การมีวินัยในตนเองเป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและปฏิบัติตนอย่างมีเหตุผล เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องพฤติกรรมที่สามารถฝึกได้มีดังนี้
- หยุดเล่นหรือทำกิจกรรมทันทีที่ได้ยินสัญญาณหมดเวลา
- ทำกิจกรรมเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
- ทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตามกำหนดเวลา และข้อตกลง
- เก็บสื่อ อุปกรณ์ ของใช้ทันทีเมื่อได้ยินสัญญาณหมดเวลา
- อดทนอดกลั้นจนกว่าจะถึงโอกาสของตนเอง
- ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน
- เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
- ช่วยเหลือ แบ่งปันสื่อ อุปกรณ์ของใช้โดยไม่แย่งกัน
- ดูแลรักษาของใช้ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
พฤติกรรมดังกล่าวเป็นตัวอย่างซึ่งครูปฐมวัยสามารถที่จะฝึกให้เด็กมีวินัยในตนเองได้อย่างมีคุณภาพ
2557/05/25
2557/05/11
กิจกรรมที่ควรทำต่อเนื่องจากการเล่านิทาน
การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับกิจกรรมที่ควรทำต่อเนื่องจากการเล่านิทานนั้น ผู้ใหญ่ควรเลือกทำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเด็กและสถาน
การณ์ต่างๆดังนี้
- การตั้งชื่อเรื่องนิทานที่ฟัง
- ถาม-ตอบจากเรื่องที่ฟัง
- อภิปรายเกี่ยวกับทบาทของตัวละครในนิทาน
- แสดงบทบาทสมมติตามเรื่องราวของนิทานที่ได้ฟัง
- ให้เด็กแต่งนิทานต่อเนื่องจากเรื่องเดิมที่ฟัง
- วาดภาพ ระบายสี
- ปั้น ฉีก ปะ ตัวละครในนิทาน
- วาดภาพตอนที่ประทับใจที่สุด
ฉะนั้นครูและนักเรียนควรร่วมกันเลือกทำกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องจากการเล่านิทาน
สำหรับกิจกรรมที่ควรทำต่อเนื่องจากการเล่านิทานนั้น ผู้ใหญ่ควรเลือกทำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเด็กและสถาน
การณ์ต่างๆดังนี้
- การตั้งชื่อเรื่องนิทานที่ฟัง
- ถาม-ตอบจากเรื่องที่ฟัง
- อภิปรายเกี่ยวกับทบาทของตัวละครในนิทาน
- แสดงบทบาทสมมติตามเรื่องราวของนิทานที่ได้ฟัง
- ให้เด็กแต่งนิทานต่อเนื่องจากเรื่องเดิมที่ฟัง
- วาดภาพ ระบายสี
- ปั้น ฉีก ปะ ตัวละครในนิทาน
- วาดภาพตอนที่ประทับใจที่สุด
ฉะนั้นครูและนักเรียนควรร่วมกันเลือกทำกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องจากการเล่านิทาน
2557/05/08
รูปแบบการเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัย
ผู้ใหญ่สามารถเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างหลากหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและปัจจัยต่างๆที่เอื้ออำนวยให้กับผู้เล่า ซึ่งนิทานมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก รูปแบบของการเล่านิทานมีดังนี้
- การอ่านจากหนังสือนิทาน
- การเล่าด้วยปากเปล่าโดยการเล่าที่อาศัยคำพูดและน้ำเสียง ไม่ใช้สื่อประกอบการเล่าซึ่งต้องอาศัยศิลปะในการเล่าของผู้เล่าเป็นอย่างมาก
- การเล่าประกอบภาพ เช่น ภาพโปสเตอร์ ภาพจากหนังสือ ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
- การเล่าประกอบท่าทาง ท่าทางที่ใช้ประกอบการเล่านิทานอาจเป็นท่าทางของผู้เล่า ท่าทางแสดงร่วมของเด็ก ได้แก่การทำหน้าตา การแสดงท่าทางทางกายหรือการเล่นนิ้วมือ
- การเล่าประกอบเสียง เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรี เพื่อสร้างบรรยากาศให้ตี่นเต้นและติดตาม
- การเล่าประกอบอุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้เล่าทำขึ้นเอง เช่่น หน้ากาก หุ่นมือ หุ่นชัก หุ่นเชิด อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เด็กมีความสุขสนุกสนานและเพลิดเพลิน
รูปแบบการเ่ล่านิทานที่กล่าวนี้ผู้เล่าสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและตามความต้องการที่จะให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด
- การอ่านจากหนังสือนิทาน
- การเล่าด้วยปากเปล่าโดยการเล่าที่อาศัยคำพูดและน้ำเสียง ไม่ใช้สื่อประกอบการเล่าซึ่งต้องอาศัยศิลปะในการเล่าของผู้เล่าเป็นอย่างมาก
- การเล่าประกอบภาพ เช่น ภาพโปสเตอร์ ภาพจากหนังสือ ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
- การเล่าประกอบท่าทาง ท่าทางที่ใช้ประกอบการเล่านิทานอาจเป็นท่าทางของผู้เล่า ท่าทางแสดงร่วมของเด็ก ได้แก่การทำหน้าตา การแสดงท่าทางทางกายหรือการเล่นนิ้วมือ
- การเล่าประกอบเสียง เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรี เพื่อสร้างบรรยากาศให้ตี่นเต้นและติดตาม
- การเล่าประกอบอุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้เล่าทำขึ้นเอง เช่่น หน้ากาก หุ่นมือ หุ่นชัก หุ่นเชิด อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เด็กมีความสุขสนุกสนานและเพลิดเพลิน
รูปแบบการเ่ล่านิทานที่กล่าวนี้ผู้เล่าสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและตามความต้องการที่จะให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด
2557/05/06
การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมภาษาให้กับเด็กปฐมวัย
การพัฒนาการทางภาษานั้นเป็นการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่่อสารกัน ซึ่่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในช่วงปฐมวัย ผู้ใหญ่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนตามปัจจัยที่มีอยู่ในเด็กแต่ละคน แนวทางการส่งเสริมภาษาในเด็กมีดังนี้
- จัดเตรียมหรือหาสื่อเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน
- ด้านการฟังควรใช้สื่อที่มีเสียง การเล่านิทานคำคล้องจอง เพลงกล่อมเด็ก การเล่นตามคำสั่ง
- ด้านการพูดควรเป็นสื่อที่เด็กเคยมีประสบการณ์มาก่อนโดยนำมาจัดในรูปของการสนทนา การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การแสดงละคร
- ด้านการอ่านควรเป็นสื่อที่เป็นภาพ หนังสือภาพ ตัวอักษรที่ทำด้วยกระดาษแข็ง พลาสติก หรือไม้
- ด้านการเขียนควรเป็นสื่อที่เป็นดินหรือแป้งสำหรับปั้น การประดิษฐ์ การวาดภาพ การระบายสี
การฉีก การปะ
นอกจากการจัดประสบการณ์ให้เด็กด้วยการใช้สื่อดังกล่าวแล้วการพัฒนาความสามารถด้านภาษายังต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กอีกด้วย
- จัดเตรียมหรือหาสื่อเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน
- ด้านการฟังควรใช้สื่อที่มีเสียง การเล่านิทานคำคล้องจอง เพลงกล่อมเด็ก การเล่นตามคำสั่ง
- ด้านการพูดควรเป็นสื่อที่เด็กเคยมีประสบการณ์มาก่อนโดยนำมาจัดในรูปของการสนทนา การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การแสดงละคร
- ด้านการอ่านควรเป็นสื่อที่เป็นภาพ หนังสือภาพ ตัวอักษรที่ทำด้วยกระดาษแข็ง พลาสติก หรือไม้
- ด้านการเขียนควรเป็นสื่อที่เป็นดินหรือแป้งสำหรับปั้น การประดิษฐ์ การวาดภาพ การระบายสี
การฉีก การปะ
นอกจากการจัดประสบการณ์ให้เด็กด้วยการใช้สื่อดังกล่าวแล้วการพัฒนาความสามารถด้านภาษายังต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)