เด็กเล็กๆ ถ้าจะทำให้เขารักการอ่านนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มตั้งแต่บ้านโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง คนใกล้ชิด
เมื่อเด็กมาโรงเรียนครูจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม พอเหมาะกับความพร้อมและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ ตอนแรกของการให้เด็กรักการอ่านนั้น ควรเริ่มต้นจาการอ่านหรือเล่าเรื่องให้เด็กได้ฟังก่อน เด็กสนใจการอ่านจากการฟังเรื่องที่สนใจ น่าติดตาม ตื่นเต้น มหัศจรรย์ และเรื่องที่ใช้จินตนาการ ดังนั้นหนังสือนิทานจึงเป็นสื่อสำคัญที่ทำให้เด็กเกิดความรักในการอ่าน เมื่อให้เด็กฟังแล้ว ต่อไปทำให้เด็กมีความอยากอ่าน ในเด็กเล็ก การอ่านของเขาคือ การอ่านภาพ การอ่านจากการจำเรื่องได้จากผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง นอกจากนั้นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน มุมหนังสือในห้องเป็นมุมซึ่งขาดไม่ได้ เมื่อมีมุมหนังสือแล้ว ครูจำเป็นต้องมีวิธีการ และเทคนิคการจูงใจให้เด็กเข้ามุมหนังสือ เมื่อเด็กประทับใจแล้วเด็กก็จะยืมหนังสือกลับบ้าน
ในที่สุด เพื่อเอาไปให้พ่อแม่ ผู้ปกครองอ่านให้ฟังต่อไป จนเกิดเป็นพฤติกรรมรักการอ่านเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
2552/12/30
2552/12/29
การเล่นพัฒาการคิด
พัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ ไม่ว่าครู พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อช่วยกันพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ เมื่อเข้าใจพัฒนาการเด็กแล้ว การเล่นในเด็กถือเป็นการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและทำให้เด็กได้พัฒนาการ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการคิด เช่น
1. การเล่นบทบาทสมมุติ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน การเล่นขายของ เครื่องแต่งกายของคนอาชีพต่างๆ บ้านตุ๊กตา รถยนต์ของเล่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้คิดอย่างมีจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ได้คิดอย่างอิสระ
2. การเล่นเกมการศึกษา ฝึกให้เด็กได้รู้ค่าของจำนวน สามารถจัดประเภท จำแนก จัดหมวดหมู่
มีความสามารถในการสังเกต เปรียบเทียบ
3. การเล่นไม้บล็อก ฝึกการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การสังเกต การแก้ปัญหา
4. การเล่นเลียนแบบการกระทำและเสียงสัตว์ต่างๆ ส่งเสริมความคิดด้านการเชื่อมโยง จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
5. การเล่นอ่านหนังสือ พัฒนาทักษะทางภาษา ความคิดด้านจินตนาการ
ดังนั้นการเล่นของเด็กปฐมวัยส่งผลต่อการพัฒนาการคิดของเด็ก เราจึงควรส่งเสริมและสนับสนุน คอยดูแลจัดการสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก
1. การเล่นบทบาทสมมุติ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน การเล่นขายของ เครื่องแต่งกายของคนอาชีพต่างๆ บ้านตุ๊กตา รถยนต์ของเล่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้คิดอย่างมีจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ได้คิดอย่างอิสระ
2. การเล่นเกมการศึกษา ฝึกให้เด็กได้รู้ค่าของจำนวน สามารถจัดประเภท จำแนก จัดหมวดหมู่
มีความสามารถในการสังเกต เปรียบเทียบ
3. การเล่นไม้บล็อก ฝึกการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การสังเกต การแก้ปัญหา
4. การเล่นเลียนแบบการกระทำและเสียงสัตว์ต่างๆ ส่งเสริมความคิดด้านการเชื่อมโยง จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
5. การเล่นอ่านหนังสือ พัฒนาทักษะทางภาษา ความคิดด้านจินตนาการ
ดังนั้นการเล่นของเด็กปฐมวัยส่งผลต่อการพัฒนาการคิดของเด็ก เราจึงควรส่งเสริมและสนับสนุน คอยดูแลจัดการสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก
นิทาน: คุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กปฐมวัย
การเล่านิทาน หรือการอ่านนิทานให้กับเด็กเล็กฟังมีประโยชน์ และให้คุณค่ามหาศาลต่อเด็กเป็นอย่างมาก เด็กเล็กชอบฟังนิทานถึงแม้นิทานนั้นจะเป็นเรื่องเก่าก็ตาม เด็กทุกคนชอบฟังนิทาน เขาจะมีความสุข และมีความเพลิดเพลินเป็นประการแรกในการฟังนิทานที่ผู้ใหญ่เล่า ที่เด็กชอบนิทานเพราะ
นิทานมีลักษณะดังนี้
1. นิทานสนองจินตนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ คนหายตัวได้ มีเทวดา
นางฟ้า
2. นิทานสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เช่น ความรู้สึกตื่นเต้นในนิทาน ความรู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ขัน ความเพลิดเพลิน ในขณะฟังนิทาน และในตอนจบของเรื่อง
3. ตัวละครในนิทานมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น พระเอกทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป
4. นิทานมีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา สามารถตอบคำถามของเด็กได้ทันที ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และเป็นอย่างไร ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กที่อยากรู้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้น และผลเป็นอย่างไร
5.นิทานมีการดำเนินเรื่องที่มีความยุติธรรม ผู้ทำดีได้รับผลดี ส่วนทำไม่ดีได้รับผลไม่ดีตามผลการกระทำ
ดังนั้นนิทานจึงเป็นสื่อที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย
นิทานมีลักษณะดังนี้
1. นิทานสนองจินตนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ คนหายตัวได้ มีเทวดา
นางฟ้า
2. นิทานสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เช่น ความรู้สึกตื่นเต้นในนิทาน ความรู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ขัน ความเพลิดเพลิน ในขณะฟังนิทาน และในตอนจบของเรื่อง
3. ตัวละครในนิทานมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น พระเอกทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป
4. นิทานมีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา สามารถตอบคำถามของเด็กได้ทันที ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และเป็นอย่างไร ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กที่อยากรู้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้น และผลเป็นอย่างไร
5.นิทานมีการดำเนินเรื่องที่มีความยุติธรรม ผู้ทำดีได้รับผลดี ส่วนทำไม่ดีได้รับผลไม่ดีตามผลการกระทำ
ดังนั้นนิทานจึงเป็นสื่อที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย
2552/12/28
การเรียนรู้ภาษาในเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเล็กๆ ไม่ใช่การฝึกภาษาให้เด็กโดยการให้เด็กได้ใช้ปากแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ภาษาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสมอง การเรียนรู้ภาษาเป็นกระบวนการรับและประมวลข้อมูลของสมอง ความเข้าใจทางภาษาและการแสดงออกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมองเป็นหลัก และเกิดขึ้นเอง ซึ่งอาจใช้เวลากว่าจะแสดงออกในแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กทุกคนมีความแตกต่างกันในการเรียนรู้ภาษา การสอนให้เด็กทุกคนอ่าน เขียน ฟัง พูด พร้อมกันทั้งชั้นถือได้ว่าขัดกับความเป็นจริงและธรรมชาติของการสอนภาษา เพราะเด็กแต่ละคนเกิดมาแตกต่างกัน มีความพร้อมที่แตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ธรรมชาติของการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ฯลฯ แม้เด็กจะอ่านออกเขียนได้ช้ากว่าที่เราคิดไว้ แต่เมื่อเด็กมีความพร้อมแล้ว เขาอาจจะเร็วกว่าคนที่ก้าวไปก่อนก็ได้ ดั้งนั้นการสอนภาษาให้กับเด็ก ผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีความรู้และเข้าใจสิ่งที่เป็นปัจจัยต่อการสอนภาษา กิจกรรมการอ่านให้ฟัง การเล่าให้ฟัง สื่อเรื่องราวด้วยรูปแทนการอธิบาย ใช้หนังสือที่มีการใช้ภาษาที่ดี จึงเป็นสิ่งที่เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ คำ ความหมายของคำ และออกเสียงคำ เมื่อสามารถพูดหรือเขียนได้ ในที่สุดเด็กก็จะสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างดีในที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)