การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกการสังเกตให้กับเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องที่ไม่ยากและทำให้เกิดความ
สนุกสนานเป็นอย่างมาก วัสดุอุปกรณ์ก็หาไม่ยาก อย่างเช่น แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ครูเอาไข่ไก่มาให้เด็กได้ดูแล้วช่วยกันสังเกตลักษณะภายนอกของไข่ไก่ให้มากที่สุด จดบันทึกลักษณะที่สังเกตได้ หากเขียนไม่ได้ก็ให้วาดรูปประกอบ หลังจากนั้นครูนำไข่เป็ด ไข่นกกะทา มาให้เด็กได้ดู พร้อมกับให้
สังเกตลักษณะภายนอกของไข่ในแต่ละประเภท สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง หรือสิ่งที่เด็ก
ได้พบจากการได้เห็นวัสดุในแต่ละประเภท เมื่อได้สังเกตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้มีการอภิปราย และ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งหมดเป็นการฝึกการสังเกต การอภิปราย ฝึกกระบวนการคิด ซึ่งมี
ค่ามหาศาลสำหรับปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กๆ นอกจากนั้นยังสามารถหาอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกมากมายเพื่อ
ให้เด็กได้สังเกต ได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสของเด็ก สิ่งที่สำคัญครูจะต้องคอยดูแล จัดสภาพ
แวดล้อมให้ปลอดภัย และอุปกรณ์จะต้องไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก กิจกรรมแค่นี้ก็ทำให้เด็กเกิด
ความสนุกสนานและได้ความรู้ไปพร้อมกัน
2553/09/28
2553/09/21
บทบาทครูเมื่อให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมสร้างสรรค์คือกิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำงานศิลปะต่างๆ เพื่อให้ได้แสดงออกทาง
ความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กได้มีความเพลิดเพลิน งานศิลปะมีมากมายที่ให้เด็กได้ทำ ไม่ว่าจะ
เป็นงานวาดภาพด้วยสีน้ำ สีเทียน งานปั้น การประดิษฐ์ การพิมพ์ภาพ การหยดสี การประดิษฐ์
การฉีก การปะ การร้อยวัสดุ เป็นต้น บทบาทของครู ไม่ใช่ให้เด็กได้ทำงานศิลปะที่สวยงาม
หรือเป็นการเลียนแบบ ไม่ใช่เป็นจุดมุ่งหมายของการทำงานศิลปะ ครูหรือผู้เกี่ยวข้องต้อง
เข้าใจบทบาทและต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงจำเป็นต้องรู้บทบาทดังนี้
- จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรมให้พร้อมและหลากหลาย เน้นวัสดุที่เป็น
ธรรมชาติ และหาได้ง่าย
- แนะนำอุปกรณ์ที่เด็กจะใช้ให้เด็กได้เข้าใจอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปสร้างงานตาม
จินตนาการ
- คอยส่งเสริมและสนับสนุน ให้กำลังใจกับเด็กขณะทำกิจกรรม ให้ความสนใจกับ
งานของเด็กทุกคน
- นำผลงานของเด็กทุกคนแสดงที่ป้ายนิเทศ โดยหมุนเวียนเปลี่ยนกันให้ครบ
- ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวาด การประดิษฐ์
การฉีก-ปะ เป็นต้น
- เก็บผลงานของเด็กเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคน
ดังนั้นการให้เด็กทำงานศิลปะหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นงานที่มีความสำคัญและ
มีคุณค่าต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่ทำโดยไม่มีจุดหมาย
ความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กได้มีความเพลิดเพลิน งานศิลปะมีมากมายที่ให้เด็กได้ทำ ไม่ว่าจะ
เป็นงานวาดภาพด้วยสีน้ำ สีเทียน งานปั้น การประดิษฐ์ การพิมพ์ภาพ การหยดสี การประดิษฐ์
การฉีก การปะ การร้อยวัสดุ เป็นต้น บทบาทของครู ไม่ใช่ให้เด็กได้ทำงานศิลปะที่สวยงาม
หรือเป็นการเลียนแบบ ไม่ใช่เป็นจุดมุ่งหมายของการทำงานศิลปะ ครูหรือผู้เกี่ยวข้องต้อง
เข้าใจบทบาทและต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงจำเป็นต้องรู้บทบาทดังนี้
- จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรมให้พร้อมและหลากหลาย เน้นวัสดุที่เป็น
ธรรมชาติ และหาได้ง่าย
- แนะนำอุปกรณ์ที่เด็กจะใช้ให้เด็กได้เข้าใจอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปสร้างงานตาม
จินตนาการ
- คอยส่งเสริมและสนับสนุน ให้กำลังใจกับเด็กขณะทำกิจกรรม ให้ความสนใจกับ
งานของเด็กทุกคน
- นำผลงานของเด็กทุกคนแสดงที่ป้ายนิเทศ โดยหมุนเวียนเปลี่ยนกันให้ครบ
- ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวาด การประดิษฐ์
การฉีก-ปะ เป็นต้น
- เก็บผลงานของเด็กเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคน
ดังนั้นการให้เด็กทำงานศิลปะหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นงานที่มีความสำคัญและ
มีคุณค่าต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่ทำโดยไม่มีจุดหมาย
2553/09/19
ประสบการณ์ 5 ปีแรกคือพื้นฐานของบุคลิกภาพ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ประสบการณ์ในวัยเด็กที่อยู่รอบตัวตั้งแต่แรกในระยะ
เวลา 5 ปีมีความสำคัญต่อเด็กมากเพราะจะกลายเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพ เมื่อเด็กโตขึ้นเป็น
ผู้ใหญ่ จิตใจอารมณ์ หรือการพัฒนาการทางสังคมขึ้นอยู่กับพัฒนาการที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอน
ถ้าเด็กไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม หรือไม่ได้รับการตอบสนอง การพัฒนาก็จะชะงักงัน การเล่น
ของเด็กจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางอารมณ์ จิตใจและสังคมของเด็กดังนี้
-รู้จักการให้อภัย
-ฝึกให้เด็กรู้จักความสามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
-ฝึกให้รู้จักการรอคอย อดทน มีความอบอุ่นใจและยอมรับความจริง
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-เรียนรู้และมีพัฒนาการในการปรับตัวที่ดี
-ส่งเสริมการมองโลกในแง่ดี
-ลดความเครียดที่เกิดขึ้น
จึงควรส่งเสริมและดูแลให้เด็กได้เล่น เพื่อการพัฒนาด้านสังคมและจิตใจที่ดีให้กับเด็ก
เวลา 5 ปีมีความสำคัญต่อเด็กมากเพราะจะกลายเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพ เมื่อเด็กโตขึ้นเป็น
ผู้ใหญ่ จิตใจอารมณ์ หรือการพัฒนาการทางสังคมขึ้นอยู่กับพัฒนาการที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอน
ถ้าเด็กไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม หรือไม่ได้รับการตอบสนอง การพัฒนาก็จะชะงักงัน การเล่น
ของเด็กจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางอารมณ์ จิตใจและสังคมของเด็กดังนี้
-รู้จักการให้อภัย
-ฝึกให้เด็กรู้จักความสามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
-ฝึกให้รู้จักการรอคอย อดทน มีความอบอุ่นใจและยอมรับความจริง
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-เรียนรู้และมีพัฒนาการในการปรับตัวที่ดี
-ส่งเสริมการมองโลกในแง่ดี
-ลดความเครียดที่เกิดขึ้น
จึงควรส่งเสริมและดูแลให้เด็กได้เล่น เพื่อการพัฒนาด้านสังคมและจิตใจที่ดีให้กับเด็ก
2553/09/17
สอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้อย่างไร
การสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยากตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่
สามารถเริ่มได้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก การให้เด็กได้รู้จักการสังเกตนั้น ครู พ่อแม่จะต้องจัดประสบการณ์ หาเครื่องมือ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และต้องทำอย่างต่อเนื่องให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งเป็นทักษะเริ่มแรกของการเรียนวิทยศาสตร์ สิ่งที่ครูควรตระหนักในการจักิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี้
- ให้โอกาสกับเด็กในการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และจะต้องใจเย็น
- ให้เด็กหัดสังเกตธรรมชาติรอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ พืช สิ่งของ ฯลฯ
- ให้เด็กได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- เครื่องมือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมมีความจำเป็นมากสำหรับให้
เด็กได้สังเกต ได้สัมผัส ฯลฯ
- สิ่งแวดล้อม มีความสำคัญในการกระตุ้น ให้เด็กได้สัมผัส ได้สังเกต ซึ่งเป็น
ทักษะเบื้องต้นของการเรียนวิทยาศาสตร์
ฉะนั้นครูจำเป็นต้องมีความตั้งใจและเข้าใจถ้าต้องการให้เด็กของเราสนใจและชอบ
การเรียนวิทยาศาสตร์เมื่อโตขึ้น
สามารถเริ่มได้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก การให้เด็กได้รู้จักการสังเกตนั้น ครู พ่อแม่จะต้องจัดประสบการณ์ หาเครื่องมือ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และต้องทำอย่างต่อเนื่องให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งเป็นทักษะเริ่มแรกของการเรียนวิทยศาสตร์ สิ่งที่ครูควรตระหนักในการจักิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี้
- ให้โอกาสกับเด็กในการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และจะต้องใจเย็น
- ให้เด็กหัดสังเกตธรรมชาติรอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ พืช สิ่งของ ฯลฯ
- ให้เด็กได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- เครื่องมือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมมีความจำเป็นมากสำหรับให้
เด็กได้สังเกต ได้สัมผัส ฯลฯ
- สิ่งแวดล้อม มีความสำคัญในการกระตุ้น ให้เด็กได้สัมผัส ได้สังเกต ซึ่งเป็น
ทักษะเบื้องต้นของการเรียนวิทยาศาสตร์
ฉะนั้นครูจำเป็นต้องมีความตั้งใจและเข้าใจถ้าต้องการให้เด็กของเราสนใจและชอบ
การเรียนวิทยาศาสตร์เมื่อโตขึ้น
2553/09/15
วิธีที่ดีที่สุดที่พ่อแม่ช่วยลูกให้เป็นนักอ่านคือ การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
มีการวิจัยที่แสดงผล อย่างชัดเจนซึ่งชี้ให้เห็นว่า วิธีที่ดีที่สุดที่พ่อแม่สามารถช่วยลูก ให้เป็นนักอ่านที่ดีก็คือ การอ่าน
หนังสือให้ลูกฟัง แม้เมื่อลูกยังเล็กมาก เด็กเล็กๆ จะได้รับประโยชน์จากการอ่านออกเสียงมากที่สุด เช่น การรับรู้เกี่ยวกับ
อักขระ พยัญชนะ สระ โดยไม่รู้ตัว และเด็กจะเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆ จากการได้ฟังคำต่างๆ จากการอ่านของ
พ่อแม่ แล้วเด็กจะมีคลังคำศัพท์สะสมอยู่กับตัวเด็ก ฉะนั้นพ่อแม่สามารถส่งเสริมการอ่านของลูกได้อย่างหลากหลายวิธี
ตรงนี้ครูปฐมวัยจำเป็นต้องชี้แจงให้กับพ่อแม่ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน และจะต้องปฏิบัติไปพร้อมกับ
ความเข้าใจดังกล่าว เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว หรือมีพัฒนาการทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน
หรือเขียน มักมาจากการที่พ่อแม่มีความเชื่อว่า การอ่านให้ลูกฟังมีความสำคัญ และจะใช้โอกาสทุกครั้งที่ตนเองมีเวลาอยู่
กับลูก
หนังสือให้ลูกฟัง แม้เมื่อลูกยังเล็กมาก เด็กเล็กๆ จะได้รับประโยชน์จากการอ่านออกเสียงมากที่สุด เช่น การรับรู้เกี่ยวกับ
อักขระ พยัญชนะ สระ โดยไม่รู้ตัว และเด็กจะเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆ จากการได้ฟังคำต่างๆ จากการอ่านของ
พ่อแม่ แล้วเด็กจะมีคลังคำศัพท์สะสมอยู่กับตัวเด็ก ฉะนั้นพ่อแม่สามารถส่งเสริมการอ่านของลูกได้อย่างหลากหลายวิธี
ตรงนี้ครูปฐมวัยจำเป็นต้องชี้แจงให้กับพ่อแม่ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้เข้าใจอย่างชัดเจน และจะต้องปฏิบัติไปพร้อมกับ
ความเข้าใจดังกล่าว เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว หรือมีพัฒนาการทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน
หรือเขียน มักมาจากการที่พ่อแม่มีความเชื่อว่า การอ่านให้ลูกฟังมีความสำคัญ และจะใช้โอกาสทุกครั้งที่ตนเองมีเวลาอยู่
กับลูก
2553/09/14
กิจกรรมทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วการจัดกิจกรรมดนตรีให้เด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
- การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
- การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง ต่ำ กลาง เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
- การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
- การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น ระนาด กลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
- การอ่าน ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
- ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง การเคลื่อนไหว การเล่น เป็นต้น
การจัดกิจกรรมทางดนตรีให้กับเด็กจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
- การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
- การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง ต่ำ กลาง เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
- การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
- การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น ระนาด กลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
- การอ่าน ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
- ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง การเคลื่อนไหว การเล่น เป็นต้น
การจัดกิจกรรมทางดนตรีให้กับเด็กจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย
2553/09/09
การพูดในเด็กปฐมวัย
การพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้นทักษะการฟัง - พูดมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกให้เด็ก
เป็นเบื้องแรก โดยเฉพาะการพูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับเด็กเล็กๆ การที่เด็กสามารถพูด
สื่อสารได้ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของเด็กตั้งแต่แรก การฝึกทักษะการพูดมีความจำเป็นดังนี้
- เพื่อใช้เป็นเครืองมือติดต่อกับสังคม กับเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆ การที่เด็กจะเป็นที่น่าคบหา
สมาคมด้วยย่อมต้องมีภาษาที่สุภาพ เด็กจะต้องได้ฝึกในเรื่องคำสุภาพ เช่น คำว่า ขอโทษ ขอบใจ
นอกจากนั้นจะต้องให้รู้จักกาลเทศะด้วยเสียงที่พูดในสถานที่ต่างๆ
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่น ไม่เพียงแต่แสดงความคิดเห็นของตนเอง
เท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าใจผู้อื่นด้วย
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการการพูดให้ชัดเจน ฝึกการออกเสียงที่มีปัญหา คำควบกล้ำ
การออกเสียงร ล เป็นต้น
- เพื่อพัฒนาการพูดได้คล่องตามธรรมชาติ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการฝึกให้เด็กเล็กได้มีทักษะในการพูดจึงมีความสำคัญและจำเป็น เมื่อเด็กพูดสื่อสาร
ได้เด็กจะมีความมั่นใจ และภูมิใจที่สามารถสื่อสารได้สำเร็จ
เป็นเบื้องแรก โดยเฉพาะการพูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับเด็กเล็กๆ การที่เด็กสามารถพูด
สื่อสารได้ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของเด็กตั้งแต่แรก การฝึกทักษะการพูดมีความจำเป็นดังนี้
- เพื่อใช้เป็นเครืองมือติดต่อกับสังคม กับเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆ การที่เด็กจะเป็นที่น่าคบหา
สมาคมด้วยย่อมต้องมีภาษาที่สุภาพ เด็กจะต้องได้ฝึกในเรื่องคำสุภาพ เช่น คำว่า ขอโทษ ขอบใจ
นอกจากนั้นจะต้องให้รู้จักกาลเทศะด้วยเสียงที่พูดในสถานที่ต่างๆ
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่น ไม่เพียงแต่แสดงความคิดเห็นของตนเอง
เท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าใจผู้อื่นด้วย
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการการพูดให้ชัดเจน ฝึกการออกเสียงที่มีปัญหา คำควบกล้ำ
การออกเสียงร ล เป็นต้น
- เพื่อพัฒนาการพูดได้คล่องตามธรรมชาติ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการฝึกให้เด็กเล็กได้มีทักษะในการพูดจึงมีความสำคัญและจำเป็น เมื่อเด็กพูดสื่อสาร
ได้เด็กจะมีความมั่นใจ และภูมิใจที่สามารถสื่อสารได้สำเร็จ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)