กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นจากการที่เด็กได้รับข้อมูลภายนอกโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ) ซึ่งได้จากการมองเห็น การฟัง การดมกลิ่น การรับรส การสัมผัส และอารมณ์ความรู้สึก สิ่งเหล่านี้เกี่ยวพันกับสมองที่จะเรียนรู้ตั้งแต่มนุษย์เกิดมา ถ้าเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ที่ทำให้เขาได้ใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ ยิ่งเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ สมองจะผลิตสารเคมีในสมองที่มีการเรียนรู้ ที่ตอนนี้เรารู้จักกันโดยทั่วไปคือซีโรโทนิน แลเอ็นดอร์ฟีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความพึงพอใจและความสุขใจ สารเคมีนี้จะทำให้สมองเปิดรับที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง และจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ยิ่งขึ้นต่อไป ตรงนี้เป็นหลักการที่สำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นประการแรก และจะต้องสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวจะต้องระลึกเสมอว่า สมองไม่ต้องการข้อมูลที่ใส่เข้าไปครั้งละมากๆ เหมือนการป้อนข้อมูลให้หุ่นยนต์ สมองต้องการเวลาในการที่จะหาความหมาย และย่อยข้อมูลแต่ละส่วน แล้วประมวลข้อมูล
ความรู้นั้นๆที่รับกับการเรียนรู้ของสมอง ณ เวลานั้น
จึงสรุปได้ว่าสมองเรียนรู้ด้วยการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองเรียนรู้ได้ดีจากของจริง สถานการณ์จริง การเรียนรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยให้การเรียนรู้ของแต่ละคนชัดเจนและคงทน
อาจารย์ เขียนบทความได้ดีมาก..ขออนุญาตเอาไป ลิงค์ไว้ ใน รวมพลคนเขียนบล็อก (ราชบุรี)นะครับ (http://rb-people.blogspot.com)
ตอบลบของใช้เด็ก, ผลิตภัณฑ์เด็ก, แม่และเด็ก, เด็กอ่อน, เด็กแรกเกิด, เด็กทารก, เสื้อผ้าเด็กอ่อน, เสื้อโทเร, เสื้อคอตตอน,ชุดเด็ก
ตอบลบby health for news