ผู้ใหญ่หรือครูของเด็กปฐมวัยมักใช้คำคล้องจองในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และเพื่อให้เด็กได้เกิดประสบการณ์อย่างหลากหลายด้วยคำคล้องจองนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
- ให้เด็กได้เรียนรู้การใช้วรรคตอน ก่อนที่จะอ่านหนังสือซึ่งเป็นการฝึกฝนอย่างเป็นธรรมชาติ
- เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆให้กับเด็ก
- เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มอย่างไม่รู้ตัว
- สนองความต้องการทางธรรมชาติในเรื่องของจังหวะ เด็กๆจะมีความสนใจและมีความสุขที่ได้ฟังเสียงหรือท่าทางที่เป็นจังหวะ
- พัฒนาการทางภาษาโดยเฉพาะพัฒนาการด้านการฟัง และการพูด
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก
ดังนั้นการใช้คำคล้องจองจึงมีประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่เป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการพัฒนาเด็กได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ จิตใจ สังคม ร่่างกายหรือด้านสติปัญญา
2555/10/29
2555/10/18
การประเมินความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย
วิธีการประเมินความพร้อมทางภาษาของเด็กเล็กๆที่ทำให้เห็นพัฒนาการของเด็กนั้นคือการสังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็กในสถานการณ์ต่างๆ หรือการที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมขณะทำงานหรือในเวลาที่เด็กเล่น การสังเกตที่แม่นยำคือการสังเกตพฤติกรรมเด็กโดยเด็กไม่รู้ตัว อย่างการสังเกตการออกเสียงพูด ครูควรสังเกตว่าเด็กออกเสียงพูดได้ชัดเจนหรือไม่ เด็กใช้คำศัพท์ต่างๆได้มากน้อยเพียงใด การให้เด็กได้ดูภาพคำศัพท์แล้วให้เด็กพูดคำศัพท์อาจจะเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ เครื่องใช้สอย อุุปกรณ์การเรียน เป็นต้น การใช้ประโยคโต้ตอบกับครู หรือการให้ดูภาพแล้วให้เด็กพูดประโยคเล่าเป็นเรื่องราวตามภาพที่เห็น การใช้ประโยคในการอธิบายเรื่องราวเกี่่่่่ยวกับตนเอง หรือเล่าเรื่องการอธิบายสิ่งที่เด็กได้กระทำแล้วสื่อสารให้บุคคลต่างๆได้เข้าใจ ส่วนการประเมินด้านการฟังก็เช่นเดียวกันคือการใช้การสังเกต โดยพูดกับเด็กแล้วให้เด็กปฏิบัติตามสิ่งที่ครูพูด อาจเป็นประโยคคำสั่ง ประโยคคำถามต่างๆ ถ้าเด็กเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องแสดงว่าเด็กมีความสามารถในการฟัง เช่น ให้เด็กไปหยิบสิ่งของเครื่องใช้ การให้เด็กฟังเสียงเพลงแล้วปฏิบัติตามเนื้อเพลงที่ได้ยิน เป็นต้น ถ้าเด็กสามารถสื่อสารด้านการฟังพูดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมดังกล่าวก็ถือว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาซึ่งต้องอาศัยครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ
2555/10/15
ความมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการเรียนคณิตศาสตร์เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่องเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยคือ
- เพี่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักศัพท์ และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การวัดความยาวของสิ่งของ
การชั่งน้ำหนักของวัตถุ โดยส่งเสริมให้เด็กได้ดำเนินการหาคำตอบด้วยตนเอง
- เพื่อฝึกฝนเด็กในเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การวัด การจับคู่
การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ เป็นต้น
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
จึงกล่าวได้ว่าการการพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็กสามารถทำได้ ถ้าครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจ และจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับความสามารถของเด็กซึ่งมีความแตกต่างกับในแต่ละคน
- เพี่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักศัพท์ และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การวัดความยาวของสิ่งของ
การชั่งน้ำหนักของวัตถุ โดยส่งเสริมให้เด็กได้ดำเนินการหาคำตอบด้วยตนเอง
- เพื่อฝึกฝนเด็กในเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การวัด การจับคู่
การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ เป็นต้น
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
จึงกล่าวได้ว่าการการพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็กสามารถทำได้ ถ้าครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจ และจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับความสามารถของเด็กซึ่งมีความแตกต่างกับในแต่ละคน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)