2555/04/25
การปฏิบัติการทดลองสำหรับเด็กปฐมวัย
2555/04/16
วิธีการใช้คำถามสำหรับเด็กเล็ก
การใช้คำถามกับเด็กเล็กมีความสำคัญและมีประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก การตั้งคำถามให้เด็กคิดตอบจะเป็นการฝึกให้เด็กคิดเป็นอย่างดี หรือการที่ครูให้เด็กตั้งคำถามก็เป็นการช่วยทักษะการคิดและการสังเกตของเด็กด้วย วิธีการการใช้คำถามจึงเป็นเรื่องที่ครูหรือผู้ปกครองควรได้ทราบและใช้ให้เหมาะสม อย่างการใช้คำถามที่เปิดกว้าง สามารถตอบได้หลายคำตอบ เช่น
- เราใช้เชือกทำอะไรได้บ้าง
- ทำไมเราจึงต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย
- ข้าวสารต่างกับข้าวเหนียวอย่างไร
คำถามดังกล่าวเป็นคำถามที่สามารถช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กได้ฝึกคิดอย่างคล่องแคล่ว หลายทิศทางและคิดในสิ่งที่แปลกๆใหม่ๆ คำตอบเหล่านี้ไม่มีผิดแต่จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการคิดอย่างสนุกสนาน และมีความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับวิธีการใช้คำถามสามารถแทรกในกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม ถ้าเป็นครูอาจจัดกิจกรรมในช่วงที่เป็นกิจกรรมขั้นนำหรือท้ายกิจกรรมก็ได้
- เราใช้เชือกทำอะไรได้บ้าง
- ทำไมเราจึงต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย
- ข้าวสารต่างกับข้าวเหนียวอย่างไร
คำถามดังกล่าวเป็นคำถามที่สามารถช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กได้ฝึกคิดอย่างคล่องแคล่ว หลายทิศทางและคิดในสิ่งที่แปลกๆใหม่ๆ คำตอบเหล่านี้ไม่มีผิดแต่จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการคิดอย่างสนุกสนาน และมีความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับวิธีการใช้คำถามสามารถแทรกในกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม ถ้าเป็นครูอาจจัดกิจกรรมในช่วงที่เป็นกิจกรรมขั้นนำหรือท้ายกิจกรรมก็ได้
2555/04/10
กิจกรรมเล่นตามมุม:มุมศิลปะ
กิจกรรมในมุมศิลปะสามารถพัฒนาเด็กได้หลายด้าน เช่น ด้านความพร้อมของกล้ามเนื้อนิ้วมือ ซึ่งจะช่วยให้มือของเด็กพร้อมที่จะจับดินสอเขียนหนังสือได้เมื่อเด็กเรียนในชั้นประถมศึกษา นอกจากนั้นช่วยพัฒนาทั้งด้านอารมณ์ สังคม เมื่อเด็กทำงานเป็นกลุ่มก็เปิดโอกาสให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับเพื่อน ฝึกให้เด็กได้ใช้จินตนาการซึ่งจะช่วยพัฒนาสติปัญญา
สำหรับอุปกรณ์ที่จัดในมุมนี้ ได้แก่ สีเทียน สีฝุ่่น หรือสีที่ได้จากใย ดอกหรือผลของพืช พู่กัน หรือสิ่งทดแทน เช่น ก้านหมากทุบ กากอ้อย ฯลฯ ดินเหนียวหรือดินน้ำมัน กาว กระดาษ โต๊ะที่สูงพอเหมาะ ควรจัดวัสดุที่เด็กจะใช้งานไว้กลางโต๊ะเพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และควรมีที่สำหรับผึ่งกางผลงานเด็กที่ยังไม่แห้ง ครูจึงมีความสำคัญในการวางแผนจัดกิจกรรม สื่ออุปกรณ์ และการวัดประเมินผลพฤติกรรมของเด็กขณะที่เด็กทำกิจกรรมในมุมศิลปะ
สำหรับอุปกรณ์ที่จัดในมุมนี้ ได้แก่ สีเทียน สีฝุ่่น หรือสีที่ได้จากใย ดอกหรือผลของพืช พู่กัน หรือสิ่งทดแทน เช่น ก้านหมากทุบ กากอ้อย ฯลฯ ดินเหนียวหรือดินน้ำมัน กาว กระดาษ โต๊ะที่สูงพอเหมาะ ควรจัดวัสดุที่เด็กจะใช้งานไว้กลางโต๊ะเพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และควรมีที่สำหรับผึ่งกางผลงานเด็กที่ยังไม่แห้ง ครูจึงมีความสำคัญในการวางแผนจัดกิจกรรม สื่ออุปกรณ์ และการวัดประเมินผลพฤติกรรมของเด็กขณะที่เด็กทำกิจกรรมในมุมศิลปะ
2555/04/08
ประโยชน์ของการประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย
กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัย จุดประสงค์สำคัญไม่ได้มีขึ้นเพื่อผลของงานคืออาหารที่ทำเสร็จ แต่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดความสนุกสนาน เร้าความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการระหว่างการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ เน้นให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ให้เด็กได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังปลูกฝังให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี มีมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหาร การประหยัด ความสะอาด รวมถึงการสร้างนิสัยรักการทำงาน ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา ฝึกการสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ไข่ดิบกับไข่ที่สุกแล้ว ลักษณะของผักสดกับผักที่โดนความร้อน และที่สำคัญฝึกการติดตามขั้นตอนต่างๆและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนเกิดเป็นผลงาน เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำได้มาจากไหน หรือได้มาอย่างไร
2555/04/06
คุณค่าของกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่
การศึกษานอกสถานที่หรือกิจกรรมทัศนศึกษา เป็นการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ซึ่งในเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งพอจะกล่าวได้คือ
- เด็กส่ามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ท่ี่ตนเองได้ศึกษา และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
- เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
- เด็กได้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาอย่างถ่องแท้
- เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน กระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรม
- ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัส
- ส่งเสริมเจตคติที่ดีแก่นักเรียนในด้านต่างๆ เช่น อนุรักษ์ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม
- ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การรอคอย ระเบียบวินัย
- เป็นการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
ดังนั้นครูปฐมวัยควรที่จะวางแผนและกำหนดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาเด็กให้เด็กศักยภาพ
- เด็กส่ามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ท่ี่ตนเองได้ศึกษา และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
- เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
- เด็กได้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาอย่างถ่องแท้
- เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน กระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรม
- ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัส
- ส่งเสริมเจตคติที่ดีแก่นักเรียนในด้านต่างๆ เช่น อนุรักษ์ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม
- ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การรอคอย ระเบียบวินัย
- เป็นการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
ดังนั้นครูปฐมวัยควรที่จะวางแผนและกำหนดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาเด็กให้เด็กศักยภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)