส่วนสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตของสมองอย่างแยกกันไม่ออกเลย โดย
เฉพาะในเด็กช่วงปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้กระบวนการพัฒนาร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็ก จำเป็น
จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงสร้างของร่างกาย
ตั้งแต่กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ในการที่ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ผู้ใหญ่
ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาคือ
-ให้เด็กได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนให้ร่างกายได้ใช้ทั้งระบบ
-ให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการใช้ตา มือ เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
ให้สัมพันธ์กัน
-ให้เด็กได้เล่น การเล่นของเด็กทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด
ปีน โหน เป็นต้น
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการในตัวเด็กอย่างมากมายหรือที่
เรียกว่าการพัฒนาแบบองค์รวม
2554/03/06
สมองของเด็กวัย 2-7 ปี
การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กวัย 2-7 ปีนั้นผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของสมองวัยดังกล่าว เพื่อจะได้ออกแบบจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนา
การของเด็กคือกิจกรรมจะได้ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ที่สำคัญกิจกรรมจะต้องผ่านการเล่นเด็กจึงเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการที่เรียกว่า preoperational stage เด็กเรียนรู้ภาษาและคิดแบบตนเองเป็นศูนย์กลาง เล่นแบบสมมติ เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถโยงความ
สัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ได้แต่เหตุผลของเด็กมีขอบเขตที่เป็นสิ่งที่มีจำกัดเพราะเด็กยังคง
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองเฉพาะตนเอง ไม่เห็นเหตุผลของคนอื่น ยังไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็น
จริง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและรู้จักแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจ
ความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดเจนมากนัก สามารถแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้ รู้จักการนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นได้ และสามารถนำเหตุผลทั่วไป
มาสรุปแก้ปัญหาได้บ้าง การคิดหาเหตุผลยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กรับรู้เท่านั้น การพัฒนาสมองดังกล่าวผู้ใหญ่ต้องรู้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเด็กต่อไป
จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของสมองวัยดังกล่าว เพื่อจะได้ออกแบบจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนา
การของเด็กคือกิจกรรมจะได้ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ที่สำคัญกิจกรรมจะต้องผ่านการเล่นเด็กจึงเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการที่เรียกว่า preoperational stage เด็กเรียนรู้ภาษาและคิดแบบตนเองเป็นศูนย์กลาง เล่นแบบสมมติ เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถโยงความ
สัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ได้แต่เหตุผลของเด็กมีขอบเขตที่เป็นสิ่งที่มีจำกัดเพราะเด็กยังคง
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองเฉพาะตนเอง ไม่เห็นเหตุผลของคนอื่น ยังไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็น
จริง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและรู้จักแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจ
ความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดเจนมากนัก สามารถแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้ รู้จักการนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นได้ และสามารถนำเหตุผลทั่วไป
มาสรุปแก้ปัญหาได้บ้าง การคิดหาเหตุผลยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กรับรู้เท่านั้น การพัฒนาสมองดังกล่าวผู้ใหญ่ต้องรู้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเด็กต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)