การสร้างความรู้สึกทางบวกให้กับเด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใหญ่ส่วนมากจะเห็นว่าไม่เห็นต้องสนใจ โตขึ้นก่อนแล้วค่อยคำนึงก็ได้ เด็กไม่รู้เรื่องทำอะไรก็ได้ ความคิดดังกล่าว จำเป็นต้องปรับและเปลี่ยนแปลงความคิดดังกล่าวตั้งแต่ตอนนี้ถ้าเราต้องการจะได้เด็กที่โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และเป็นคนที่ดีในอนาคต สิ่งที่ต้องทำเพื่อสร้างให้เด็กมีความรู้สึกทางบวกมีดังนี้
1. ชื่นชมเด็กเมื่อเด็กทำดี
2. ระมัดระวังในการใช้คำพูดกับเด็ก
-งดใช้คำว่า อย่า
-ไม่ประนาม เยาะเย้ย ค่อนแคะ หัวเราะเยาะ
-ไม่ออกคำสั่ง
-ไม่บังคับข่มขู่
-ไม่ครอบงำทางความคิด
-ไม่ทำตลกล้อเลียนจุดบกพร่องของเด็ก
3. ท้าทายให้เด็กได้แสดงความสามารถ
4. ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
5. กระตุ้นความคิดของเด็ก
6. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
7. แสดงออกถึงความรัก และความเข้าใจเด็ก
8. ปลูกฝังนิสัยและค่านิยมที่ดีให้เด็ก
-ความอดทนอดกลั้น
-รักษากฏ กติกา
-มีเหตุผล
-ซื่อสัตย์
-ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ไม่ยากสำหรับผู้ใหญ่ที่จะทำให้กับเด็กของเรา แต่พวกเรามักจะละเลย
และมองข้ามเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่เด็กไม่คิดเช่นนั้น เราจึงต้องคิดและทำใหม่ให้ได้ต่อไป
2553/01/29
2553/01/28
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
การจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กปฐมวัยเป็นคนดีที่สังคมไทยต้องการในขณะนี้ จำเป็นที่จะต้องมีกรอบความคิดหรือมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ต้องการให้เด็กมีความเมตตา ซื่อสัตย์ การรู้จักการให้ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูล นั้น จะต้องจัดประสบการณ์ด้วยความรัก ความผูกพัน จากการสัมผัส และคำพูดชื่นชม เมื่อเด็กทำดี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองของเด็กสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมาเชื่อมโยงเซลล์สมองทำให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาในเชิงบวก ทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ เมื่อเด็กทำดี จะทำให้เด็กเติบโตในภาวะอารมณ์ที่มั่นคง และอบอุ่น ทำให้เด็กมีทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต และมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความไว้วางใจและความรู้สึกห่วงใยผู้อื่น มีความละเอียดอ่อนต่อการใช้ชีวิต ดังนั้น การจะทำให้เด็กเป็นคนดีสิ่งสำคัญคือ การให้ความรัก ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดประสบการณ์ ถ้าเด็กขาดความรักตั้งแต่แรกแล้ว ต่อไปจะให้เด็กของเราเป็นคนดีย่อมจะหวังได้อย่างยากยิ่ง
2553/01/20
ความแตกต่างของสมอง : ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
มีข้อมูลกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสมองผู้หญิงและผู้ชาย ที่เป็นการค้นพบโดยเฉลี่ยแล้ว สมองเพศหญิงจะมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่าชาย เฉพาะอย่างยิ่งด้านการอ่านและการฟัง ซึงอธิบายว่า ความแตกต่างระหว่างชายหญิงเป็นผลมาจากการปรับตัวขอบงสมอง ระหว่างการวิวัฒนาการของมนุษย์ ในอดีตผู้ชายเป็นนักล่าสัตว์มาก่อน ทำให้ทักษะในการมองเห็นได้รับการพัฒนาอย่างมาก รวมทั้งทักษะเกี่ยวกับการเข้าใจข้อมุลที่เป็นระยะ มิติ รูปร่าง ขนาด จำนวน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ส่วนผู้หญิงเลี้ยงดูบุตร ทำให้มีการพัฒนาทักษะภาษานอกจ รวมทั้งความรู้สึกอ่อนไหวต่อเหตุการณ์รอบๆตัว และความสามารถในการสื่อสาร ดังนั้นเวลาจะเรียนรู้ ต้องมีความเข้าใจลักษณะความแตกต่างดังกล่าว การจัดการเรียนสำหรับผู้ชายต้องใช้รูปภาพ ของจริง สิ่งของที่มีระยะ มิติ เข้าช่วยในการเรียนรู้ ส่วนผู้หญิงจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นถ้าได้ยินเสียง ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษา ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนั้นยังเก่งในการรับรู้รายละเอียด มีความสนใจในเรื่องความรู้สึกต่างๆ ความรู้เช่นนี้ ครูหรือผู้จัดการเรียนรู้จะต้องนำไปเป็นใช้ประกอบในการพัฒนาเด็ก
2553/01/19
ข้อคิดในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย หรือการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่ต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของเด็ก พัฒนาการของเด็กในวัย
ต่างๆ ต้องรู้จักการจัดกิจกรรมในแบบต่างๆ สำหรับข้อคิดและวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวพอจะกล่าวได้ดังนี้
1. อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ การอ่านเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเล็ก ถ้าหนังสือน่าสนใจ เด็กจะอยากฟัง ถึงแม้จะมีคำศัพย์ยาก เด็กก็จะเข้าใจเนื่องจากเด็กสนใจทำให้อยากรู้ ดังนั้นเด็กก็จะมีคลังคำสะสมอยู่ในสมอง
2. การเรียนรู้ต้องมีบรรยากาศที่ช่วยกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ การ
สร้างบรรยากาศที่กดดันเด็กไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เลย เช่น การขู่เข็ญ การบังคับ การลงโทษ
3. สมองจะเกิดการเรียนรู้ถ้ามีความสนใจ สมองจะสนใจ ตัองมีการกระตุ้นด้วยวิธีต่างๆ เช่น สื่ออุปกรณ์ วิธีการสอนที่น่าสนใจ เนื้อหาการสอน การยัดเยียดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ความหมายสำหรับการเรียนรู้ของเด็กเล็ก
4. กิจกรรมการเรียนรู้ต้องออกแบบให้มีการใช้สมองหลายส่วน การสอนเด็กมีหลักสำคัญ คือ ให้สมองของเด็กได้เข้าร่วมในการเรียนรู้หลายส่วน ได้แก่ ส่วนรับภาพ ส่วนรับเสียง ส่วนรับสัมผัส ส่วนรับกลิ่น ส่วนรับรส เป็นต้น ยิ่งสมองหลายส่วนเข้าร่วมในการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ยิ่งเกิดเร็วขึ้น
5. กระตุ้นสมองส่วนรับภาพ ครูจำเป็นจะต้องใช้วิธีการหรือสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่กระตุ้นสมองในส่วนของการรับภาพ ไม่ใช่ใช้วิธีการพูดหรือการบรรยายอย่างเดียวแล้วคิดว่าเด็กเข้าใจ ยิ่งเด็กเล็กจะต้องหาทางให้เด็กได้เห็นขณะที่เด็กเรียนรู้
จึงเป็นข้อเสนอแนะบางประการเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งจำเป็นต้องศึกษาและนำไปปฏิบัติต่อไป
ต่างๆ ต้องรู้จักการจัดกิจกรรมในแบบต่างๆ สำหรับข้อคิดและวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวพอจะกล่าวได้ดังนี้
1. อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ การอ่านเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเล็ก ถ้าหนังสือน่าสนใจ เด็กจะอยากฟัง ถึงแม้จะมีคำศัพย์ยาก เด็กก็จะเข้าใจเนื่องจากเด็กสนใจทำให้อยากรู้ ดังนั้นเด็กก็จะมีคลังคำสะสมอยู่ในสมอง
2. การเรียนรู้ต้องมีบรรยากาศที่ช่วยกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ การ
สร้างบรรยากาศที่กดดันเด็กไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เลย เช่น การขู่เข็ญ การบังคับ การลงโทษ
3. สมองจะเกิดการเรียนรู้ถ้ามีความสนใจ สมองจะสนใจ ตัองมีการกระตุ้นด้วยวิธีต่างๆ เช่น สื่ออุปกรณ์ วิธีการสอนที่น่าสนใจ เนื้อหาการสอน การยัดเยียดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ความหมายสำหรับการเรียนรู้ของเด็กเล็ก
4. กิจกรรมการเรียนรู้ต้องออกแบบให้มีการใช้สมองหลายส่วน การสอนเด็กมีหลักสำคัญ คือ ให้สมองของเด็กได้เข้าร่วมในการเรียนรู้หลายส่วน ได้แก่ ส่วนรับภาพ ส่วนรับเสียง ส่วนรับสัมผัส ส่วนรับกลิ่น ส่วนรับรส เป็นต้น ยิ่งสมองหลายส่วนเข้าร่วมในการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ยิ่งเกิดเร็วขึ้น
5. กระตุ้นสมองส่วนรับภาพ ครูจำเป็นจะต้องใช้วิธีการหรือสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่กระตุ้นสมองในส่วนของการรับภาพ ไม่ใช่ใช้วิธีการพูดหรือการบรรยายอย่างเดียวแล้วคิดว่าเด็กเข้าใจ ยิ่งเด็กเล็กจะต้องหาทางให้เด็กได้เห็นขณะที่เด็กเรียนรู้
จึงเป็นข้อเสนอแนะบางประการเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งจำเป็นต้องศึกษาและนำไปปฏิบัติต่อไป
2553/01/07
กิจกรรมพัฒนาระบบสร้างสมดุลร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
การพัฒนาร่างกายสำหรับเด็กเล็กมีความสำคัญเพราะร่างกายนั้นเกี่ยวข้องกับความพร้อมด้านต่างๆด้วย การที่เด็กมีความพร้อมด้านร่างกายจะส่งผลต่อการพัฒนาสมอง การพัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ ฯลฯ การสร้างสมดุลของร่างกายเป็นกิจกรรมที่ฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การหมุนรอบตัวเอง การเคลื่อนไหวในแนวราบ การเคลื่อนไหวในแนวดิ่ง ซึ่งทำได้หลายลักษณะ เช่น
1. การกระโดดยาง กระโดดเท้าคู่
2. การกลิ้งตัวในกล่องแข็ง การกลิ้งไปบนพื้นราบ หรือการกลิ้งลงทางลาด
3. กิจกรรมการแกว่งทั้งในแนวเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
4. การหมุนทั้งทวนและตามเข็มนาฬิกา
5 การเล่นกระดานลื่น การปีนเครื่องเล่นสนาม
6. การเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ ไม่ราบเรียบ
7. กิจกรรมการโยก
8. การทรงตัว
9. การวิ่งจ๊อกกิ๊ง
10 การตีลังกา
1. การกระโดดยาง กระโดดเท้าคู่
2. การกลิ้งตัวในกล่องแข็ง การกลิ้งไปบนพื้นราบ หรือการกลิ้งลงทางลาด
3. กิจกรรมการแกว่งทั้งในแนวเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
4. การหมุนทั้งทวนและตามเข็มนาฬิกา
5 การเล่นกระดานลื่น การปีนเครื่องเล่นสนาม
6. การเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ ไม่ราบเรียบ
7. กิจกรรมการโยก
8. การทรงตัว
9. การวิ่งจ๊อกกิ๊ง
10 การตีลังกา
2553/01/06
เรื่องเล่าจากประสบการณ์ของนักเขียน
คุณพรอนงค์ นิยมค้า นักเขียนและนักแปลที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ได้เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องหนังสือภาพ เมื่อตอนที่ลูกยังเล็ก ได้เล่าว่าลูกสาวเป็นลูกครึ่งไทย- ญี่ปุ่น เธอจึงอ่านหนังสือภาพภาษาญี่ปุ่นให้ลูกฟังเป็นประจำ ขณะที่ลูกอยู่เมืองไทย แล้วคุณพรอนงค์ก็ได้เล่าต่อไปว่า วันหนึ่งพี่เห็นลูกเขียนตัวหนังสือญี่ปุ่น ตอนนั้นเขาอายุประมาณ 3 ขวบกว่า ยังไม่เข้าโรงเรียนเลย ลูกเขียนถูกด้วย ทั้งๆ ที่ไม่เคยสอนลูกเขียนตัวหนังสือญี่ปุ่นมาก่อนเลย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งในการสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กๆ ควรจะได้รู้จักภาษาและตัวอักษรด้วยความรู้สึกที่ดี ก่อนที่จะต้องเริ่มต้นเรียนหนังสือ ฉะนั้นหนังสือเล่มแรกๆ ของเด็กเล็กจึงควรเป็นหนังสือภาพ ที่ประกอบด้วยภาพประเภทต่างๆ ทั้งภาพสัตว์ เทวดา นางฟ้า ดอกไม้ ต้นไม้ ฯลฯ ไม่ใช่เป็นหนังสือที่ฝึกการอ่าน มีแต่ตัว
พยัญชนะ ตัวสระ ที่สอนการอ่านอย่างเป็นทางการ และน่าเบื่อมากสำหรับเด็กเล็ก เพราะเป็นสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจ ตลอดจนไม่มีความหมายสำหรับเด็กเลย หากสภาพการเรียนรู้ภาษาของเด็กต้องทนทุกข์ทรมานแล้วก็จะทำให้เด็กเบื่อ จึงไม่เป็นผลดีต่อการเรียนภาษาของเด็ก
พยัญชนะ ตัวสระ ที่สอนการอ่านอย่างเป็นทางการ และน่าเบื่อมากสำหรับเด็กเล็ก เพราะเป็นสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจ ตลอดจนไม่มีความหมายสำหรับเด็กเลย หากสภาพการเรียนรู้ภาษาของเด็กต้องทนทุกข์ทรมานแล้วก็จะทำให้เด็กเบื่อ จึงไม่เป็นผลดีต่อการเรียนภาษาของเด็ก
2553/01/05
กิจกรรมอาสาสมัคร : การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อการจัดการศึกษาปฐมวัย
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยนั้น ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และที่สำคัญคือผู้ปกครอง ปัจจุบันนี้โรงเรียนจะจัดการหรือพัฒนาการศึกษาโดยลำพังไม่ได้แล้ว ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองเป็นกำลังสำคัญ อย่างเช่น กิจกรรมอาสาสมัคร น่าจะเป็นไปได้สำหรับสังคมไทยเราขณะนี้ อย่างแรกที่จะต้องทำคือ การสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญ และความจำเป็นในการร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาปฐมวัยนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สำหรับกิจกรรมอาสาสมัคร หมายถึง การที่ผู้ปกครองเข้ามาร่วมกับทางโรงเรียนโดยเป็นอาสาสมัครในการทำกิจกรรมของโรงเรียนทั้งในส่วนของภาพรวมทั้งโรงเรียน และในส่วนของห้องเรียน ลักษณะของกิจกรรมอย่างเช่น การเป็นครูช่วยสอน การเล่านิทาน การพานักเรียนปฐมวัยไปทัศนศึกษา การทำงานธุรการในโรงเรียน การทำอาหารกลางวัน การหาทุนให้กับโรงเรียน การทำงานเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุด
การเป็นพยาบาลในห้องพยาบาล เป็นต้น สำหรับโรงเรียนนั้นจะต้องดำเนินการโดยกำหนดเป็นนโยบาย และจัดระบบอาสาสมัครที่ชัดเจน มีการมอบงานที่เหมาะสมกับความสามารถ การปฏิบัติงานมีการปฐมนิเทศ แนะนำ ฝึกอบรมผู้ปกครองก่อนปฏิบัติงาน มีการให้เกียรติและยอมรับความสามารถ และที่สำคัญมีการยกย่องสำหรับผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการเป็นอาสาสมัคร ถึงแม้จะไม่ได้รับเงินเป็นค่าตอบแทน
2553/01/03
หนังสือภาพ
หนังสือภาพ เป็นหนังสือสำหรับเด็ก ที่มีไว้ให้ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่เป็นหนังสือที่เด็กอ่านเอง
เด็กเล็กๆยังอ่านหนังสือไม่ออก แต่เด็กรู้ว่าหนังสือนั้นมีไว้เพื่ออ่าน และเป็นการสร้างความประทับใจที่มีต่อหนังสือ มีเจตคติที่ดีต่อหนังสือ หนังสือภาพมีทั้งภาพและตัวหนังสือปรากฎให้เด็กได้เรียนรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องอ่านให้เด็กฟัง การอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟังมีคุณค่ามหาศาล ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากภาพและเนื้อเรื่องที่ผู้ใหญ่อ่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาษา การใช้คำต่างๆ การใช้ประโยค ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการ คุณธรรมในด้านต่างๆ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
มีผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจผิดว่า รอให้เด็กอ่านหนังสือออกก่อนแล้วค่อยซื้อหนังสือให้ เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ต้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ใหญ่บ้านเรา มีผู้กล่าวว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ควรให้เด็กรู้จักหนังสือตั้งแต่เด็กยังไมรู้ว่าหนังสือคืออะไร เมื่อมีคนอ่านให้ฟัง ถ้าอ่านอย่างสนุกสนาน เด็กจะมีความสุขอันเกิดจากการฟัง และเริ่มเรียนรู้ว่าหนังสือ มีไว้เพื่อการอ่าน และเมื่อเด็กอ่านหนังสือได้แล้วเขาจะอ่านหนังสือได้ทันที โดยไม่มีใครต้องคอยบอก และจะมีพฤติกรรมรักการอ่านหนังสือ
ในที่สุด
เด็กเล็กๆยังอ่านหนังสือไม่ออก แต่เด็กรู้ว่าหนังสือนั้นมีไว้เพื่ออ่าน และเป็นการสร้างความประทับใจที่มีต่อหนังสือ มีเจตคติที่ดีต่อหนังสือ หนังสือภาพมีทั้งภาพและตัวหนังสือปรากฎให้เด็กได้เรียนรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องอ่านให้เด็กฟัง การอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟังมีคุณค่ามหาศาล ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากภาพและเนื้อเรื่องที่ผู้ใหญ่อ่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาษา การใช้คำต่างๆ การใช้ประโยค ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการ คุณธรรมในด้านต่างๆ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
มีผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจผิดว่า รอให้เด็กอ่านหนังสือออกก่อนแล้วค่อยซื้อหนังสือให้ เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ต้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ใหญ่บ้านเรา มีผู้กล่าวว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ควรให้เด็กรู้จักหนังสือตั้งแต่เด็กยังไมรู้ว่าหนังสือคืออะไร เมื่อมีคนอ่านให้ฟัง ถ้าอ่านอย่างสนุกสนาน เด็กจะมีความสุขอันเกิดจากการฟัง และเริ่มเรียนรู้ว่าหนังสือ มีไว้เพื่อการอ่าน และเมื่อเด็กอ่านหนังสือได้แล้วเขาจะอ่านหนังสือได้ทันที โดยไม่มีใครต้องคอยบอก และจะมีพฤติกรรมรักการอ่านหนังสือ
ในที่สุด
2553/01/01
ลักษณะครูที่ส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
การส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ จึงจำเป็นต้อง
เข้าใจถึงลักษณะและจะต้องพยายามปฏิบัติให้ได้ ลักษณะของครูที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้
๐ มีความรักและเมตตาต่อเด็กเป็นประการสำคัญ
๐ มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี
๐ ให้ความสนใจในกระบวนการสร้างงานมากกว่าผลงานที่ออกมา
๐ ให้แรงเสริมในทางบวกแก่เด็ก
๐ ไม่เปรียบเทียบเด็ก และผลงานของเด็กกับเด็กคนอื่นๆ
๐ เน้นความคิดให้เด็กได้คิดอย่างเป็นอิสระ และส่งเสริมให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง
๐ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการจัดประสบการณ์ต่างๆ
๐ เน้นพัฒนาการของเด็กมากกว่าเนื้อหา และเรื่องราวที่เรียน
หากครูมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น เด็กของเราคงจะได้มีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ตามที่คาดหวังไว้
เข้าใจถึงลักษณะและจะต้องพยายามปฏิบัติให้ได้ ลักษณะของครูที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้
๐ มีความรักและเมตตาต่อเด็กเป็นประการสำคัญ
๐ มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี
๐ ให้ความสนใจในกระบวนการสร้างงานมากกว่าผลงานที่ออกมา
๐ ให้แรงเสริมในทางบวกแก่เด็ก
๐ ไม่เปรียบเทียบเด็ก และผลงานของเด็กกับเด็กคนอื่นๆ
๐ เน้นความคิดให้เด็กได้คิดอย่างเป็นอิสระ และส่งเสริมให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง
๐ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการจัดประสบการณ์ต่างๆ
๐ เน้นพัฒนาการของเด็กมากกว่าเนื้อหา และเรื่องราวที่เรียน
หากครูมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น เด็กของเราคงจะได้มีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ตามที่คาดหวังไว้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)