การจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนให้กับเด็กจะมีความหมายหรือมีประโยชน์อย่าง
เต็มที่แล้ว ครูผู้สอนจะต้องเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์
สิ่งที่เราต้องการให้เกิดกับเด็กในการพาเด็กออกนอกห้องเรียนที่สำคัญคือให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการศึกษา
ซึ่งได้แก่ การสังเกต การสำรวจ การทดลอง การรวบรวมข้อมูล การพัฒนาการทางภาษาด้านการฟัง
พูด การซักถาม นอกจากนั้นยังต้องการฝึกประสบการณ์ด้านการแก้ปัญหา การรอคอย ความรับผิดชอบ
ความอดทน เป็นต้น ดังนั้นสิ่งแรกที่ครูต้องเตรียมคือสภาพแวดล้อมที่เด็กจะได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่เราต้องการให้เด็กได้สังเกต สำรวจ และทดลอง ครูจะต้องเตรียมสภาพแวดล้อมนอก
ห้องเรียนคือทุกอย่างที่เด็กได้สัมผัสเมื่อเด็กออกนอกห้องเรียน และจะต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ด้วย สภาพแวดล้อมนั้นครูต้องพยายามให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กได้ดู ฟัง สัมผัส ดม และที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือจะต้องไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก สภาพแวดล้อมที่กล่าวได้แก่ ป่าชุมชน ต้นไม้ ดอกไม้ แปลงผัก ห้องสมุด อุปกรณ์ต่างๆที่จัดไว้นอกห้องเรียน เป็นต้น
ดังนั้นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์นอกห้องเรียนสิ่งที่ครูต้องระลึกเสมอคือจะต้อง
ให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เน้นในเรื่องระเบียบวินัย การรอคอย การแบ่งปัน
และการใช้คำพูด
2554/07/18
2554/07/10
ประเด็นสำคัญในทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner
สาระสำคัญของปัญญาตามที่ Gardner ได้ให้ความหมายนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือสิ่งที่เป็นประเด็นความรู้จากทฤษฎีดังกล่าวนำมาใช้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กคือ
-ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะค้นพบเพิ่มเติม บางคนอาจจะมีปัญญาทั้ง 8 ด้านสูง บางคนอาจจะมีปัญญาสูงเพียงด้านเดียวหรือสองด้านส่วนด้านอื่นๆไม่สูง
-ปัญญาด้านต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
อาจใช้ปัญญาหลายด้านไม่ว่าด้านคณิตศาสตร์ ภาษา มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง เป็นต้น
-ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
-ปัญญาในแต่ละด้านสามารถพัฒนาได้สูงขึ้นถ้ามีการให้การฝึกฝน การให้กำลังใจ
ตลอดจนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒนาปัญญาให้กับเด็ก
-ปัญญาแต่ละด้านหรือปัญญาด้านหนึ่งด้านใด มีการแสดงความสามารถได้หลายอย่างซึ่งตรงนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ
สาระของทฤษฎีด้งกล่าวมีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กของเรามีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
-ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะค้นพบเพิ่มเติม บางคนอาจจะมีปัญญาทั้ง 8 ด้านสูง บางคนอาจจะมีปัญญาสูงเพียงด้านเดียวหรือสองด้านส่วนด้านอื่นๆไม่สูง
-ปัญญาด้านต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
อาจใช้ปัญญาหลายด้านไม่ว่าด้านคณิตศาสตร์ ภาษา มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง เป็นต้น
-ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
-ปัญญาในแต่ละด้านสามารถพัฒนาได้สูงขึ้นถ้ามีการให้การฝึกฝน การให้กำลังใจ
ตลอดจนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒนาปัญญาให้กับเด็ก
-ปัญญาแต่ละด้านหรือปัญญาด้านหนึ่งด้านใด มีการแสดงความสามารถได้หลายอย่างซึ่งตรงนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ
สาระของทฤษฎีด้งกล่าวมีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กของเรามีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
2554/07/03
ความรู้ครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยสิ่งสำคัญที่สุดคือครูจะต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับเด็ก
เพราะเป็นช่วงในการพัฒนาเด็กได้ดีที่สุด กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่า
เป็นกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็ก โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการซึ่งเป็น
ช่วงสำคัญของชีวิต สิ่งที่ครูต้องตระหนักมีดังนี้
ด้านตัวเด็ก
-ครูจะต้องให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของการแสดงออกอย่างอิสระ การส่งเสริมอิสรภาพ
ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน
-การให้เด็กมีสุนทรียภาพต่อสิ่งแวดล้อม ชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ และมีทักษะการ
สังเกต
-การที่เด็กมีความพอใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน การได้แสดงออกทางความคิด
เห็นและการได้พัฒนาทักษะทางภาษาไปพร้อมกัน
ด้านตัวครู
-ให้โอกาสเด็กในการทำงานอย่างอิสระ เคารพในความแตกต่างของแต่ละคน
-ชื่นชมในผลงานของเด็ก ส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของเด็ก
-ตั้งใจในการตอบคำถาม และให้ความสนใจในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นของเด็ก
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของบทบาทของครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อเด็ก
เพราะเป็นช่วงในการพัฒนาเด็กได้ดีที่สุด กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่า
เป็นกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็ก โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการซึ่งเป็น
ช่วงสำคัญของชีวิต สิ่งที่ครูต้องตระหนักมีดังนี้
ด้านตัวเด็ก
-ครูจะต้องให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของการแสดงออกอย่างอิสระ การส่งเสริมอิสรภาพ
ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน
-การให้เด็กมีสุนทรียภาพต่อสิ่งแวดล้อม ชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ และมีทักษะการ
สังเกต
-การที่เด็กมีความพอใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน การได้แสดงออกทางความคิด
เห็นและการได้พัฒนาทักษะทางภาษาไปพร้อมกัน
ด้านตัวครู
-ให้โอกาสเด็กในการทำงานอย่างอิสระ เคารพในความแตกต่างของแต่ละคน
-ชื่นชมในผลงานของเด็ก ส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของเด็ก
-ตั้งใจในการตอบคำถาม และให้ความสนใจในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นของเด็ก
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของบทบาทของครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อเด็ก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)