การสร้างความงามในตัวเด็กนั้นต้องช่วยกันสร้างตั้งแต่เล็กๆ ความงามนั้นเป็นสุนทรียศาสตร์
ส่วนใหญ่เกิดจากงานศิลปะ ดนตรี นิทาน ซึ่งทำให้เด็กมีชีวิตที่มีความสุขทั้งส่วนตนและการอยู่ร่วมกันสังคมชีวิตมีความสวยงาม ปัจจุบันนี้เด็กจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นความเก่ง ความฉลาด ความรู้
ทำให้เด็ก ขาดความสมดุลของชีวิต ห่างจากชีวิตที่สัมผัสกับธรรมชาติ บางท่านกล่าวว่าเด็กใน
ปัจจุบันมีแต่ความรู้แต่ไม่มีความรู้สึก เป็นสิ่งที่น่าห่วงมากสำหรับเด็ก เพราะต่อไปเด็กต้องโตเป็น
ผู้ใหญ่ ดังนั้นเราจึงจะต้องร่วมกันสร้างความงามให้เกิดในหัวใจเด็ก สิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับการสร้าง
ความงามนั้นคือความรัก นอกจากดนตรี นิทานหรือศิลปะ ความรักนั้นต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เด็ก มากที่สุดคือพ่อแม่นอกจากพ่อแม่แล้วคือครูเมื่อเด็กมาโรงเรียน พ่อแม่ ครูจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ให้ความรักแก่เด็ก ความรักเริ่มด้วยการให้เวลาแก่เด็ก การให้ความรัก และเวลาสำหรับเด็ก จะทำให้
เด็กมีความรู้สึกอบอุ่น สิ่งที่กล่าวเป็นการสร้างรากฐานชีวิตมนุษย์คือการมีจิตใจที่ดีงาม เมื่อเด็ก
มีจิตใจที่ดีงาม คุณธรรมต่างๆก็สามารถปลูกฝังได้ทุกอย่าง
2553/05/30
การเล่านิทานให้เด็กฟัง
การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกิจกรรมหนึ่งที่นิยมจัดให้กับเด็ก โดยมีจุดประสงค์หลาย
อย่าง เช่น การต้องการปลูกฝังคุณธรรม การสร้างความเพลิดเพลิน การพัฒนาการทางภาษา
เป็นต้น จัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งเป็นกิจกรรม
ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่ม
ใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น การอภิปราย
การสาธิต การทดลอง เล่นบทบาทสมมติ ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น การเล่านิทาน
ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หลังจากการเล่านิทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้ตอบคำถามโดยใช้ความคิดของตนเอง สิ่งทีสำคัญครูจะ
ต้องใจเย็น เพื่อให้เด็กได้คิดคำตอบ ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงคำตอบที่ ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือมีคำตอบ
ให้เด็กเลือก กิจกรรมนี้นอกจากเหมาะสมที่ครูใช้แล้ว ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทำกิจกรรม
นี้ที่บ้านด้วย
อย่าง เช่น การต้องการปลูกฝังคุณธรรม การสร้างความเพลิดเพลิน การพัฒนาการทางภาษา
เป็นต้น จัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งเป็นกิจกรรม
ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่ม
ใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น การอภิปราย
การสาธิต การทดลอง เล่นบทบาทสมมติ ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น การเล่านิทาน
ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หลังจากการเล่านิทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้ตอบคำถามโดยใช้ความคิดของตนเอง สิ่งทีสำคัญครูจะ
ต้องใจเย็น เพื่อให้เด็กได้คิดคำตอบ ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงคำตอบที่ ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือมีคำตอบ
ให้เด็กเลือก กิจกรรมนี้นอกจากเหมาะสมที่ครูใช้แล้ว ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทำกิจกรรม
นี้ที่บ้านด้วย
2553/05/27
การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ เด็กจะได้พัฒนาการร่างกายในส่วนต่างๆ นั้น ครู
จำเป็นต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวในลักษณะของรูปแบบต่างๆ เช่น
การเคลื่อนไหวพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ การเดิน การคลาน การคืบ การวิ่ง ฯลฯ
การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว
การทำท่าทางกายบริหาร
การเลียนแบบท่าทางสัตว์ การเลียนแบบท่าทางคน การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งของ ฯลฯ
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์หรือการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
กิจกรรมที่นำเสนอดังกล่าว นอกจากทำให้เด็กได้พัฒนาการด้านร่างกายแล้ว เด็กยังได้พัฒนาการด้านอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย
จำเป็นต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวในลักษณะของรูปแบบต่างๆ เช่น
การเคลื่อนไหวพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ การเดิน การคลาน การคืบ การวิ่ง ฯลฯ
การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว
การทำท่าทางกายบริหาร
การเลียนแบบท่าทางสัตว์ การเลียนแบบท่าทางคน การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งของ ฯลฯ
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์หรือการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
กิจกรรมที่นำเสนอดังกล่าว นอกจากทำให้เด็กได้พัฒนาการด้านร่างกายแล้ว เด็กยังได้พัฒนาการด้านอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
การจะนำหลักสูตรระดับปฐมวัยสู่ห้องเรียน โดยคำนึงเด็กเป็นตัวตั้งคือการพัฒนาด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญานั้น แผนการจัดประสบการณ์หรือแผนการจัดการเรียนรู้ มีความ
สำคัญ ครูปฐมวัยจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมายในการจัดทำและแนวทางการจัดทำแผนฯ และต้อง
คิดว่าเป็นหน้าที่ปกติที่จะต้องจัดทำ แผนการจัดประสบการณ์ที่กล่าว มีสิ่งที่ควรระบุให้ชัดเจนดังนี้
1 ชื่อหน่วย ชื่อแผน วัน เดือนปี และระยะเวลาของการจัดประสบการณ์
2 จุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
3 สาระการเรียนรู้ ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือสาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ ซึ่งได้วิเคราะห์ และกำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้รายปี
4 กิจกรรมการเรียนรู้ สามารถออกแบบได้หลายลักษณะ อาจจะเป็นกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม
ที่เราเข้าใจก็ได้ หรืออาจเรียกชื่อกิจกรรมแตกต่างกัน ประเด็นที่สำคัญคือต้องครอบคลุมพัฒนา
การทุกด้านของเด็ก อาจนำนวัตกรรมทางการศึกษาด้านปฐมวัยมาทดลองใช้ก็ได้
5 สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือนอกสถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัด
ประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
6 การวัดและประเมินพัฒนาการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดประสบการณ์
7 บันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มีรายละเอียดที่ต้องแสดงให้
เห็นในเรื่องของ ผลการจัดประสบการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ
8 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญานั้น แผนการจัดประสบการณ์หรือแผนการจัดการเรียนรู้ มีความ
สำคัญ ครูปฐมวัยจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมายในการจัดทำและแนวทางการจัดทำแผนฯ และต้อง
คิดว่าเป็นหน้าที่ปกติที่จะต้องจัดทำ แผนการจัดประสบการณ์ที่กล่าว มีสิ่งที่ควรระบุให้ชัดเจนดังนี้
1 ชื่อหน่วย ชื่อแผน วัน เดือนปี และระยะเวลาของการจัดประสบการณ์
2 จุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
3 สาระการเรียนรู้ ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือสาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ ซึ่งได้วิเคราะห์ และกำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้รายปี
4 กิจกรรมการเรียนรู้ สามารถออกแบบได้หลายลักษณะ อาจจะเป็นกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม
ที่เราเข้าใจก็ได้ หรืออาจเรียกชื่อกิจกรรมแตกต่างกัน ประเด็นที่สำคัญคือต้องครอบคลุมพัฒนา
การทุกด้านของเด็ก อาจนำนวัตกรรมทางการศึกษาด้านปฐมวัยมาทดลองใช้ก็ได้
5 สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือนอกสถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัด
ประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
6 การวัดและประเมินพัฒนาการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดประสบการณ์
7 บันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มีรายละเอียดที่ต้องแสดงให้
เห็นในเรื่องของ ผลการจัดประสบการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ
8 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
2553/05/25
มารู้จักการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์กัน
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมศิลปะนั้น จุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม
ดังกล่าวคือ เป็นกิจการกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีก - ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย
การประดิษฐ์ หรือวิธีการอิ่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติก
สร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯ ที่กล่าวข้างต้นเป็นความหมายของการจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ ส่วนวิธีการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดว้นละ 3-5 กิจกรรม
ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1-2 กิจกรรมตามความสนใจ มีข้อเสนอแนะสำหรับครูในการจัดกิจกรรมดังนี้
1 เตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำกิจกรรมให้พร้อม และควรเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาไม่ยากในสภาพที่
เป็นอยู่
2 ก่อนให้เด็กทำกิจกรรม ต้องอธิบายวิธีใช้วัสดุที่ถูกต้อง สาธิตการทำกิจกรรมหรือวัสดุต่างๆ
ให้เด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน
3 แสดงความสนในงานของเด็กทุกคน และเห็นความสำคัญของงานอย่างจริงใจ
4 หากพบว่าเด็กคนใดสนใจทำกิจกรรมอย่างเดียวตลอดเวลา ควรกระตุ้น และจูงใจให้เด็ก
ให้เด็กเปลี่ยนทำกิจกรรมอื่นบ้าง
5 เก็บผลงานแต่ละคน เพื่อแสดงความก้าวหน้า และพัฒนาการของเด็ก
ฯลฯ
ดังกล่าวคือ เป็นกิจการกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีก - ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย
การประดิษฐ์ หรือวิธีการอิ่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติก
สร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯ ที่กล่าวข้างต้นเป็นความหมายของการจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ ส่วนวิธีการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดว้นละ 3-5 กิจกรรม
ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1-2 กิจกรรมตามความสนใจ มีข้อเสนอแนะสำหรับครูในการจัดกิจกรรมดังนี้
1 เตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำกิจกรรมให้พร้อม และควรเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาไม่ยากในสภาพที่
เป็นอยู่
2 ก่อนให้เด็กทำกิจกรรม ต้องอธิบายวิธีใช้วัสดุที่ถูกต้อง สาธิตการทำกิจกรรมหรือวัสดุต่างๆ
ให้เด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน
3 แสดงความสนในงานของเด็กทุกคน และเห็นความสำคัญของงานอย่างจริงใจ
4 หากพบว่าเด็กคนใดสนใจทำกิจกรรมอย่างเดียวตลอดเวลา ควรกระตุ้น และจูงใจให้เด็ก
ให้เด็กเปลี่ยนทำกิจกรรมอื่นบ้าง
5 เก็บผลงานแต่ละคน เพื่อแสดงความก้าวหน้า และพัฒนาการของเด็ก
ฯลฯ
2553/05/18
การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ถ้าพูดถึงการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว สภาพแวดล้อมมีความจำเป็นมากในการที่จะทำให้
เด็กใช้ภาษาได้อย่างมีคุณภาพ การใช้ภาษาเราต้องเข้าใจว่าหมายถึง การฟัง พูด อ่าน และเขียน
ในเด็กเล็กๆ ทักษะที่เด็กจำเป็นต้องพัฒนาคือทักษะ การฟัง และพูด สภาพแวดล้อมที่จะทำให้เด็ก
ฟัง และพูดอย่างมีคุณภาพ คือทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตลอดจนสภาพสังคมที่เด็กมีชีวิตอยู่ ถ้าเป็น
โรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่ การจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้
ทางภาษาของแต่ละคน ตามความสนใจของเด็ก ถ้าจะทำให้เด็กใช้ภาษาอย่างมีคุณภาพแล้ว สถานที่เด็กอยู่ต้องเป็นโลกของภาษา ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็ก
สนใจโดยเด็กเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับภาษาได้ตามความต้องการของเด็ก ได้ตลอดเวลา ดังนั้นการจัดห้องเรียนเป็นมุมต่างๆ จึงมีความสำคัญและมีความหมายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่จัดไว้เพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว อย่างเช่น มุมบ้าน การที่เด็กเข้ามุมบ้าน เด็กก็จะได้พูดคุย เล่นกัน มีการสื่อสาร ระหว่างก้นทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เด็กพัฒนาการฟัง พูด นอกจากนั้นการเล่นกับเพื่อนเป็นพ่อแม่ เพื่อน ได้เรียนรู้จากเพื่อน และการมีกระดาษ ดินสอ ไปบันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงแม่ พ่อ การจดรายการซื้อของเมื่อไปจ่ายตลาดกับแม่ การเล่นบทบาทสมมติดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาโดยธรรมชาติ พร้อมกับทำให้เด็กมีความรู้สึกเพลิดเพลิน ถ้าเป็นมุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย การได้ศัพท์ในการต่อรองซื้อของ การใช้หน่วยในการชั่ง การกะปริมาณ เป็นต้น และเมื่อจัดห้องเรียนเป็นมุมหมอ เด็กก็จะได้เล่นบทบาทเป็นคนไข้ เป็นหมอ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการเป็นหมอ อาการต่างๆของการเจ็บป่วย หรือถ้าเป็นมุมศิลปะเด็กก็จะได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นต้น
เด็กใช้ภาษาได้อย่างมีคุณภาพ การใช้ภาษาเราต้องเข้าใจว่าหมายถึง การฟัง พูด อ่าน และเขียน
ในเด็กเล็กๆ ทักษะที่เด็กจำเป็นต้องพัฒนาคือทักษะ การฟัง และพูด สภาพแวดล้อมที่จะทำให้เด็ก
ฟัง และพูดอย่างมีคุณภาพ คือทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตลอดจนสภาพสังคมที่เด็กมีชีวิตอยู่ ถ้าเป็น
โรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่ การจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้
ทางภาษาของแต่ละคน ตามความสนใจของเด็ก ถ้าจะทำให้เด็กใช้ภาษาอย่างมีคุณภาพแล้ว สถานที่เด็กอยู่ต้องเป็นโลกของภาษา ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็ก
สนใจโดยเด็กเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับภาษาได้ตามความต้องการของเด็ก ได้ตลอดเวลา ดังนั้นการจัดห้องเรียนเป็นมุมต่างๆ จึงมีความสำคัญและมีความหมายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่จัดไว้เพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว อย่างเช่น มุมบ้าน การที่เด็กเข้ามุมบ้าน เด็กก็จะได้พูดคุย เล่นกัน มีการสื่อสาร ระหว่างก้นทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เด็กพัฒนาการฟัง พูด นอกจากนั้นการเล่นกับเพื่อนเป็นพ่อแม่ เพื่อน ได้เรียนรู้จากเพื่อน และการมีกระดาษ ดินสอ ไปบันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงแม่ พ่อ การจดรายการซื้อของเมื่อไปจ่ายตลาดกับแม่ การเล่นบทบาทสมมติดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาโดยธรรมชาติ พร้อมกับทำให้เด็กมีความรู้สึกเพลิดเพลิน ถ้าเป็นมุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย การได้ศัพท์ในการต่อรองซื้อของ การใช้หน่วยในการชั่ง การกะปริมาณ เป็นต้น และเมื่อจัดห้องเรียนเป็นมุมหมอ เด็กก็จะได้เล่นบทบาทเป็นคนไข้ เป็นหมอ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการเป็นหมอ อาการต่างๆของการเจ็บป่วย หรือถ้าเป็นมุมศิลปะเด็กก็จะได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นต้น
2553/05/12
การสอนสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัย
จุดประสงค์ของการสอนสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม คือเด็กต้องมีเจตคติที่ดี มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีทักษะหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ น้ำ หิน ดิน ทราย ต้นไม้ อากาศ เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีการพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเพราะ มนุษย์ได้รับผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ เราช่วยกันแก้ปัญหาโดยกำหนดหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาตั้งแต่ในระดับปฐมวัย แต่ เราจะมีเฉพาะหลักสูตรเท่านั้นคงจะไม่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กปฐมวัยรัก
ธรรมชาติและมีพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการที่กล่าวต้องเป็นกระบวนการที่พัฒนากาย
จิต และปัญญา เพื่อให้เด็กเกิดความรู้ จิตสำนึก และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการ
เรียนนี้ต้องเริ่มการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ค่อยๆ ซึมซาบเพื่อไป
สู่ภายในจิตใจ เข้าไปสู่กระบวนการคิด แล้วแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยบุคคลที่เกี่ยว
ข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องร่วมมือกันปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก เช่น การทิ้งขยะ การประหยัดน้ำ
การปลูกต้นไม้ เป็นต้น
ธรรมชาติและมีพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการที่กล่าวต้องเป็นกระบวนการที่พัฒนากาย
จิต และปัญญา เพื่อให้เด็กเกิดความรู้ จิตสำนึก และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการ
เรียนนี้ต้องเริ่มการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ค่อยๆ ซึมซาบเพื่อไป
สู่ภายในจิตใจ เข้าไปสู่กระบวนการคิด แล้วแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยบุคคลที่เกี่ยว
ข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องร่วมมือกันปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก เช่น การทิ้งขยะ การประหยัดน้ำ
การปลูกต้นไม้ เป็นต้น
2553/05/03
กิจกรรมทางภาษาสำหรับเด็กเล็ก
กิจกรรมทางภาษาสำหรับเด็กเล็กๆ พ่อแม่ ครูจำเป็นต้องเข้าใจและส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นในความประทับใจที่จะเรียนภาษาของคนเรา กิจกรรมที่เสนอแนะ
มีดังนี้
- ให้เด็กเรียนรู้อย่างอิสระ โดยให้เด็กมีโอกาสเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้
ประสบการณ์ และความประทับใจอย่างอิสระ
- การสอนอ่าน สอนอย่างมีความหมาย และให้เด็กมีความสนุกสนาน รู้จักใช้หนังสือ
เปิดหนังสืออย่างถูกต้อง พร้อมกับมีการประเมินผลไปพร้อมกัน
- ใช้กิจกรรมการฟัง การเล่านิทาน การสนทนาโต้ตอบ การเล่าประสบการณ์ ฯลฯ ในการ
ทำให้เด็กประทับใจในการเรียนภาษา
- ให้เด็กมีโอกาสนำหนังสือที่ตนเองชอบไปอ่านเองตามจินตนาการ หรือให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
- เตรียมหนังสือ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้ออำนวยในการเรียนภาษา
- คอยดูแลและคอยประเมินสภาพการเรียนภาษาของเด็กอย่างต่อเนื่อง ไม่คอยจ้องจับผิด
เด็ก แต่ควรให้กำลังใจสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
- มีการสอนในลักษณะของกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่
สิ่งที่กล่าวเป็นแต่เพียงกิจกรรมเสนอแนะ สำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กให้ได้นำไปใช้
ต่อไป
มีดังนี้
- ให้เด็กเรียนรู้อย่างอิสระ โดยให้เด็กมีโอกาสเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้
ประสบการณ์ และความประทับใจอย่างอิสระ
- การสอนอ่าน สอนอย่างมีความหมาย และให้เด็กมีความสนุกสนาน รู้จักใช้หนังสือ
เปิดหนังสืออย่างถูกต้อง พร้อมกับมีการประเมินผลไปพร้อมกัน
- ใช้กิจกรรมการฟัง การเล่านิทาน การสนทนาโต้ตอบ การเล่าประสบการณ์ ฯลฯ ในการ
ทำให้เด็กประทับใจในการเรียนภาษา
- ให้เด็กมีโอกาสนำหนังสือที่ตนเองชอบไปอ่านเองตามจินตนาการ หรือให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
- เตรียมหนังสือ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้ออำนวยในการเรียนภาษา
- คอยดูแลและคอยประเมินสภาพการเรียนภาษาของเด็กอย่างต่อเนื่อง ไม่คอยจ้องจับผิด
เด็ก แต่ควรให้กำลังใจสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
- มีการสอนในลักษณะของกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่
สิ่งที่กล่าวเป็นแต่เพียงกิจกรรมเสนอแนะ สำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กให้ได้นำไปใช้
ต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)