คำถามเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้คิดค้นและขยายความคิดนั้นเป็นคำถามที่ซับซ้อนฝึกให้เด็กคิดในหลายลักษณะ เป็นคำถามที่ให้เด็กได้เปรียบเทียบ จำแนก ให้เด็กได้สรุป ได้ประเมินหรือตัดสินใจเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเช่น
- ทำไมนักเรียนจึงต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย(อธิบาย)
- ข้าวสารกับข้าวเหนียวต่างกันอย่างไร(เปรียบเทียบ)
- สิ่งของในภาพนี้มีอะไรบ้างที่รับประทานได้(จำแนก)
- สิ่งของรอบตัวอะไรบ้างในห้องเรียนของเราที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมให้บอกมา 2 อย่าง(จำแนก)
- ถ้าเชือกสีแดงยาวกว่าเชือกสีเขียว และเชือกสีเขียวยาวกว่าเชือกสีเหลือง เชือกสีไหนยาวที่สุด
(สรุป)
- นักเรียนจะใช้ดินสอสีแดงหรือสีเขียวระบายสีภาพนี้ (ตัดสินใจเลือกเอาอย่างใดอย่าง(ตัดสินใจเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง)
ดังนั้นครูที่สอนปฐมวัย จึงควรฝึกทักษะในเรื่องของการตั้งคำถามประเภทที่เด็กจะต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนในการหาคำตอบ
2557/09/22
2557/09/18
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติให้กับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทางการพูด การแสดงท่าทางตามความคิดของเด็กอย่างอิสระในสถานการณ์หนึ่ง ไม่มีการซ้อมล่วงหน้า ใช้สื่ออุปกรณ์เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น การแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่จะเรียน จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้เพื่อ
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- ให้ได้เรียนรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
- ช่วยให้ครูรู้ถึงความต้องการของเด็ก
- ให้เด็กได้รู้จักคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
- ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เพิ่มพูนทักษะทางภาษา
- เด็กมีความเพลิดเพลิน และสนุกสนาน
ดังนั้น การจัดกิจกรรมบทบาทสมมติเด็กจะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก ผู้ใหญ่จะต้องคอยดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รับการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- ให้ได้เรียนรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
- ช่วยให้ครูรู้ถึงความต้องการของเด็ก
- ให้เด็กได้รู้จักคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
- ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เพิ่มพูนทักษะทางภาษา
- เด็กมีความเพลิดเพลิน และสนุกสนาน
ดังนั้น การจัดกิจกรรมบทบาทสมมติเด็กจะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก ผู้ใหญ่จะต้องคอยดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รับการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
2557/09/05
วิธีง่ายๆในการปลูกฝังความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก และจำเป็นที่ผู้ใหญ่ควรร่วมมือกันส่งเสริมสนับสนุนให้มีขึ้นให้ได้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่จากแหล่งเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็กอย่างหลากหลาย และผู้ใหญ่จะต้องระลึกเสมอว่าการให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆจะ
ต้องส่งเสริมให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
- ให้เวลากับเด็ก
- ยอมรับความคิดของเด็ก แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก
- ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เป็นกระบวนการผลิตมากกว่าผลผลิต
- จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กได้ค้นหาและเล่นอย่างเหมาะสม
- พยายามฝึกให้เด้กได้คิดแก้ปัญหาต่างๆโดยเริ่มจากเหตุการณ์ที่่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
- สิ่งที่เด็กทำไม่มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว
สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ง่ายแต่เวลานำสู่การปฏิบัติแล้วค่อยข้างจะยากจึงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูจะช่วยกันทำให้เกิดได้อย่างจริงจังต่อไป
ต้องส่งเสริมให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
- ให้เวลากับเด็ก
- ยอมรับความคิดของเด็ก แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก
- ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เป็นกระบวนการผลิตมากกว่าผลผลิต
- จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กได้ค้นหาและเล่นอย่างเหมาะสม
- พยายามฝึกให้เด้กได้คิดแก้ปัญหาต่างๆโดยเริ่มจากเหตุการณ์ที่่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
- สิ่งที่เด็กทำไม่มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว
สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ง่ายแต่เวลานำสู่การปฏิบัติแล้วค่อยข้างจะยากจึงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูจะช่วยกันทำให้เกิดได้อย่างจริงจังต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)