ผู้ใหญ่ ครู ผู้ใกล้ชิดเด็ก ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าเด็กจะเป็นผู้คิดได้อย่างหลากหลายและมีทักษะการคิดเมื่อโตขึ้น ต้องทำการฝึกตั้งแต่เด็กๆ โดยมีคนรอบข้างเข้าใจและช่วยกันทำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับข้อคำนึงมีดังนี้
1 ผู้ใหญ่อย่าคิดแทนเด็กทั้งหมด อย่าเป็นผู้สั่ง
2 ต้องใช้คำถามที่ให้เด็กได้คิด ทำไม เพราะอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ
3 ใช้กิจกรรมที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ที่สะสม โดยให้เด็กได้เล่าทบทวนความรู้
และประสบการณ์ดังกล่าว โดยไม่ต้องสร้างกิจกรรมอะไรที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการฝึกโดยเฉพาะ
4 เด็กจะคิดได้มากและหลากหลายในสภาวะที่เด็กมีความรู้สึกสบาย ไม่เกิดสภาพที่เครียด เร่งรีบ
5 ต้องให้เด็กๆได้ช่วยตนเอง งานที่เด็กทำด้วยตนเองเป็นการทำให้เด็กได้คิดอย่างอัตโนมัติ
6 อย่าใช้คำพูดที่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก เช่น พูดถึงความโง่ของเด็ก การเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
2553/03/27
2553/03/22
สิ่งที่เด็กเล็กได้จากกิจกรรมการทำอาหาร(ผัก)
การให้เด็กได้มีกิจกรรมการทำอาหารนั้น ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ก็มีคุณค่ามหาศาล
สำหรับเด็ก อย่างเช่นการให้เด็กได้รู้จักผักประเภทต่างๆ เด็กได้เรียนรู้ผักมีหลายชนิด ทั้งผักที่ใช้กินใบ
กินหัว กินราก กินดอก เป็นต้น การนำผักมาทำอาหารเด็กได้ประสบการณ์จากผักเป็นจำนวนมาก เช่น
1 ลักษณะของผักประเถทต่างๆ
2 ขั้นตอนการนำผักมาทำอาหาร
3 การทำความสะอาดผักและสุขนิสัยของการกินผัก
4 ส่วนประกอบต่างๆของผัก
5 ความภูมิใจของการได้ทำอาหาร และการทำอาหารได้
6 การรู้จักการใช้อุปกรณ์ในการทำอาหารลักษณะต่างๆ
7 การฝึกการสังเกต การจำแนก การจัดหมวดหมู่ เมื่อนำผักมาทำอาหาร
จึงเห็นได้ว่าถึงแม้จะเป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างมาก
สำหรับเด็ก อย่างเช่นการให้เด็กได้รู้จักผักประเภทต่างๆ เด็กได้เรียนรู้ผักมีหลายชนิด ทั้งผักที่ใช้กินใบ
กินหัว กินราก กินดอก เป็นต้น การนำผักมาทำอาหารเด็กได้ประสบการณ์จากผักเป็นจำนวนมาก เช่น
1 ลักษณะของผักประเถทต่างๆ
2 ขั้นตอนการนำผักมาทำอาหาร
3 การทำความสะอาดผักและสุขนิสัยของการกินผัก
4 ส่วนประกอบต่างๆของผัก
5 ความภูมิใจของการได้ทำอาหาร และการทำอาหารได้
6 การรู้จักการใช้อุปกรณ์ในการทำอาหารลักษณะต่างๆ
7 การฝึกการสังเกต การจำแนก การจัดหมวดหมู่ เมื่อนำผักมาทำอาหาร
จึงเห็นได้ว่าถึงแม้จะเป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างมาก
2553/03/19
มารู้จักหนังสือเล่มใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย
หนังสือเล่มใหญ่ที่ใช้กับเด็กปฐมวัยเพื่อการสอนอ่านนั้น เหมาะสมสำหรับการสอนอ่านให้กับเด็กเล็กๆ มีลักษณะของหนังสือที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือขนาดของรูปเล่ม มีความกว้าง 15 นิ้ว สูง 21 นิ้ว (โดยประมาณ) ส่วน หนังสือเล่มเล็ก กว้าง 8.5 นิ้ว สูง 11.5 นิ้ว (โดยประมาณ) ส่วนลักษณะอื่นๆ มีดังนี้
เนื้อเรื่อง เป็นเรื่องที่เด็กชอบ สนใจ สนุกสนาน มีการผูกเรื่องให้เด็กคิดคาดคะเนทายเหตุการณ์
และสอดแทรกการเรียนรู้ที่ไม่ใช้วิธีสั่งสอนโดยตรง แต่เน้นความสนุก ตื่นเต้น และให้เด็กคิดได้ด้วยตนเอง
ภาษาที่ใช้ ใช้ภาษาที่ง่าย คำซ้ำ คำคุ้นเคย ประโยคสั้น ข้อความง่ายๆ ตัวหนังสือพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มาตรฐาน เว้นช่องไฟถูกต้อง และพิมพ์แยกจากภาพประกอบ
ระยะเวลาการใช้หนังสือเล่มใหญ่ หนังสือเล่มใหญ่ 1 เล่ม ครูใช้เทคนิคการสอนสำคัญจนถึงขั้นอ่านทบทวน จึงแจกหนังสือเล่มเล็กให้เด็กกลับไปอ่านกับผู้ปกครองหรือพี่ที่บ้าน
การอ่านหนังสือเล่มใหญ่ จึงมีการใช้กิจกรรมการอ่านหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านให้ฟัง
การอ่านร่วมกัน การอ่านอิสระ การอ่านกับเพื่อน นอกจากนั้นคำนึงถึงการพัฒนาทักษะทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ที่ใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นหลัก
เนื้อเรื่อง เป็นเรื่องที่เด็กชอบ สนใจ สนุกสนาน มีการผูกเรื่องให้เด็กคิดคาดคะเนทายเหตุการณ์
และสอดแทรกการเรียนรู้ที่ไม่ใช้วิธีสั่งสอนโดยตรง แต่เน้นความสนุก ตื่นเต้น และให้เด็กคิดได้ด้วยตนเอง
ภาษาที่ใช้ ใช้ภาษาที่ง่าย คำซ้ำ คำคุ้นเคย ประโยคสั้น ข้อความง่ายๆ ตัวหนังสือพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มาตรฐาน เว้นช่องไฟถูกต้อง และพิมพ์แยกจากภาพประกอบ
ระยะเวลาการใช้หนังสือเล่มใหญ่ หนังสือเล่มใหญ่ 1 เล่ม ครูใช้เทคนิคการสอนสำคัญจนถึงขั้นอ่านทบทวน จึงแจกหนังสือเล่มเล็กให้เด็กกลับไปอ่านกับผู้ปกครองหรือพี่ที่บ้าน
การอ่านหนังสือเล่มใหญ่ จึงมีการใช้กิจกรรมการอ่านหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านให้ฟัง
การอ่านร่วมกัน การอ่านอิสระ การอ่านกับเพื่อน นอกจากนั้นคำนึงถึงการพัฒนาทักษะทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ที่ใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นหลัก
2553/03/17
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ : ไม่ยากสำหรับเด็กเล็ก
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเล็กนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยากเพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็ก มีลักษณะเป็นกายภาพ กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำจึงควรให้เด็กได้ฝึกโดยอาศัยการสังเกต การทดลอง การถามคำถาม เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านการเสาะแสวงหา ให้เด็กได้ลองจับ ให้ถาม ให้สัมผัส ให้ชิม ให้ดู ให้คิด ให้สังเกต ให้มีโอกาสได้ทดลอง ฯลฯ พฤติกรรมดังกล่าวที่ต้องการให้เกิดกับเด็กนี้ ครูต้องคิดกิจกรรม
และหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม มีการเตรียมสภาพแวดล้อมและสถานที่ให้สอดคล้องด้วย กิจกรรมอาจให้ทำทั้งกลุ่มหรือเดี่ยว โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดเจตคติ เนื้อหาที่จัดอาจเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น การทดลองเกี่ยวกับน้ำ อากาศ
ลม เป็นต้น
และหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม มีการเตรียมสภาพแวดล้อมและสถานที่ให้สอดคล้องด้วย กิจกรรมอาจให้ทำทั้งกลุ่มหรือเดี่ยว โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดเจตคติ เนื้อหาที่จัดอาจเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น การทดลองเกี่ยวกับน้ำ อากาศ
ลม เป็นต้น
2553/03/16
สนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง
นิทานให้ประโยชน์ต่อเด็กหลายอย่าง ถ้าเด็กได้ฟังนิทานจากผู้ใหญ่ตั้งแต่เล็ก เด็กจะได้รับการพัฒนาในหลายด้าน ดังนั้นต้องชี้แจงและสนับสนุนให้พ่อแม่เล่านิทาน และให้เข้าใจว่า การเล่านิทานเป็นสิ่งที่ไม่ยาก พ่อแม่อย่าเบื่อ ช่วงเด็กอายุ 0-6 ขวบ เป็นวัยทองของชีวิต ต้องรีบและทำในช่วงที่เหมาะสมนี้ เมื่อเด็กอ่านได้เอง เขาก็ค้นคว้าและเสาะแสวงหาได้เอง สำหรับการเล่านิทานให้กับเด็กของพ่อแม่ทำได้อย่างหลากหลาย และทำได้ในสถานการณ์ เช่น
การเล่านิทานก่อนนอน เด็กจะชอบมากเมื่อมีพ่อแม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอนถึงแม้จะเป็นนิทานที่เคยฟังมาแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมที่ต้องการให้เด็กได้ซึมซับตั้งแต่เล็ก
การเล่านิทานระหว่างเดินทาง ช่วงเดินทางถ้าพ่อแม่เล่านิทานให้ฟัง เด็กจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมได้รับประสบการณ์ที่ได้พบตลอดระยะทางของการเดินทาง หรือเด็กได้เกิดจินตนาการในเรื่องต่างๆที่เกิดจากการฟังนิทาน
การเล่านิทานยามว่าง เมื่อพ่อแม่มีเวลาว่างแล้วเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นช่วงที่เหมาะสมเพราะไม่มีภาระหรือหน้าที่จะต้องทำ พ่อแม่ต้องการจะให้เด็กมีประสบการณ์ด้านใด มีความต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร สามารถทำได้จากการเล่านิทานนี้
การเล่านิทานของพ่อแม่นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็ก พ่อแม่จะต้องมีความตระหนักในความสำคัญดังกล่าว และพยายามปฏิบัติให้ได้อย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว ลูกก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป
การเล่านิทานก่อนนอน เด็กจะชอบมากเมื่อมีพ่อแม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอนถึงแม้จะเป็นนิทานที่เคยฟังมาแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมที่ต้องการให้เด็กได้ซึมซับตั้งแต่เล็ก
การเล่านิทานระหว่างเดินทาง ช่วงเดินทางถ้าพ่อแม่เล่านิทานให้ฟัง เด็กจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมได้รับประสบการณ์ที่ได้พบตลอดระยะทางของการเดินทาง หรือเด็กได้เกิดจินตนาการในเรื่องต่างๆที่เกิดจากการฟังนิทาน
การเล่านิทานยามว่าง เมื่อพ่อแม่มีเวลาว่างแล้วเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นช่วงที่เหมาะสมเพราะไม่มีภาระหรือหน้าที่จะต้องทำ พ่อแม่ต้องการจะให้เด็กมีประสบการณ์ด้านใด มีความต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร สามารถทำได้จากการเล่านิทานนี้
การเล่านิทานของพ่อแม่นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็ก พ่อแม่จะต้องมีความตระหนักในความสำคัญดังกล่าว และพยายามปฏิบัติให้ได้อย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว ลูกก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป
2553/03/04
ส่งเสริมให้เด็กแสดงออกในทางที่ถูกต้อง
ครูปฐมวัยต้องคอยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม การจัด
ประสบการณ์ให้กับเด็กครูจะต้องคำนึงถึงด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก การแสดงออกของเด็กควรให้เด็กมีความรู้สึกมั่นใจในการแสดงออก สิ่งที่ครูควรปฏิบัติต่อเด็กในเรื่องดังกล่าวคือ
1 บอกการปฏิบัติแก่เด็กอย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับเหตุการณ์
2 บอกวิธีการปฏิบัติแก่เด็กด้วยวิธีที่ง่ายและชัดเจน เด็กเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
3 เป็นตัวอย่างแก่เด็กในพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
4 จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจในการแสดงออก
5 ส่งเสริมและสนับสนุนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยการให้คำชมเชย และภาษาท่าทางที่ให้เด็กมีความมั่นใจ
6 การแสดงออกที่ถูกต้องและเหมาะสมของครูจะต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ดังนั้นนอกจากการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงว่าไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กอีกหลายประการ อย่างเช่นการใช้คำพูดที่เป็นการดุด่า การตะคอก เป็นต้น
ประสบการณ์ให้กับเด็กครูจะต้องคำนึงถึงด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก การแสดงออกของเด็กควรให้เด็กมีความรู้สึกมั่นใจในการแสดงออก สิ่งที่ครูควรปฏิบัติต่อเด็กในเรื่องดังกล่าวคือ
1 บอกการปฏิบัติแก่เด็กอย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับเหตุการณ์
2 บอกวิธีการปฏิบัติแก่เด็กด้วยวิธีที่ง่ายและชัดเจน เด็กเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
3 เป็นตัวอย่างแก่เด็กในพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
4 จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจในการแสดงออก
5 ส่งเสริมและสนับสนุนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยการให้คำชมเชย และภาษาท่าทางที่ให้เด็กมีความมั่นใจ
6 การแสดงออกที่ถูกต้องและเหมาะสมของครูจะต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ดังนั้นนอกจากการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงว่าไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กอีกหลายประการ อย่างเช่นการใช้คำพูดที่เป็นการดุด่า การตะคอก เป็นต้น
2553/03/03
การแก้ปัญหาความซนของเด็กเล็ก
การจะปรับพฤติกรรมของเด็กเล็กเกี่ยวกับความซนของเด็กเป็นเรื่องไม่ยาก ครูจะต้องเข้าใจและคิดว่าเป็นเรื่องที่ปรับได้ง่ายแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และให้ความสนใจอย่างถูกต้องและเหมาะสม
สิ่งที่จะต้องปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีดังนี้
1 ครูต้องเป็นตัวแบบที่ดีให้กับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องการปฏิบัติด้านการมีวินัย
2 สอนและแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ดี โดยการใช้นิทาน การให้คำชมเชย การให้กำลังใจ
3 การสร้างวินัย ให้เด็กเรียนรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติทางสังคมที่ถูกต้อง เด็กต้องรู้ว่าบริเวณไหนที่เด็กเดินได้ วิ่งได้ วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถาณการณ์ต่างๆ
4 ให้ความสำคัญกับครอบครัว พ่อแม่ ของเด็กแต่ละคนในการร่วมปลูกฝังการมีวินัย และการ
รู้พฤติกรรมของเด็ก
ทั้งหมดที่กล่าวคงจะแก้ปัญหาของเด็กได้ แต่ต้องอยู่ที่ความตั้งใจของผู้ใหญ่ที่จะทำให้สำเร็จ
สิ่งที่จะต้องปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีดังนี้
1 ครูต้องเป็นตัวแบบที่ดีให้กับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องการปฏิบัติด้านการมีวินัย
2 สอนและแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ดี โดยการใช้นิทาน การให้คำชมเชย การให้กำลังใจ
3 การสร้างวินัย ให้เด็กเรียนรู้ระเบียบวิธีปฏิบัติทางสังคมที่ถูกต้อง เด็กต้องรู้ว่าบริเวณไหนที่เด็กเดินได้ วิ่งได้ วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถาณการณ์ต่างๆ
4 ให้ความสำคัญกับครอบครัว พ่อแม่ ของเด็กแต่ละคนในการร่วมปลูกฝังการมีวินัย และการ
รู้พฤติกรรมของเด็ก
ทั้งหมดที่กล่าวคงจะแก้ปัญหาของเด็กได้ แต่ต้องอยู่ที่ความตั้งใจของผู้ใหญ่ที่จะทำให้สำเร็จ
เด็กเล็กเรียนรู้จากการกระทำและสัมผัส
การเรียนรู้ของเด็กเล็กหรือเด็กปฐมวัย เกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ลองปฏิบัติ ได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ
ด้วยตัวของเด็กเอง โดยมีครู ผู้ใหญ่คอยสนับสนุน คอยชี้แนะ มีสังคมคอยเป็นกำลังสำคัญ มีเพื่อนคอยช่วยคิด ช่วยทำ สิ่งที่เด็กวัยนี้จะทำอะไร จะต้องชี้แจงอย่างชัดเจน มีความเป็นรูปธรรมอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมไปอ้อมมา เด็กจึงจะเข้าใจ การพูดเปรียบเทียบ เด็กส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ เด็กอายุช่วง 3-7 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองที่สูงมาก ต้องการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก ประสบการณ์ต่างๆที่ได้พบอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่เด็กได้พบจึงมีความหมายกับเด็ก เด็กชอบซักถาม เริ่มสงสัย มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของเด็กในวัยนี้ยังไม่ซับซ้อน การพูดเปรียบเทียบ
ไม่ตรงไปตรงมา การพูดล้อเล่น การพูดแหย่ การแกล้งเด็ก บางครั้งเด็กจะไม่เข้าใจ ดังนั้นต้องระมัดระวัง เพราะเด็กคิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง มีผู้เสนอแนะว่าถ้าจะเล่นกับเด็กต้องบอกหรือชี้แจงเด็กให้เข้าใจ
ให้ชัดเจนก่อนที่เด็กจะเข้าใจอะไรผิดๆ แล้วนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดี และที่สำคัญอาจนำไปสู่การแสดงบุคลิกไม่มั่นใจในตัวเอง ขี้อาย เพราะเด็กยังคิดได้แบบรูปธรรม คิดแบบตรงไปตรงมา ตรงนี้ครูปฐม
วัย จะต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาขณะจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
ด้วยตัวของเด็กเอง โดยมีครู ผู้ใหญ่คอยสนับสนุน คอยชี้แนะ มีสังคมคอยเป็นกำลังสำคัญ มีเพื่อนคอยช่วยคิด ช่วยทำ สิ่งที่เด็กวัยนี้จะทำอะไร จะต้องชี้แจงอย่างชัดเจน มีความเป็นรูปธรรมอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมไปอ้อมมา เด็กจึงจะเข้าใจ การพูดเปรียบเทียบ เด็กส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ เด็กอายุช่วง 3-7 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองที่สูงมาก ต้องการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก ประสบการณ์ต่างๆที่ได้พบอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่เด็กได้พบจึงมีความหมายกับเด็ก เด็กชอบซักถาม เริ่มสงสัย มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของเด็กในวัยนี้ยังไม่ซับซ้อน การพูดเปรียบเทียบ
ไม่ตรงไปตรงมา การพูดล้อเล่น การพูดแหย่ การแกล้งเด็ก บางครั้งเด็กจะไม่เข้าใจ ดังนั้นต้องระมัดระวัง เพราะเด็กคิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง มีผู้เสนอแนะว่าถ้าจะเล่นกับเด็กต้องบอกหรือชี้แจงเด็กให้เข้าใจ
ให้ชัดเจนก่อนที่เด็กจะเข้าใจอะไรผิดๆ แล้วนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดี และที่สำคัญอาจนำไปสู่การแสดงบุคลิกไม่มั่นใจในตัวเอง ขี้อาย เพราะเด็กยังคิดได้แบบรูปธรรม คิดแบบตรงไปตรงมา ตรงนี้ครูปฐม
วัย จะต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาขณะจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
ข้อดีที่พบจากการเรียนการสอนแบบ Montessori
จากการได้ไปเยี่ยมห้องเรียนที่จัดการสอนแบบ Montessori ที่โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง ได้พบสิ่งดีๆ หลายประการ ถือได้ว่าเป็นสิ่งดีที่ปลูกฝังให้กับเด็กเล็กของเรา สิ่งดีนั้นได้แก่
1 ความมีสมาธิที่เกิดกับเด็ก เด็กทำงานได้นาน เพราะเด็กได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองต้องการ
ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เรา เด็กที่ได้พบนั้นมีสมาธิในการทำงานยาวกว่าเด็กปกติโดยทั่วไป
2 ไม่มีการเปรียบเทียบการทำงานของเด็กในแต่ละคน กิจกรรมที่เด็กทำเป็นกิจกรรมที่สร้างความภูมิใจ เพราะทำสำเร็จด้วยตนเอง ไม่มีการเปรียบเทียบ หรือแข่งขันกับคนอื่น เด็กที่ช้าก็จะใช้เวลานานในการทำกิจกรรมโดยไม่รบกวนผู้อื่น เด็กที่เรียนไวก็จะสามารถทำงานในระดับที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้สึกเหนื่อย
3 เด็กอยู่ร่วมกันด้วยการช่วยเหลือ แบ่งปัน เด็กที่โตกว่าให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เด็กที่มีอายุน้อยกว่า
4 มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ โดยมีความตั้งใจที่เกิดขึ้นภายในตัวของเด็กเองไม่ใช่เกิดจากการสั่งการจากผู้อื่น
สิ่งดังกล่าวได้เห็นในช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่ก็สิ่งที่เกิดกับเด็กเป็นสิ่งที่วางรากฐานชีวิตของเขาเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
1 ความมีสมาธิที่เกิดกับเด็ก เด็กทำงานได้นาน เพราะเด็กได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองต้องการ
ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เรา เด็กที่ได้พบนั้นมีสมาธิในการทำงานยาวกว่าเด็กปกติโดยทั่วไป
2 ไม่มีการเปรียบเทียบการทำงานของเด็กในแต่ละคน กิจกรรมที่เด็กทำเป็นกิจกรรมที่สร้างความภูมิใจ เพราะทำสำเร็จด้วยตนเอง ไม่มีการเปรียบเทียบ หรือแข่งขันกับคนอื่น เด็กที่ช้าก็จะใช้เวลานานในการทำกิจกรรมโดยไม่รบกวนผู้อื่น เด็กที่เรียนไวก็จะสามารถทำงานในระดับที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้สึกเหนื่อย
3 เด็กอยู่ร่วมกันด้วยการช่วยเหลือ แบ่งปัน เด็กที่โตกว่าให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เด็กที่มีอายุน้อยกว่า
4 มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ โดยมีความตั้งใจที่เกิดขึ้นภายในตัวของเด็กเองไม่ใช่เกิดจากการสั่งการจากผู้อื่น
สิ่งดังกล่าวได้เห็นในช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่ก็สิ่งที่เกิดกับเด็กเป็นสิ่งที่วางรากฐานชีวิตของเขาเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)