2556/07/31

การพับ ฉีก ตัด ปะ ของเด็กปฐมวัย

           การฉีก ตัด ปะ คือกิจกรรมการฉีก ตัดกระดาษสีหรือวัสดุทดแทน ทากาวแล้วนำไปปะติดบนกระดาษให้เป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ สำหรับการทำกิจกรรมตัดกระดาษด้วยกรรไกรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กๆให้มีสมาธิ ฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ และฝึกการใช้มือ ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
           การใช้กรรไกรนั้น เด็กที่ไม่เคยใช้กรรไกรจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้กรรไกรก่อน เรียนรู้วิธีการจับกรรไกร และการบังคับกรรไกร 2 ขั้นตอนคือการเปิดขากรรไกรให้กว้างแล้วปิดลง ซึ่งครูหรือผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องช่วยเด็กจับมุมกระดาษไว้ในระยะแรกๆก่อน แล้วจึงค่อยๆปล่อยให้เด็กทำเอง เด็กที่ไม่เคยใช้กรรไกรมาก่อนจะเกิดความสนุกในการทดลองกับการใช้กรรไกร จะสังเกตเห็นว่าเด็กจะเริ่มตัดจากมุมกระดาษก่อนแล้วจึงตัดเป็นรูปต่างๆเมื่อเด็กมีความชำนาญมากขึ้น กิจกรรมดังกล่าวนี้จึงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญมากสำหรับเด็กปฐมวัย

2556/07/24

พ่อแม่กับการส่งเสริมการฟังให้กับลูก

                        ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของเด็กปฐมวัยมีส่วนสำคัญยิ่งต่อเด็กเป็นอย่างมากในการส่งเสริมทักษะด้านการฟัง กิจกรรมที่ควรฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
                        - เล่าเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันหรือนิทานให้เด็กฟัง
                        - ฟังเด็กพูดด้วยความตั้งใจ
                        - ให้เด็กฟังรายการวิทยุที่ให้ความบันเทิงและความรู้ และจัดหาเทปเสียงหรือซีดีเพลง
                        - เลือกรายการโทรทัศน์ที่ดีมีคุณภาพพร้อมทั้งดูไปพร้อมกันและอธิบายสิ่งที่เด็กไม่
เข้าใจ
                       - หาเวลาพูดคุยกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กได้ฟังและซักถาม
                       - อ่านหนังสือให้เด็กได้ฟังบ่อยๆ ประมาณวันละ 7-8 นาที
                       พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังซึ่งเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กปฐมวัย

2556/07/16

การจัดเกมให้กับเด็กปฐมวัย

                                 

           เกมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกฎเกณฑ์ กติกา ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้และทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ฉะนั้นจึงควรเลือกเกมที่มีลักษณะคือ
          - เหมาะสมกับเพศ วัย และความสามารถของผู้เล่น
          - เป็นเกมที่ตรงตามจุดมุ่งหมายของการเล่น
          - ผู้เล่นสามารถมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด
          - สามารถดัดแปลงได้ตามความสนใจและสถานการณ์
          - มีกฎกติกาไม่มากเกินไป
          - มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
          - ปลูกฝังคุณธรรมและสุขนิสัยที่ดี
          - เป็นเกมที่มีความปลอดภัย
         การจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยนั้นจึงเป็นสิ่งที่ีผู้ใหญ่โดยเฉพาะครูต้องคำนึงถึงให้มากดังที่กล่าวรวมทั้งเรื่องพัฒนาการเด็กและจิตวิทยาด้วย

2556/07/14

การจัดการเรียนรู้ด้านการพูดให้กับเด็กปฐมวัย

                            การจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านการพูดมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทางภาษาให้กับเด็กเล็กๆ เพราะการพูดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีความหมายและตรงตามความต้องการของเด็ก ผู้ใหญ่จึงควรให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆด้งนี้
                            - คำศัพท์ที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวันหรือที่เด็กเกี่ยวข้องหรือที่เด็กสนใจ
                            - การใช้คำพูดที่เป็นที่ยอมรับ และคำสุภาพ
                            - การเรียงลำดับคำต่างๆเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
                            - การใช้คำพูดให้เหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการสื่อสารด้วย
                            - ความมั่นใจในการพูดกับผู้อื่น
                            - การยอมรับความคิดเห็นที่ผู้อื่นแสดงออกด้วยการพูด
                           ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรคอยส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว และคอยฝึกฝนให้เด็กได้มีประสบการณ์ในการพูดเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางภาษาต่อไป

2556/07/10

กิจกรรมการส่งเสริมทักษะการฟังพูดสำหรับเด็กปฐมวัย

                           โดยปกติแล้วครูปฐมวัยควรจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาให้ครบทั้ง การฟัง พูด อ่านและเขียน แต่ก่่อนอื่นควรพัฒนาด้านการฟังและการพูดด้วยกิจกรรมหรือการใช้สื่อต่างๆดังนี้
                            - การฟังและการพูดจากนิทาน การเชิดหุ่น
                            - การสื่่อสารกับเพื่อนและครู  บุคคลต่างๆ
                            - การพูดด้วยบทร้อยกรอง คำคล้องจอง
                            - การฝึกการแยกเสียงต่่างๆ เช่น เสียงสัตว์ เสียงวัสดุ ฯลฯ
                            - การเล่นเกมปริศนาคำทาย เกมการปฏิบัติตามคำสั้ง
                            - การเล่าเรื่อง การพูดคุยจากการไปศึกษานอกสถานที่ การซักถามในเรื่องที่เด็กสงสัย
                            - การฟังเพลง ดนตรีและจังหวะ
                            การฝึกหรือพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมดังกล่าวทำให้เด็กมีพัฒนาการฟังพูด ก่อนที่จะพัฒนาให้เด็กเกิดความอยากที่จะอ่านและเขียนต่อไป
                     

2556/07/07

กิจกรรมและสภาพที่ส่งเสริมความพร้อมในการเขียน

         การส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในการเขียนเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการด้วย ไม่ใช่เอาแบบฝึกมาให้เด็กได้ลงมือเขียนทันที
กิจกรรมหรือสภาพที่ควรทำมีดังนี้
         - ให้เด็กเลือกคำที่สนใจจากกล่องขนม กระป๋องสินค้า ฯลฯ แล้วลอกคำนั้นลงในแถบกระดาษที่เสียบไว้ในกระเป๋าผนัง
         - ครูเขียนคำแต่ละคำ ขณะเดียวกันออกเสียงสะกดตัวพยัญชนะในคำที่เขียน
         - ครูเขียนคำต่างๆ เสียบในกระเป๋าผนัง
         - ครูให้เด็กหาคำที่มีตัวอักษรเหมือนคำที่ครูเขียน แล้วให้เด็กเขียนคำนั้นเสียบไว้ที่กระเป๋าผนัง
         - เล่นตบมือเป็นจังหวะตามจำนวนพยางค์ในชื่อ
         - เปรียบเทียบชื่อเพื่อนที่มีตัวอักษรเหมือนกันกับตนเอง
         - ให้เด็กทำหนังสือภาพ โดยมีการเขียนคำบรรยายซึ่งเด็กจะพยายามสะกดคำต่างๆด้วยตนเอง
         - ให้เด็กทุกคนลงลายมือชื่อหรือเซ็นชื่อทุกเช้ามาถึงห้องเรียน
         - จัดมุมเขียนในห้องเรียนพร้อมมีอุปกรณ์และวัสดุที่พร้อมให้เด็กเขียน
         กิจกรรมและสภาพดังกล่าวจะเป็นการเตรียมและส่งเสริมให้เด็กได้มีความพร้อมในการเขียนก่อนที่จะเขียนอย่างเป็นทางการและมีความสามารถในการเขียนต่อไป