เด็กเล็กๆ ถ้าจะทำให้เขารักการอ่านนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มตั้งแต่บ้านโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง คนใกล้ชิด
เมื่อเด็กมาโรงเรียนครูจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม พอเหมาะกับความพร้อมและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ ตอนแรกของการให้เด็กรักการอ่านนั้น ควรเริ่มต้นจาการอ่านหรือเล่าเรื่องให้เด็กได้ฟังก่อน เด็กสนใจการอ่านจากการฟังเรื่องที่สนใจ น่าติดตาม ตื่นเต้น มหัศจรรย์ และเรื่องที่ใช้จินตนาการ ดังนั้นหนังสือนิทานจึงเป็นสื่อสำคัญที่ทำให้เด็กเกิดความรักในการอ่าน เมื่อให้เด็กฟังแล้ว ต่อไปทำให้เด็กมีความอยากอ่าน ในเด็กเล็ก การอ่านของเขาคือ การอ่านภาพ การอ่านจากการจำเรื่องได้จากผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง นอกจากนั้นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน มุมหนังสือในห้องเป็นมุมซึ่งขาดไม่ได้ เมื่อมีมุมหนังสือแล้ว ครูจำเป็นต้องมีวิธีการ และเทคนิคการจูงใจให้เด็กเข้ามุมหนังสือ เมื่อเด็กประทับใจแล้วเด็กก็จะยืมหนังสือกลับบ้าน
ในที่สุด เพื่อเอาไปให้พ่อแม่ ผู้ปกครองอ่านให้ฟังต่อไป จนเกิดเป็นพฤติกรรมรักการอ่านเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
2552/12/30
2552/12/29
การเล่นพัฒาการคิด
พัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ ไม่ว่าครู พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อช่วยกันพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ เมื่อเข้าใจพัฒนาการเด็กแล้ว การเล่นในเด็กถือเป็นการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและทำให้เด็กได้พัฒนาการ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการคิด เช่น
1. การเล่นบทบาทสมมุติ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน การเล่นขายของ เครื่องแต่งกายของคนอาชีพต่างๆ บ้านตุ๊กตา รถยนต์ของเล่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้คิดอย่างมีจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ได้คิดอย่างอิสระ
2. การเล่นเกมการศึกษา ฝึกให้เด็กได้รู้ค่าของจำนวน สามารถจัดประเภท จำแนก จัดหมวดหมู่
มีความสามารถในการสังเกต เปรียบเทียบ
3. การเล่นไม้บล็อก ฝึกการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การสังเกต การแก้ปัญหา
4. การเล่นเลียนแบบการกระทำและเสียงสัตว์ต่างๆ ส่งเสริมความคิดด้านการเชื่อมโยง จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
5. การเล่นอ่านหนังสือ พัฒนาทักษะทางภาษา ความคิดด้านจินตนาการ
ดังนั้นการเล่นของเด็กปฐมวัยส่งผลต่อการพัฒนาการคิดของเด็ก เราจึงควรส่งเสริมและสนับสนุน คอยดูแลจัดการสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก
1. การเล่นบทบาทสมมุติ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน การเล่นขายของ เครื่องแต่งกายของคนอาชีพต่างๆ บ้านตุ๊กตา รถยนต์ของเล่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้คิดอย่างมีจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ได้คิดอย่างอิสระ
2. การเล่นเกมการศึกษา ฝึกให้เด็กได้รู้ค่าของจำนวน สามารถจัดประเภท จำแนก จัดหมวดหมู่
มีความสามารถในการสังเกต เปรียบเทียบ
3. การเล่นไม้บล็อก ฝึกการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การสังเกต การแก้ปัญหา
4. การเล่นเลียนแบบการกระทำและเสียงสัตว์ต่างๆ ส่งเสริมความคิดด้านการเชื่อมโยง จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
5. การเล่นอ่านหนังสือ พัฒนาทักษะทางภาษา ความคิดด้านจินตนาการ
ดังนั้นการเล่นของเด็กปฐมวัยส่งผลต่อการพัฒนาการคิดของเด็ก เราจึงควรส่งเสริมและสนับสนุน คอยดูแลจัดการสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก
นิทาน: คุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กปฐมวัย
การเล่านิทาน หรือการอ่านนิทานให้กับเด็กเล็กฟังมีประโยชน์ และให้คุณค่ามหาศาลต่อเด็กเป็นอย่างมาก เด็กเล็กชอบฟังนิทานถึงแม้นิทานนั้นจะเป็นเรื่องเก่าก็ตาม เด็กทุกคนชอบฟังนิทาน เขาจะมีความสุข และมีความเพลิดเพลินเป็นประการแรกในการฟังนิทานที่ผู้ใหญ่เล่า ที่เด็กชอบนิทานเพราะ
นิทานมีลักษณะดังนี้
1. นิทานสนองจินตนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ คนหายตัวได้ มีเทวดา
นางฟ้า
2. นิทานสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เช่น ความรู้สึกตื่นเต้นในนิทาน ความรู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ขัน ความเพลิดเพลิน ในขณะฟังนิทาน และในตอนจบของเรื่อง
3. ตัวละครในนิทานมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น พระเอกทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป
4. นิทานมีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา สามารถตอบคำถามของเด็กได้ทันที ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และเป็นอย่างไร ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กที่อยากรู้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้น และผลเป็นอย่างไร
5.นิทานมีการดำเนินเรื่องที่มีความยุติธรรม ผู้ทำดีได้รับผลดี ส่วนทำไม่ดีได้รับผลไม่ดีตามผลการกระทำ
ดังนั้นนิทานจึงเป็นสื่อที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย
นิทานมีลักษณะดังนี้
1. นิทานสนองจินตนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ คนหายตัวได้ มีเทวดา
นางฟ้า
2. นิทานสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เช่น ความรู้สึกตื่นเต้นในนิทาน ความรู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ขัน ความเพลิดเพลิน ในขณะฟังนิทาน และในตอนจบของเรื่อง
3. ตัวละครในนิทานมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น พระเอกทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป
4. นิทานมีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา สามารถตอบคำถามของเด็กได้ทันที ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และเป็นอย่างไร ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กที่อยากรู้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้น และผลเป็นอย่างไร
5.นิทานมีการดำเนินเรื่องที่มีความยุติธรรม ผู้ทำดีได้รับผลดี ส่วนทำไม่ดีได้รับผลไม่ดีตามผลการกระทำ
ดังนั้นนิทานจึงเป็นสื่อที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย
2552/12/28
การเรียนรู้ภาษาในเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเล็กๆ ไม่ใช่การฝึกภาษาให้เด็กโดยการให้เด็กได้ใช้ปากแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ภาษาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสมอง การเรียนรู้ภาษาเป็นกระบวนการรับและประมวลข้อมูลของสมอง ความเข้าใจทางภาษาและการแสดงออกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมองเป็นหลัก และเกิดขึ้นเอง ซึ่งอาจใช้เวลากว่าจะแสดงออกในแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กทุกคนมีความแตกต่างกันในการเรียนรู้ภาษา การสอนให้เด็กทุกคนอ่าน เขียน ฟัง พูด พร้อมกันทั้งชั้นถือได้ว่าขัดกับความเป็นจริงและธรรมชาติของการสอนภาษา เพราะเด็กแต่ละคนเกิดมาแตกต่างกัน มีความพร้อมที่แตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ธรรมชาติของการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ฯลฯ แม้เด็กจะอ่านออกเขียนได้ช้ากว่าที่เราคิดไว้ แต่เมื่อเด็กมีความพร้อมแล้ว เขาอาจจะเร็วกว่าคนที่ก้าวไปก่อนก็ได้ ดั้งนั้นการสอนภาษาให้กับเด็ก ผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีความรู้และเข้าใจสิ่งที่เป็นปัจจัยต่อการสอนภาษา กิจกรรมการอ่านให้ฟัง การเล่าให้ฟัง สื่อเรื่องราวด้วยรูปแทนการอธิบาย ใช้หนังสือที่มีการใช้ภาษาที่ดี จึงเป็นสิ่งที่เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ คำ ความหมายของคำ และออกเสียงคำ เมื่อสามารถพูดหรือเขียนได้ ในที่สุดเด็กก็จะสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างดีในที่สุด
2552/11/30
การเรียนรู้ : เด็กปฐมวัย
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นจากการที่เด็กได้รับข้อมูลภายนอกโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ) ซึ่งได้จากการมองเห็น การฟัง การดมกลิ่น การรับรส การสัมผัส และอารมณ์ความรู้สึก สิ่งเหล่านี้เกี่ยวพันกับสมองที่จะเรียนรู้ตั้งแต่มนุษย์เกิดมา ถ้าเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ที่ทำให้เขาได้ใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ ยิ่งเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ สมองจะผลิตสารเคมีในสมองที่มีการเรียนรู้ ที่ตอนนี้เรารู้จักกันโดยทั่วไปคือซีโรโทนิน แลเอ็นดอร์ฟีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความพึงพอใจและความสุขใจ สารเคมีนี้จะทำให้สมองเปิดรับที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง และจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ยิ่งขึ้นต่อไป ตรงนี้เป็นหลักการที่สำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นประการแรก และจะต้องสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวจะต้องระลึกเสมอว่า สมองไม่ต้องการข้อมูลที่ใส่เข้าไปครั้งละมากๆ เหมือนการป้อนข้อมูลให้หุ่นยนต์ สมองต้องการเวลาในการที่จะหาความหมาย และย่อยข้อมูลแต่ละส่วน แล้วประมวลข้อมูล
ความรู้นั้นๆที่รับกับการเรียนรู้ของสมอง ณ เวลานั้น
จึงสรุปได้ว่าสมองเรียนรู้ด้วยการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองเรียนรู้ได้ดีจากของจริง สถานการณ์จริง การเรียนรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยให้การเรียนรู้ของแต่ละคนชัดเจนและคงทน
ความรู้นั้นๆที่รับกับการเรียนรู้ของสมอง ณ เวลานั้น
จึงสรุปได้ว่าสมองเรียนรู้ด้วยการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองเรียนรู้ได้ดีจากของจริง สถานการณ์จริง การเรียนรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยให้การเรียนรู้ของแต่ละคนชัดเจนและคงทน
2552/11/26
การเล่านิทาน การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
มีการวิจัยและติดตามผลการเล่านิทาน และการอ่านหนังสือให้เด็กฟังนั้นถ้าครู พ่อแม่ ผู้ปกครองเริ่มทำตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ จะมีผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆอย่างดีมากทั้งพัฒนาการในเรื่องภาษา การอ่าน การฟัง การสื่อสาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และที่สำคัญนิสัยรักการอ่าน ตลอดจนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม มีการยืนยันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเราเริ่มมีการนำมาใช้และมีวิจัยที่สนับสนุน ผลของงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางภาษาโดยเฉพาะการพูดเมื่อเด็กมีความเข้าใจภาษามากขึ้น สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ดีขึ้น ก็จะทำให้เด็กสามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดีและมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ รอบต้ว ซึ่งก็จะส่งผลกลับไปที่ศักยภาพทางภาษาของเด็ก ภาษานี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง การเล่านิทานให้เด็กในเวลาที่เหมาะสม จะทำให้สมองได้ทำงาน พร้อมกับการพัฒนาภาษาไปพร้อมกัน เมื่อเด็กมีความเข้าใจภาษามากขึ้น สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ดีขึ้น ก็จะทำให้เด็กสามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ดีและมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆรอบตัว
2552/11/17
การส่งเสริมพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์
มีงานสำรวจความคิดเห็นของพ่อแม่ไทยในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับพฤติกรรมและการศึกษาสำหรับเด็กไทยในสังคมปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมที่เป็นปัญหา และน่าห่วงคือ ความก้าวร้าว และที่สำคัญอีกอย่างคือการขาดความรับผิดชอบ ไม่สู้งาน สาเหตุของปัญหาที่นักการศึกษาวิเคราะห์ไว้คือ ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว ฐานะทางการเงินไม่ดี และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ อิทธิพลของสื่อต่างๆ เราที่มีส่วนเกี่ยงข้องคงต้องช่วยกันรับภาระที่สำคัญและยิ่งใหญ่อันนี้ โดยจะต้องสร้างเสริมสิ่งต่างๆให้เกิดในตัวเด็กตั้งแต่เล็กๆ ดังนี้
ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
ความภูมิใจในตัวเอง
ความรักในความเป็นคนไทย
ความรักในสิ่งแวดล้อมและรักษาธรรมชาติ
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
ความซื่อสัตย์สุจริต
ความอดทน
สิ่งดังกล่าวต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กๆ เพราะความสามารถของสมองจะบันทึกไว้อย่างถาวร เมื่อโตขึ้นเขาก็จะเป็นดังที่ได้ฝึกฝนใว้
ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
ความภูมิใจในตัวเอง
ความรักในความเป็นคนไทย
ความรักในสิ่งแวดล้อมและรักษาธรรมชาติ
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
ความซื่อสัตย์สุจริต
ความอดทน
สิ่งดังกล่าวต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กๆ เพราะความสามารถของสมองจะบันทึกไว้อย่างถาวร เมื่อโตขึ้นเขาก็จะเป็นดังที่ได้ฝึกฝนใว้
2552/11/13
สาระสำคัญบางประการที่ควรรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย พอจะกล่าวได้เป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
-เด็กเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเลียนแบบสิ่งที่ประทับใจ
-การเอาใจใส่อบรมเลี้ยงดูเด็กควรดำเนินการตั้งแต่ในช่วง 8 ปีแรกของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่มีความสำคัญยิ่ง
-เด็กจะเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี สม่ำเสมอ และต่อเนื่องจากพ่อ แม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
-อาหารที่เหมาะสม เพียงพอ และการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน
-การสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างเด็กอย่างถูกต้อง และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภ้ย จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ และมีพัฒนาการรอบด้านอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
-เด็กชายหรือหญิง มีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน ไม่ว่าด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และ
สติปัญญา
-เด็กเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเลียนแบบสิ่งที่ประทับใจ
-การเอาใจใส่อบรมเลี้ยงดูเด็กควรดำเนินการตั้งแต่ในช่วง 8 ปีแรกของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่มีความสำคัญยิ่ง
-เด็กจะเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี สม่ำเสมอ และต่อเนื่องจากพ่อ แม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
-อาหารที่เหมาะสม เพียงพอ และการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน
-การสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างเด็กอย่างถูกต้อง และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภ้ย จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ และมีพัฒนาการรอบด้านอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
-เด็กชายหรือหญิง มีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน ไม่ว่าด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และ
สติปัญญา
ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กเล็ก
สมองเรียนรู้ได้ดีเมื่อสมองรับรู้ทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน ซึ่งเป็นเรื่องการทำงานของสมอง
ศิลปะของเด็กเล็ก
ศิลปะในเด็กปฐมวัยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากิจกรรมสร้างสรรค์ การแสดงออกทางศิลปะ เป็นการสะท้อนความคิดที่เกิดจากการทำงานของสมอง ผลงานทางศิลปะเป็นสิ่งมีค่าถึงแม้จะเป็นรูปที่มีเส้นยุ่งๆ สีเลอะเทอะ แต่สิ่งที่แฝงและอยู่เบื้องหลังภาพดังกล่าวมีความหมายสำหรับการพัฒนาเด็กและทำให้ผู้ใหญ่ได้มีข้อมูลในการพัฒนาเด็กกระบวนการของการเรียนรู้ศิลปะ เป็นการสร้างกระบวนแบบ (pattern) สร้างการจดจำ การเปรียบเทียบ
ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้สัมผัส สิ่งดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างจินตนาการ การสร้างกระบวนการคิด ฯลฯทั้งหมดมีค่ายิ่งต่อเด็กปฐมวัย จึงกล่าวได้ว่าศิลปะมีคุณค่า
ดังนี้
เป็นการสื่อสารความคิด
ช่วยคลายความเครียดและความกดดัน
พัฒนากระบวนการคิดด้านต่างๆ
สะท้อนความเป็นตัวตนของเด็กเอง
ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้สัมผัส สิ่งดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างจินตนาการ การสร้างกระบวนการคิด ฯลฯทั้งหมดมีค่ายิ่งต่อเด็กปฐมวัย จึงกล่าวได้ว่าศิลปะมีคุณค่า
ดังนี้
เป็นการสื่อสารความคิด
ช่วยคลายความเครียดและความกดดัน
พัฒนากระบวนการคิดด้านต่างๆ
สะท้อนความเป็นตัวตนของเด็กเอง
2552/11/12
เด็กปฐมวัย: การประเมินผลการจัดประสบการณ์
การประเมินผลสำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่การตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของเด็กแต่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาความพร้อมในด้านต่างๆ นำผลที่ได้มาช่วยเหลือเด็กให้เด็กได้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ และพัฒนาการในทุกด้าน ตรูปฐมวัยรวมทั้งผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กต้องเข้าใจ ตลอดทั้งเตรียมการประเมินให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการพัฒนาการในแต่ละด้าน ดังนั้นสิ่งที่ควรตระหนักเรื่องการประเมินพัฒนาการในเด็กปฐมวัยมีดังนี้
ประเมินเพื่อให้กำลังใจแก่เด็ก
ประเมินตามสภาพจริง
ประเมินการปฏิบัติขณะที่เด็กทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อพัฒนา นำข้อมูลไปแก้ไขข้อบกพร่องและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
ประเมินด้วยการสังเกต มีเครื่องมือที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้
ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
ประเมินเพื่อให้กำลังใจแก่เด็ก
ประเมินตามสภาพจริง
ประเมินการปฏิบัติขณะที่เด็กทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อพัฒนา นำข้อมูลไปแก้ไขข้อบกพร่องและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
ประเมินด้วยการสังเกต มีเครื่องมือที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้
ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
2552/11/09
การจัดห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
ห้องเรียนเด็กปฐมวัยจนกระทั่งถึงเด็กระดับประถมศึกษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะถือเป็นบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเรียนการสอน สำหรับห้องเรียนของเด็กเล็ก ครูผู้สอนจะต้องจัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ไม่ใช่ปล่อยให้ห้องเรียนว่างเปล่า ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือมีแต่โต๊ะ เก้าอี้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องเข้าใจเป็นหลักใหญ๋ ๆ ในการจัดห้องเรียนจึงเป็นเรื่องต่างๆ ดังนี้
มุมประสบการณ์ต่างๆ
ป้ายนิเทศ
บอร์ดผลงาน
บอร์ดกระตุ้นการเรียนรู้ที่เปลียนเป็นประจำ
มุมจัดวางหัวข้อที่จะเรียนรู้
มุมเล่น
มุมอ่าน
ชั้น ตู้ หรือมุมเก็บของ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการสอน
มุมประสบการณ์ต่างๆ
ป้ายนิเทศ
บอร์ดผลงาน
บอร์ดกระตุ้นการเรียนรู้ที่เปลียนเป็นประจำ
มุมจัดวางหัวข้อที่จะเรียนรู้
มุมเล่น
มุมอ่าน
ชั้น ตู้ หรือมุมเก็บของ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการสอน
ครูปฐมวัยกับการสอนให้เด็กคิด
ครูมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการสอนให้เด็กมีความสามารถในการคิด เช่น การสอนให้คิดแก้ปัญหา ครูจะต้องจัดประสบการณ์โดยการให้ความสำคัญกับเด็ก เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นผู้อำนวยการจัดการเรียนรู้ ช่วยเหลือจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีความเป็นกันเองกับเด็ก ให้เด็กรู้สึกอบอุ่น มีสัมพันธภาพที่ดีและกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดอย่างหลากหลาย มีความคิดอย่างอิสระ ฝึกการใช้เหตุผล ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ดังนั้นครูปฐมวัยจึงต้องมีบทบาทต่างๆที่สำคัญ เช่น
-มีทักษะการฟัง ไม่พูดมากเกินความจำเป็น
-มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้อย่างชัดเจน และจัดเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน
-เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาพิจารณาเมื่อมีความจำเป็น
-เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับการเรียนรู้กับผู้เรียน
-ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดแก้ปัญหา
-มีทักษะการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
-มีทักษะการฟัง ไม่พูดมากเกินความจำเป็น
-มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้อย่างชัดเจน และจัดเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน
-เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาพิจารณาเมื่อมีความจำเป็น
-เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับการเรียนรู้กับผู้เรียน
-ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดแก้ปัญหา
-มีทักษะการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2552/11/03
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก
การเรียนคณิตศาสตร์ในเด็กเล็ก ถ้าต้องการให้เด็กเล็กได้มีทักษะด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่เล็กแล้ว ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องเข้าใจว่าเป็นวิชาว่าด้วยภาษาสัญลักษณ์ ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัว คณิตศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ เวลา ฯลฯ
กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับภาษาพูด เช่นเดียวกับตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุด เป็นต้น
กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับภาษาพูด เช่นเดียวกับตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุด เป็นต้น
การอ่านหนังสือของเด็ก
การอ่านหนังสือสำหรับเด็กเล็กๆ เราต้องเข้าใจว่า การอ่านนั้นรวมตั้งแต่การอ่านด้วยตนเอง การอ่านกับเพื่อน อ่านให้คุณครูและผู้ปกครองฟัง หนังสือที่ให้เด็กอ่านควรมีทั้งหนังสือนิทาน หนังสือภาพ เรื่องเล่า บทร้อยกรอง ตลอดจนบทร้อยกรอง
การอ่านมีความสำคัญ และสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรและเสียงอ่าน ต้องสอนเด็กให้ฝึกฟังเสียงสัมผัส คำคล้องจอง บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก ซึ่งจะมีผลให้ การรู้ภาษา เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติในตัวเด็ก การอ่านเริมจากการให้เด็กฟังครูอ่าน พร้อมกับดูตามตัวหนังสือ รูปภาพ จากหนังสือที่ครูอ่าน
การอ่านมีความสำคัญ และสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรและเสียงอ่าน ต้องสอนเด็กให้ฝึกฟังเสียงสัมผัส คำคล้องจอง บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก ซึ่งจะมีผลให้ การรู้ภาษา เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติในตัวเด็ก การอ่านเริมจากการให้เด็กฟังครูอ่าน พร้อมกับดูตามตัวหนังสือ รูปภาพ จากหนังสือที่ครูอ่าน
การเขียนของเด็กปฐมวัย
การเขียนของเด็กปฐมวัยนั้น ครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนดังนี้
- สร้างความมั่นใจในการเขียนให้เกิดกับเด็ก
-ผู้ใหญ่จะต้องให้ความสนใจและสร้างความใกล้ชิดกับเด็ก
-ฝึกให้เด็กเลือกการใช้คำศัพธ์ต่างๆ
-ต้องเข้าใจว่าการเขียนนั้นสัมพันธ์กับทักษะการพูด
- สร้างความมั่นใจในการเขียนให้เกิดกับเด็ก
-ผู้ใหญ่จะต้องให้ความสนใจและสร้างความใกล้ชิดกับเด็ก
-ฝึกให้เด็กเลือกการใช้คำศัพธ์ต่างๆ
-ต้องเข้าใจว่าการเขียนนั้นสัมพันธ์กับทักษะการพูด
การเรียนการสอนแบบโครงการในเด็กปฐมวัย
การเรียนการสอนแบบโครงการในเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้โดยให้เด็กได้สืบค้นหาข้อมูล ในหัวข้อเรื่องที่เด็กมีความสนใจ การเรียนรู้ของเด็กในห้องเรียนเด็กจะเรียนรู้ทั้งชั้นร่วมกัน บางโอกาสอาจเรียนรู้เพียงคนใดคนหนึ่ง หัวข้อเรื่องควรเป็นเรื่องที่มีความหมายต่อเด็ก การสอนที่เป็นโครงการในเด็กปฐมวัยจะไม่แยกเป็นรายวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ฯลฯ แต่จะเป็นการบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรียนการสอนแบบโครงการ คือการพยายามค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวยกับหัวเรื่องตาม่ความสนใจของเด็ก เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืยค้นด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ และเป็นที่ปรึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)