2556/09/28

การจัดมุมประสบการณ์ในห้องเรียน

                  การจัดมุมประสบการณ์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามุมเล่นนั้นสามารถจัดให้กับเด็กปฐมวัยได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้อยู่ที่สภาพของห้องเรียน ข้อควรคำนึงสำหรับครูที่จะดำเนินการมีดังนี้
                  - มุมประสบการณ์ควรมีอย่างน้อย 4 มุม
                  - มีการผลัดเปลี่ยนสื่อของเล่นในมุมตามความสนใจของเด็ก
                  - เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดมุมเพื่อจูงใจให้เด็กอยากเข้าเล่นหรือการเป็นเจ้าของ
                  - กำหนดข้อตกลงร่วมกัน เช่น การจัดเก็บอุปกรณ์ การรอคอย  เป็นต้น
                  - จัดมุมสงบไว้ให้เด็กได้อยู่ตามลำพังบ้าง
                  - จัดพื้นที่แสดงผลงานของเด็กทุกคนที่เป็นปัจจุบัน
                                          ฯลฯ
                  การจัดมุมดังกล่าวเป็นลักษณะทางกายภาพซึ่งเป็นกระบวนการจัดการชั้นเรียนโดยการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

2556/09/15

รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                การจัดการเรียนรู้ววิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลองเพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถาม อภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลอง จุดประสงค์สำคัญคือการฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้มากกว่าการเน้นเนื้อหา รูปแบบการจัดการเรียนรู้พอจะกล่าวได้ดังนี้
               - การศึกษานอกสถานที่
               - การปฏิบัติการทดลอง
               - การสาธิต
               - การอภิปราย
               - การอธิบาย
               - การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
                     ฯลฯ
               การเรียนรู้ดังกล่่าวทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆได้ด้วยตนเอง และวางพื้นฐานในการเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

   

2556/09/09

คำแนะนำสำหรับครูในการวาดภาพด้วยสีเทียนของเด็กปฐมวัย

                 การให้เด็กวาดภาพด้วยสีเทียนนั้นควรเป็นสีเทียนขนาดใหญ่ เพราะทำให้เด็กจับได้สะดวกและยังแข็งไม่เปราะ หรือหักง่าย ทำให้เด็กมีการพัฒนาการใช้กล้ามเนื่้อมือ
                 กระดาษควรมีขนาดพอเหมาะ หรือครูสามารถเปลี่ยนแปลงใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ (ที่ไม่มีรูปภาพ) กระดาษกล่องหรือวัสดุทดแทนอย่างอื่นได้ และจัดวางว้สดุเหล่านี้ให้ใกล้ที่ที่เด็กจะทำเพื่อให้สะดวกในการหยิบได้
                สีเทียนที่เด็กใช้นั้น การจับสีเทียนก็เช่นเดียวกับการจับดินสอดำที่ใช้เขียนหน่ังสือ

ถ้ากระดาษที่ห่อหุ้มสีเทียนหลุดออกก็สามารถระบายสีด้วยด้านข้างได้ ถ้าสีหักหรือมีขนาดเล็กก็ไม่ควรใช้ต่อไป เพราะสีเทียนที่ม่ีขนาดเล็กมากทำให้เด็กเครียดและเหนื่อยง่าย

2556/09/03

ผลงานกิจกรรมสร้างสรรค์:การประเมิน

              การประเมินผลงานกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย สิ่งที่ควรคำนึงคือการใช้การสังเกตที่เป็นกระบวนการและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมผลงานของเด็ก ครูผู้สอนควรใช้การสังเกตความสามารถของเด็กในเรื่องที่สำคัญดังนี้
              - ภาพวาดของเด็กเหมาะสมกับวัยของเด็กไหม
              - ภาพหรือผลงานมีความแปลกใหม่กว่าเดิมหรือไม่ ซึ่่งเป็นการสังเกตความคิดสร้างสรรค์
              - การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก-ใหญ่ และประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา โดยการสังเกตการจับแท่งสี การใช้พู่กัน การปั้น ซึ่งแสดงถึงการบังคับการใช้มือ
              - การทำงานร่วมกับเพื่อน การแบ่งปัน การรอคอย หรือการแก้ปัญหาในการทำงาน
              สรุปได้ว่าผลงานที่เกิดจากกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จะต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ ครูต้องยอมรับความสามารถของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน

2556/09/02

การเล่น:พัฒนาด้านสติปัญญาเด็กปฐมวัย

                      การเล่นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและส่งเสริมการพัฒนาทางสติปัญญาให้กับเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างเหมาะสมมีประโยชน์ด้านสติปัญญาดังนี้
                      - ประสบการณ์การเล่นจะช่วยเพิ่มความรู้และเพิ่มพูนความสามารถให้เด็กฉลาด มีไหวพริบ รู้จักเหตุผล ฝึกการคิดและการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สามารถนำประสบการณ์ที่สะสมไว้มาใช้ในทางที่ถูกต้อง และเหมาะสม
                      - ทำให้สมองแข็งแรง เนื่องจากสมองต้องได้รับการหล่อเลี้ยงนอกเหนือจากอาหารแล้ว การเล่นมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
                      - การเล่นมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา การได้มีโอกาสฝึกพูด และได้รับประสบการณ์ทางด้านภาษาจากเพื่อนเล่น ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี
                      การเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากนอกเหนือจาการที่เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่เพียงอย่างเดียว