การสอนแบบมอนเตสซอรีเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้ริเริ่มโดยดร.มาเรีย มอนเตสซอรี
ซึ่่งมีแนวคิดที่สำคัญหลายประการ เช่น ช่วงสำคัญที่สุดในชีวิตคือช่วงตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 6 ปี เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการและตามธรรมชาติของเด็ก เป็นต้น จากแนวคิดที่สำคัญหลายประการนำไปสู่หลักการสำคัญของการสอนแนวมอนเตสซอรี ที่เริ่มต้นจาก Horme ตัวตนของมนุษย์ แต่ละคนมีพลังที่ทำให้มนุษย์อยู่ได้ พลังงานทำให้ร่างกายและจิตใจคงอยู่ได้ คือความรัก สังเกตได้จากเด็กๆจะมีพลังจากความสุขกับการมีชีวิตกับตัวตน สำหรับเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปีแนวโน้มความเป็นมนุษย์ของคนเริ่มจากเกิดจนตาย สิ่งที่เป็นพื้นฐานอันดับแรกของมนุษย์คือการปรับตัวให้เข้ากับเวลาและสถานที่ ถ้าเด็กปรับตัวไม่ได้จะเกิดความหวาดกลัวและไม่มีความสุข ฉะนั้นเด็กจะต้องอาศัยผู้ใหญ่สร้างความคุ้นเคยให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความรู้สึกปลอดภัย โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เด็ก เปิดโอกาสให้เด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้าและให้เวลาที่เหมาะสมในการทำงาน รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวครูผู้สอนจำเป็นต้องได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติมาเป็นอย่างดี ที่โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ในระดับชั้นอนุบาลไดัดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เด็กปฐมวัยจึงได้รับการอบรมเลี้ยงดูโดยการวางรากฐานของความเป็นมนุษย์ตามที่กล่าว
2556/05/30
2556/05/27
พฤติกรรมที่แสดงถึงความเข้าใจ รับรู้และการใช้คำศัพท์ของเด็ก
การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านภาษาในเรื่องคำศัพท์มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา แล้วพฤติกรรมใดบ้างที่แสดงถึงความสามารถในเรื่องความเข้าใจ การรับรู้ในคำศัพท์ของเด็กอายุ 3-5ปี
พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ใช้คำศัพท์ต่างๆได้อย่างถูต้องตามความหมายที่ต้องการ
- บอกคำที่มีความหมายตรงกันข้าม
- ใช้คำที่แสดงถึงตำแหน่งต่างๆ
- บอกได้ว่าสิ่งใดอยู่ใกล้ สิ่งใดอยู่ไกล เมือ่เปรียบเทียบของสองสิ่งที่อยู่ระยะต่างกัน
- บอกคำที่มีความหมายเหมือนกัน (เช่น หมากับสุนัข / กินกับรับประทาน)
- ใช้คำที่แสดงคุณลักษณะเพื่ออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม
- อธิบายคำง่ายๆ
พฤติกรรมดังกล่าวถ้าผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจถึงพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการเลี้ยงดูเด็กแล้วก็สามารถที่จะพัฒนาภาษาด้านคำศัพท์ให้กับเด็กตั้งแต่่แรกๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กในโอกาสต่อไป
พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ใช้คำศัพท์ต่างๆได้อย่างถูต้องตามความหมายที่ต้องการ
- บอกคำที่มีความหมายตรงกันข้าม
- ใช้คำที่แสดงถึงตำแหน่งต่างๆ
- บอกได้ว่าสิ่งใดอยู่ใกล้ สิ่งใดอยู่ไกล เมือ่เปรียบเทียบของสองสิ่งที่อยู่ระยะต่างกัน
- บอกคำที่มีความหมายเหมือนกัน (เช่น หมากับสุนัข / กินกับรับประทาน)
- ใช้คำที่แสดงคุณลักษณะเพื่ออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม
- อธิบายคำง่ายๆ
พฤติกรรมดังกล่าวถ้าผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจถึงพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการเลี้ยงดูเด็กแล้วก็สามารถที่จะพัฒนาภาษาด้านคำศัพท์ให้กับเด็กตั้งแต่่แรกๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กในโอกาสต่อไป
2556/05/21
วินัยในตนเอง:คุณธรรมที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย
การเตรียมเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คุณธรรมที่มีความสำคัญที่ควรต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดในเด็กปฐมวัยคือการมีวินัยในตนเอง ซึ่งเป็นความสามารถของคนเราที่จะควบคุมอารมณ์และความประพฤติของตนเองได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติได้ตามข้อตกลงหรือระเบียบต่างๆ
วินัยที่กล่าวพอจะสรุปได้ดังนี้
- การควบคุมตนเอง ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ตนเอง อดทนต่อความยากลำบาก
- การมีความประพฤติทั่วไป ได้แก่ การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามระเบียบ
- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การดูแลช่วยเหลือตนเอง
- การเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อการเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ
- การทำงาน ได้แก่ ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กปฐมวัยจะมีวินัยในตนเองได้นั้นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก ตลอดจนสังคม สภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่
วินัยที่กล่าวพอจะสรุปได้ดังนี้
- การควบคุมตนเอง ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ตนเอง อดทนต่อความยากลำบาก
- การมีความประพฤติทั่วไป ได้แก่ การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามระเบียบ
- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การดูแลช่วยเหลือตนเอง
- การเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อการเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ
- การทำงาน ได้แก่ ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กปฐมวัยจะมีวินัยในตนเองได้นั้นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก ตลอดจนสังคม สภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่
2556/05/19
จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กเพื่ออะไร
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นเพราะเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการการเรียนวิทยาศาสตร์เมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นจึงสามารถสรุปจุดมุ่งหมายสำคัญได้ดังนี้
- พัฒนาเด็กให้มีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์คือ มองสิ่งที่พบทุกวัน พิจารณา คุณค่าแหล่งข้อมูล เป็นคนกว้าง และไม่เชื่อโชคลางของขลัง
- พัฒนาความสามารถุในการแก้ปัญหาโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการหาคำตอบโดยวิธีการต่างๆ
- ช่วยพัฒนาความสนใจและความชื่่นชมในวิทยาศาสตร์รอบตัวเด็กโดยแสดงการยอมรับในความสนใจของเด็ก กระตุ้นให้เด็กแสดงออกโดยการพูด ฟัง คิด ปฏิบัติ ทดลอง และพิจารณา
- ช่วยให้เด็กมีความรู้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรเลือกจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก กระบวนการและเนื้อหาควรมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งการพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุมีผล กระตุ่้นความอยากรู้อยากเห็น ตอบสนองสิ่งที่สงสัย เป็นต้น
- พัฒนาเด็กให้มีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์คือ มองสิ่งที่พบทุกวัน พิจารณา คุณค่าแหล่งข้อมูล เป็นคนกว้าง และไม่เชื่อโชคลางของขลัง
- พัฒนาความสามารถุในการแก้ปัญหาโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการหาคำตอบโดยวิธีการต่างๆ
- ช่วยพัฒนาความสนใจและความชื่่นชมในวิทยาศาสตร์รอบตัวเด็กโดยแสดงการยอมรับในความสนใจของเด็ก กระตุ้นให้เด็กแสดงออกโดยการพูด ฟัง คิด ปฏิบัติ ทดลอง และพิจารณา
- ช่วยให้เด็กมีความรู้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรเลือกจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก กระบวนการและเนื้อหาควรมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งการพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุมีผล กระตุ่้นความอยากรู้อยากเห็น ตอบสนองสิ่งที่สงสัย เป็นต้น
2556/05/06
ลักษณะกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญสำหรับเด็กเพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอวัยวะทุกส่วน ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านภาษาและด้านสังคม ลักษณะของกิจกรรมมีด่ังนี้
- การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เช่น การตบมือ เดิน วิ่ง ฯลฯ
- การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
- การเคลื่อนไหวเลียนแบบ เล่น สัตว์ ท่าทางคน ฯลฯ
- การทำท่ากายบริหารประกอบบทเพลง คำคล้องจอง
- การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ เช่น การแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว การทำท่าทางตามคำสั่ง การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
- การฝึกท่าทางเป็นผู้นำผู้ตาม
การเคลื่อนไหวของเด็กดังที่กล่าวนั้นเด็กสามารถทำได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งทำให้เด็กได้พัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
- การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เช่น การตบมือ เดิน วิ่ง ฯลฯ
- การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
- การเคลื่อนไหวเลียนแบบ เล่น สัตว์ ท่าทางคน ฯลฯ
- การทำท่ากายบริหารประกอบบทเพลง คำคล้องจอง
- การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ เช่น การแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว การทำท่าทางตามคำสั่ง การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
- การฝึกท่าทางเป็นผู้นำผู้ตาม
การเคลื่อนไหวของเด็กดังที่กล่าวนั้นเด็กสามารถทำได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งทำให้เด็กได้พัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)