สิ่งที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้หรือการได้ประสบการณ์จากการทำอาหารมีหลายประการ ที่ทำให้เด็กได้พัฒนาอย่างเป็นองค์รวมได้แก่
ด้านสังคม การทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ในการทำอาหาร การจัดอาหาร การจำแนกอาหารเด็ก ผู้ใหญ่
ด้านคณิตศาสตร์ เด็กได้ชั่ง ตวง การวัดปริมาณ การจำแนก การเปรียบเทียบ รูปทรง
ด้านภาษา เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์จากชื่ออาหาร ชื่อเครื่องครัว ชื่อกระบวนการในการทำอาหาร
ไม่ว่าจะเป็นการหั่น การสับ การโขลก การตำ การนวด การทอด ฯลฯ
ด้านวิทยาศาสตร์ เด็กได้เรียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในขณะปรุงอาหาร ก่อนทำอาหาร และหลังจากการทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสี กลิ่น รูปร่างของอาหาร เป็นต้น
ด้านความปลอดภัย เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ในครัว เช่น มีด เตาไฟ กระทะ ถ้วยกระเบื้อง แก้ว เป็นต้น
ด้านสุขภาพ อนามัย เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของการรักษาความสะอาด การล้างอุปกรณ์ในครัว
การเตรียมอาหารให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค
2553/02/19
ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL (Brain- Based Learning ) โดยความหมายนั้นเป็นการเรียนรู้ที่เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยา และนักการศึกษากลุ่มหนึ่ง ซึ่งสนใจเรื่องของการทำงานของสมอง ที่มีมาจากการศึกษาวิจัยจากศาสตร์หลายๆ แขนง เช่น จากศาสตร์แขนงประสาทวิทยา ชีววิทยา จิตวิทยาคลีนิก จิตวิทยาด้านการคิด ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมอง และการเรียนรู้ของมนุษย์ และนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน ถ้ากล่าวถึงการนำความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมาเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษา คือการนำหลักการเกี่ยวกับสมองมาเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษา อย่างเช่น การนำหลักการเกี่ยวกับสมองไปใช้ในการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ฯลฯ จากผลการวิจัยทางสมองพบว่า ร่างกายและจิตใจจะทำงานอย่างผสมผสานเชื่อมโยงกัน เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สลับซับซ้อน เช่น การตัดสินใจว่า จะตอบสนอง หรือ การนำไปใช้อย่างไร ระบบการทำงานของสมองมนุษย์จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างร่างกาย สมอง และจิตใจ อย่างเป็นธรรมชาติ
2553/02/14
พัฒนาการคิดผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
การพัฒนากระบวนการคิดเริ่มได้ตั้งแต่เล็กๆ โดยผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย และการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การพัฒนาความคิดต้องทำทันทีไม่ใช่รอให้โตแล้วจึงจะพัฒนา แต่ละช่วงวัยของเด็กมีความสำคัญมาก การพัฒนาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยิ่งพ่อแม่เสริมทักษะให้กับลูกมากเท่าไร การเชื่อมโยงเครือข่าขยใยประสาทก็จะยิ่งเกิดมาขึ้นเท่านั้น มีผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระบุว่า ทารกวัยเพียง 9 เดือน ที่มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเกต และการเรียนรู้ที่ดี จะสามารถแก้ปัญหา ที่อยู่ตรงหน้าได้สำเร็จ ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทดสอบทารกวัย 9 เดือนจำนวน 299 คน ด้วยวิธี 2- step Means End Solving Test ที่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถนำไปเล่นกับลูกได้
ขั้นตอนแรกให้คุณพ่อคุณแม่นำของเล่นวางบนผ้าให้ห่างจากตัวลูก หากลูกเอามือตวัดผ้าและดึงของเล่นเข้ามาหาตัว แสดงว่าเด็กมีศักยภาพในการแก้ปัญหา มีการคิดวิเคราะ
ห์ว่าต้องดึงผ้าเข้าหาตัวเพื่อหยิบของเล่น
ขั้นตอนที่สอง วางของเล่นใกล้ตัวเด็ก แต่ให้นำผ้ามาปิดคลุมของเล่นที่อยู่ตรงหน้าลูก หาก
ลูกพยายามที่จะเปิดผ้าเพื่อหยิบของเล่นออกมาให้ได้ถือว่าเป็นการบ่งบอกถึงกระบวนการคิด วิเคราะห์
สังเกต และการเรียนรู้ที่ดีของลูก
การทดลองดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ผู้ใหญ่มักมองข้าม หากเราเริ่มสนใจและปฏิบัติแล้ว เด็กก็จะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายส่งผลถึงการพัฒนากระบวนการคิด
ขั้นตอนแรกให้คุณพ่อคุณแม่นำของเล่นวางบนผ้าให้ห่างจากตัวลูก หากลูกเอามือตวัดผ้าและดึงของเล่นเข้ามาหาตัว แสดงว่าเด็กมีศักยภาพในการแก้ปัญหา มีการคิดวิเคราะ
ห์ว่าต้องดึงผ้าเข้าหาตัวเพื่อหยิบของเล่น
ขั้นตอนที่สอง วางของเล่นใกล้ตัวเด็ก แต่ให้นำผ้ามาปิดคลุมของเล่นที่อยู่ตรงหน้าลูก หาก
ลูกพยายามที่จะเปิดผ้าเพื่อหยิบของเล่นออกมาให้ได้ถือว่าเป็นการบ่งบอกถึงกระบวนการคิด วิเคราะห์
สังเกต และการเรียนรู้ที่ดีของลูก
การทดลองดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ผู้ใหญ่มักมองข้าม หากเราเริ่มสนใจและปฏิบัติแล้ว เด็กก็จะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายส่งผลถึงการพัฒนากระบวนการคิด
การดูโทรทัศน์ของเด็กเล็ก
การดูโทรทัศน์ของเด็กเล็กนั้น ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจว่าเด็กเล็กยังแยกแยะไม่ออกว่าโลกในโทรทัศน์แตกต่างจากโลกตามความเป็นจริงอย่างไรบ้าง ดังนั้นผู้ใหญ่ยังต้องคอยดูแลและให้คำแนะนำเด็กขณะดูโทรทัศน์ ข้อแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ในการดูโทรทัศน์มีดังนี้
1 คอยชี้แจงความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติ รายการที่เล่านิทานประกอบภาพ หรือละครหุ่นสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องคอยบอกลูกว่าช่วงไหนที่เป็นความจริง ไม่ใช่นิทาน หรือไม่ใช่เหตุการณ์ที่อยู่ในเรื่อง
2 บอกความแตกต่างระหว่างคนจริงกับตัวละคร พ่อแม่ควรสอนลูกให้รู้จักแยกแยะว่าตัวละครและคนจริงนั้นแตกต่างกัน
3 สนับสนุนและส่งเสริมให้ดูรายการที่ดี เมื่อมีรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องหาเทคนิคในการชวนให้ลูกดู และคอยส่งเสริมให้ความรู้ประกอบในการดูไปด้วย
4 ควบคุมการปิด เปิดโทรทัศน์ พ่อแม่ควรจะต้องควบคุมเวลาในการดูโทรทัศน์ของลูก ตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน มีการกำหนดตารางการดูเพื่อสร้างวินัยสำหรับเด็ก
การดูโทรทัศน์จึงไม่ใช่ปล่อยให้เด็กดูตามใจชอบ แล้วพ่อแม่มีเวลาทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อปล่อยให้ลูกดูตามใจชอบแล้วจะแก้ไขได้ยากมากและจะเกิดโทษในเวลาต่อมา
1 คอยชี้แจงความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติ รายการที่เล่านิทานประกอบภาพ หรือละครหุ่นสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องคอยบอกลูกว่าช่วงไหนที่เป็นความจริง ไม่ใช่นิทาน หรือไม่ใช่เหตุการณ์ที่อยู่ในเรื่อง
2 บอกความแตกต่างระหว่างคนจริงกับตัวละคร พ่อแม่ควรสอนลูกให้รู้จักแยกแยะว่าตัวละครและคนจริงนั้นแตกต่างกัน
3 สนับสนุนและส่งเสริมให้ดูรายการที่ดี เมื่อมีรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องหาเทคนิคในการชวนให้ลูกดู และคอยส่งเสริมให้ความรู้ประกอบในการดูไปด้วย
4 ควบคุมการปิด เปิดโทรทัศน์ พ่อแม่ควรจะต้องควบคุมเวลาในการดูโทรทัศน์ของลูก ตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน มีการกำหนดตารางการดูเพื่อสร้างวินัยสำหรับเด็ก
การดูโทรทัศน์จึงไม่ใช่ปล่อยให้เด็กดูตามใจชอบ แล้วพ่อแม่มีเวลาทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อปล่อยให้ลูกดูตามใจชอบแล้วจะแก้ไขได้ยากมากและจะเกิดโทษในเวลาต่อมา
2553/02/08
ความหมายของทักษะการคิด
การพัฒนาทักษะการคิดนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจประเภทของการคิดเป็นอันดับแรกก่อน ประเภทการคิดตามความหมายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้แบ่งไว้คือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่เป็นทักษะการคิดแกน และทักษะการคิดขั้นสูง สำหรับทักษะการคิดที่เป็นแกน (Core / General Thinking Skills) หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานของการคิดชั้นสูง ที่มีความสลับซับซ้อน ทักษะการคิดที่เป็นแกนประกอบด้วย
การสังเกต
การสำรวจ
การตั้งคำถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การระบุ
การจำแนก แยกแยะ
การจัดลำดับ
การเปรียบเทียบ
การจัดหมวดหมู่
การสรุปอ้างอิง
การแปล
การตีความ
การเชื่อมโยง
การขยายความ
การให้เหตุผล
การสรุป
การสังเกต
การสำรวจ
การตั้งคำถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การระบุ
การจำแนก แยกแยะ
การจัดลำดับ
การเปรียบเทียบ
การจัดหมวดหมู่
การสรุปอ้างอิง
การแปล
การตีความ
การเชื่อมโยง
การขยายความ
การให้เหตุผล
การสรุป
2553/02/07
วิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่
ผู้สร้างวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่คือ Dr. Maria Montissori แพทย์สตรีของอิตาลี เชื่อว่าการจัดการศึกษานั้น ผู้จัดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงผู้เรียนก่อน การจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ จึงให้ความสำคัญกับผู้เรียน หรือ เด็ก มากที่สุด มอนเตสซอรี่ได้กล่าวเสมอว่า เด็กคือ ครู เขาเชื่อในเรื่องของ เป้าหมายการศึกษามากกว่า วิธีการ สำหรับการจัดการศึกษา มีเป้าหมาย คือ เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ให้สามารถปรับตนเองได้สอดคล้องกับกาลเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม ความสามารถในการปรับตนเองได้นี้ หมายรวมถึง ความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ เหตุการณ์ ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษาของมอนเตสซอรี่ จึงเป็นการเตรียมเด็ก เพื่อชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)