2556/10/27

อะไรคือความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย

                      เด็กปฐมวัยจะมีความพร้อมด้านภาษานั้นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความพร้อมของเด็กประกอบด้วยสิ่งที่ผู้ใหญ่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจดังนี้
                      - ความพร้อมด้านร่างกาย ได้แก่ สุขภาพของเด็ก การใช้สายตา การฟัง การพูด ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา
                      - ความพร้อมด้านอารมณ์ จิตใจ ได้แก่่ การรู้จักควบคุมอารมณ์ การเล่นหรือทำงานเป็น
กลุ่ม เป็นต้น
                     - ความพร้อมด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความสนใจในการอ่าน การรู้จักฟังอย่างตั้งใจ การมีช่วงของความสนใจ เป็นต้น
                     - ความพร้อมด้านสติปัญญาหรือสมอง ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจคำสั่งง่ายๆ ความจำได้แม่นยำ เป็นต้น
                     - ความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาษาที่ได้รับจากทางบ้าน และประสบการณ์ทางสังคม
                     ความพร้อมดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย ผู้ใหญ่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเด็กจะได้มีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนต่อไป

2556/10/24

เกมการศึกษา:ความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย

                  เกมการศึกษาเป็นของเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นมีความสังเกต ช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ควรจะได้เห็น ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว เกมการศึกษาจะต่างจากการเล่นอย่างอื่นตรงที่ว่าแต่ละชุดจะมีวิธีการเล่นโดยเฉพาะ สามารถวางเล่นบนโต๊ะ ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าเล่นถูกต้องหรือไม่ได้ด้วยตนเอง สิ่งสำคัญของการเล่นเกมการศึกษาคือ
                - เป็นการพัฒนาการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
                - เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
                - ฝึกการใช้ความคิดในระหว่างการเล่น เช่น การใช้การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก เชื่่อมโยง การคิดอย่างมีเหตุผล  การแก้ปัญหา เป็นต้น
                - สร้างเสริมให้เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
                - ช่วยให้เด็กพัฒนาภาวะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม
                ดังนั้นควรจัดกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กปฐมวัยได้เล่นอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้ เป็นพื้นฐานการศึกษาและพัฒนาความพร้อมในทุกด้าน

2556/10/20

พฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับสำหรับเด็กปฐมวัย

          พฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับเป็นพฤติกรรมที่เด็กทำไปแล้วสร้างความเดือดร้อนหรือสร้างความไม่พอใจให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้แก่
          - การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เป็นสิ่งที่เด็กพูดเกี่ยวกับเรื่องตนเองมากกว่าเรื่องของผู้อื่น การทำให้ผู้อื่นโมโหหรืออับอาย ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
          - ความก้าวร้าว เป็นกิริยาที่ตอบสนองต่อการไม่สมหวัง จนแสดงความรุนแรงออกมาเป็นคำพูดหรือการใช้กำลังต่อสู้กัน
          - การทะเลาะวิวาท เป็นพฤติกรรมที่ีเกิดขึ้นเพราะเด็กยังขาดประสบการณ์ในการเล่นกับเพื่อนเมื่อเกิดการขัดใจกัน เช่น การแย่งของเล่นกัน การแย่งสิ่งของที่มีจำนวนจำกัด เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นและรู้จักการปรับตัวมากขึ้นการทะเลาะจะลดลง
          ดังนั้นผู้ใหญ่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับโดยการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมและคอยแนะนำให้เด็กมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับละเวันสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ

       

2556/10/17

เด็กปฐมวัยกับความต้องการทางสังคม

               เด็กช่วงปฐมวัยเริ่มเรียนรู้ในการเข้าสังคมและปรับตัวทางสังคม กับเพื่อนๆ และบุคคลอื่นที่อยู่นอกบ้าน ความต้องการทางสังคมของเด็กมีดังนี้
               - มีความต้องการที่จะเล่นกับเพื่อนที่เป็นกลุ่มเล็ก และกลุ่มย่อยๆ การเล่นเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างเล่นแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
               - มีการทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆแต่เป็นช่วงระยะสั้นๆ เด็กมักจะลืมง่าย
               - เด็กเริ่มมีความต้องการที่จะสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนในวัยเดียวกันและมีเพื่อนเพียง 1-2 คนและเป็นเพศเดียวกัน แต่เด็กมักมีสังคมที่ไม่แน่นอน สามารถเล่นกับเพื่อนส่วนใหญ่ในชั้นได้
               - เด็กชายและหญิงมีความสนใจคล้ายกันและยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาททางเพศ
               - เด็กมีความต้องการที่จะแสดงออก และสนุกสนานกับการเล่นละครซึ่งอาจจะแต่งขึ้นเอง
               - เด็กต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้ใหญ่ และกลัวคนแปลกหน้า
               ดังนั้นเด็กมีความต้องการทางสังคม ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งการเล่น การทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมที่เหมาะสมต่อไป

2556/10/16

ประโยชน์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน

          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาติเป็นการจัดกิจกรรมในเรื่องที่เกี่่ยวกับพืช สัตว์ มนุษย์ ดิน น้ำ อากาศ แสง เสียง เป็นต้น เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยการสังเกตและทำให้เด็กได้ประโยชน์ดังนี้
         - เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
         - เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
         - เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
         - เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเองและธรรมชาติ
         - เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
         - เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
         - เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
         - เด็กมีทักษะในการใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงาน
         - เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ
        การจัดกิจกรรมการเรียนรุ้วิทยาศาสตร์ดังกล่าวครูจะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการจัดประสบการณ์ทั้งการชี้แจงวัตถุประสงค์ เนื้อหาในการให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยการใช้ประสาทสัมผัส เป็นต้น

       

2556/10/10

องค์ประกอบของความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย

                ผู้ใหญ่สามารถสังเกตความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยได้จากพฤติกรรมต่างๆที่เด็กปฐมวัยแสดงออกได้ดังนี้
               - ความสามารถในการแยกสิ่งที่ได้ยิน ได้แก่ ความเข้าใจและความสามารถใช้ภาษาพูดได้ถูกต้อง แยกคำพูดที่แตกต่างกัน สามารถแยกถ้อยคำ และออกเสียงไดัถูกต้อง
               - ความสามารถทางสายตา ได้แก่ ความสามารถในการแยกคำที่คล้ายคลึงกันและมองเห็นความแตกต่างของคำ
               - ความสามารถทางการคิดและจำ ได้แก่ สามารถใช้เหตุผล เข้าใจเหตุผล รู้จักเชื่่อมโยงความคิดต่างๆ เข้าใจความหมายของคำและจำรูปร่างของคำได้
               - ความสนใจ ได้แก่ ความสามารถที่จะนั่งฟัง และใช้สายตาเคลื่อนไปตามสิ่งที่อ่าน มีสมาธิในการอ่าน และฟัง และทำตามคำสั่งได้
               ดังนั้นความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

2556/10/03

การเลือกนิทานให้เด็กปฐมวัย

                  นิทานเป็นสิ่งสำคัญที่่ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัย ดังนั้นนิทานที่นำมาเล่าหรืออ่านให้กับเด็กนั้นผู้ใหญ่จำเป็นที่จะต้องมีหลักและเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                  - สร้างความพอใจให้กับเด็ก
                  - เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก เช่น สัตว์ ครอบครัว หรือเรื่องที่เด็กจินตนาการได้
                  - เนื้อเรื่องง่ายๆ เน้นเหตุการณ์เดียวให้เด็กพอคาดคะเนเรื่องได้บ้าง
                  - การเดินเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็ว
                  - รูปเล่ม ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ตัวอักษรไม่ควรใช้อักษรประดิษฐ์
                  - ใช้ภาษาง่ายๆ ประโยคสั้นๆ การกล่าวคำซ้ำหรือมีสัมผัส
                  - ตัวละครน้อย มีลักษณะเด่นที่เด็กสามารถจำได้ง่าย
                  - ความยาวของเรื่องไม่เกิน 15 นาที
                สิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรคำนึงและจะต้องตระหนักเป็นอย่างมากเมื่อจะนำนิทานมาเล่าให้เด็กฟัง