ครูปฐมวัยมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างวินัยในตนเองของเด็ก การกระทำของครูหรือพฤติกรรมต่างๆ ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- ระเบียบวินัยทุกข้อต้องวางอยู่บนเหตุผล
- ครูไม่ใช่ผู้นำตลอดเวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- ไม่ตั้งเกณฑ์หรือมาตรฐานในการปกครองไว้สูงจนเกินไป
- เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการร่างระเบียบวินัย และเกิดความภูมิใจยอมรับในสิ่งที่ตนเองมีส่วนร่วม
- หลีกเลี่ยงการลงโทษที่รุนแรง ไม่มีเหตุผล
- ระเบียบวินัยต้องให้เด็กได้เข้าใจและไม่มีความสงสัย
ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กมีวินัยในตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมด้วย นอกเหนือจากมีความสำคัญสำหรับตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กบนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและการกระทำ
ที่ถูกต้องของผู้ใหญ่ ไม่เช่นนั้นสังคมจะวุ่นวายและสับสน
2554/12/07
2554/11/11
การสอนภาษา:บทบาทครูอนุบาล
การเรียนการสอนภาษาเพื่อให้เด็กเล็กได้พัฒนานั้น ต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการ
หรือความสามารถตามวัย รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดู มีความเชื่อมั่นในหลักการและทฤษฎีของการสอนภาษา
เพราะครูมีบทบาทสำคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้ ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูต้องมีความสามารถทำให้
เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างเป็นภาพรวมๆ การทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาต้องหาสื่อต่างๆมาทำให้เด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความประทับใจ เช่น การเล่านิทาน การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การเล่นเกมคำศัพท์ เป็นต้น เมื่อครูนำสื่อที่กล่าวมานำเสนอกับเด็ก เด็กก็จะได้เรียนรู้ในเรื่องภาษาอย่างไม่รู้ตัว
เช่น การเปิดหนังสือนิทานของครู การเห็นตัวพยัญชนะ คำศัพท์ กลุ่มคำ ย่อหน้า ประโยค ตัวอักษร ฯลฯ การจัด
การการเรียนด้วยวิธีที่มีวัตถุประสงค์และเรียนอย่างไม่เป็นทางการจะสร้างความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการ
เรียนภาษา โดยไม่เกิดอุปสรรค ไม่เกิดความคับข้องใจ สิ่งสำคัญคือส่งผลให้ครูและเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เด็กมีความประทับใจในการเรียนรู้ภาษา เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสุดท้ายเกิดความสำเร็จในการเรียน
รู้ภาษาทั้งครูและเด็ก
หรือความสามารถตามวัย รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดู มีความเชื่อมั่นในหลักการและทฤษฎีของการสอนภาษา
เพราะครูมีบทบาทสำคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้ ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูต้องมีความสามารถทำให้
เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างเป็นภาพรวมๆ การทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาต้องหาสื่อต่างๆมาทำให้เด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความประทับใจ เช่น การเล่านิทาน การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การเล่นเกมคำศัพท์ เป็นต้น เมื่อครูนำสื่อที่กล่าวมานำเสนอกับเด็ก เด็กก็จะได้เรียนรู้ในเรื่องภาษาอย่างไม่รู้ตัว
เช่น การเปิดหนังสือนิทานของครู การเห็นตัวพยัญชนะ คำศัพท์ กลุ่มคำ ย่อหน้า ประโยค ตัวอักษร ฯลฯ การจัด
การการเรียนด้วยวิธีที่มีวัตถุประสงค์และเรียนอย่างไม่เป็นทางการจะสร้างความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการ
เรียนภาษา โดยไม่เกิดอุปสรรค ไม่เกิดความคับข้องใจ สิ่งสำคัญคือส่งผลให้ครูและเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เด็กมีความประทับใจในการเรียนรู้ภาษา เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสุดท้ายเกิดความสำเร็จในการเรียน
รู้ภาษาทั้งครูและเด็ก
2554/11/07
สิ่งที่ควรติดบนป้ายนิเทศสำหรับห้องเรียนเด็กปฐมวัย
สำหรับห้องเรียนของเด็กปฐมวัยนั้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยจะต้องคำนึงถึงวัยและพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา การจัดป้ายนิเทศมีความจำเป็นที่ครูปฐมวัยต้องมีความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่การจัดให้สวยงามเท่านั้น การจัดต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ จิตใจ
เป็นต้น สิ่งที่ติดบนป้ายนิเทศควรมีดังนี้
- ผลงานของเด็กซึ่งมีชื่อของเจ้าของผลงาน
- กิจกรรมที่ครูต้องการให้เด็กทำหรือต้องการให้เด็กเรียนรู้
- ภาพกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เรื่องราวที่ต้องการทบทวนให้กับเด็ก
- พฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กประพฤติหรือปฏิบัติ
ฯลฯ
ฉะนั้นการจัดป้ายนิเทศสำหรับเด็กจึงมีความหมายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง เด็กสามารถเรียนรู้จากป้ายนิเทศได้ตลอดเวลา ครูจึงต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ
เป็นต้น สิ่งที่ติดบนป้ายนิเทศควรมีดังนี้
- ผลงานของเด็กซึ่งมีชื่อของเจ้าของผลงาน
- กิจกรรมที่ครูต้องการให้เด็กทำหรือต้องการให้เด็กเรียนรู้
- ภาพกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เรื่องราวที่ต้องการทบทวนให้กับเด็ก
- พฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กประพฤติหรือปฏิบัติ
ฯลฯ
ฉะนั้นการจัดป้ายนิเทศสำหรับเด็กจึงมีความหมายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง เด็กสามารถเรียนรู้จากป้ายนิเทศได้ตลอดเวลา ครูจึงต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ
2554/10/11
กิจกรรมง่ายๆเพื่อการเรียนรู้ด้านการอ่านเขียนของเด็กอนุบาล
ความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการอ่านเขียนนั้น สิ่งสำคัญที่ควร
ระลึกเสมอคือประสบการณ์ที่จัดให้กับเด็กจะต้องสนุกสนาน เด็กไม่มีความรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยว่า
อ่านไม่ออก และเขียนไม่ถูกต้อง อ่านหรือเขียนทีไรผู้ใหญ่ว่าทุกครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวจะทำให้เด็กไม่ชอบการอ่านเขียนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ดังนั้นการสอนอ่านเขียนจะต้องไม่เป็นทางการและไม่เคร่งเครียด
ควรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ปฏิบัติอย่างสนุกสนาน กิจกรรมอาจเป็นดังนี้
- อ่านคำกลอนพร้อมครู - เล่นเกมตัวหนังสือ -ครูอ่านหนังสือกับเด็ก
- ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ - กิจกรรมร้องเพลง
- การพูดคุยซักถาม - พูดคุย และอ่านคำคล้องจอง
กิจกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์ให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมกับความสนุกสนาน ไม่เน้นการสะกดคำ
ในวัยนี้ ให้เด็กได้เรียนรู้คำ พยัญชนะ สระ ฯลฯ จากกิจกรรมหรือเกมจากที่กล่าวข้างต้น
ระลึกเสมอคือประสบการณ์ที่จัดให้กับเด็กจะต้องสนุกสนาน เด็กไม่มีความรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยว่า
อ่านไม่ออก และเขียนไม่ถูกต้อง อ่านหรือเขียนทีไรผู้ใหญ่ว่าทุกครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวจะทำให้เด็กไม่ชอบการอ่านเขียนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ดังนั้นการสอนอ่านเขียนจะต้องไม่เป็นทางการและไม่เคร่งเครียด
ควรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ปฏิบัติอย่างสนุกสนาน กิจกรรมอาจเป็นดังนี้
- อ่านคำกลอนพร้อมครู - เล่นเกมตัวหนังสือ -ครูอ่านหนังสือกับเด็ก
- ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ - กิจกรรมร้องเพลง
- การพูดคุยซักถาม - พูดคุย และอ่านคำคล้องจอง
กิจกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์ให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมกับความสนุกสนาน ไม่เน้นการสะกดคำ
ในวัยนี้ ให้เด็กได้เรียนรู้คำ พยัญชนะ สระ ฯลฯ จากกิจกรรมหรือเกมจากที่กล่าวข้างต้น
2554/10/04
รู้สไตล์การเรียนรู้เด็กเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
การส่งเสริมศักยภาพหรือการพัฒนาศักยภาพของเด็กนั้นจำเป็นที่เราจะต้องเข้าใจถึงสไตล์การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน เด็กบางคนจะเรียนรู้จากการเคลื่อนไหว หรือการกระทำ แต่บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง จากการดู ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่โดยเฉพาะครูที่จะต้องเฝ้ามองเด็ก สังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนดังนี้
เด็กที่เรียนรู้จากการเคลื่อนไหว ขณะที่เรียนเด็กจะอยู่ไม่นิ่งขยุกขยิก เวลาคิดจะเหลือบมองไปข้างๆ พูดช้า
เด็กที่เรียนรู้จากการดู เวลาเรียน เด็กจะนั่งอย่างมีสมาธิ มองไปที่กระดานดำ พูดเร็ว
เด็กที่เรียนรู้จากการฟังขณะที่เรียน เด็กมักมองจากข้างๆ ทางด้านซ้ายหรือขวา ถ้าถนัดขวาจะมองไปทางซ้าย เวลาพูดจะมีจังหวะ
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องสังเกตพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นของเด็กเพื่อจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กหรือเตรียมสื่อให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน
เด็กที่เรียนรู้จากการเคลื่อนไหว ขณะที่เรียนเด็กจะอยู่ไม่นิ่งขยุกขยิก เวลาคิดจะเหลือบมองไปข้างๆ พูดช้า
เด็กที่เรียนรู้จากการดู เวลาเรียน เด็กจะนั่งอย่างมีสมาธิ มองไปที่กระดานดำ พูดเร็ว
เด็กที่เรียนรู้จากการฟังขณะที่เรียน เด็กมักมองจากข้างๆ ทางด้านซ้ายหรือขวา ถ้าถนัดขวาจะมองไปทางซ้าย เวลาพูดจะมีจังหวะ
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องสังเกตพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นของเด็กเพื่อจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กหรือเตรียมสื่อให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน
2554/10/02
พฤติกรรมรักการอ่านของเด็กเล็ก
การที่จะให้เด็กมีพฤติกรรมรักการอ่านนั้น ผู้ใกล้ชิดเด็กไม่ว่าครู พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นจะต้อง
เข้าใจถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงการรักการอ่านของเด็ก เพื่อเราจะได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รักการอ่าน จนกลายพฤติกรรมรักการอ่านเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมีดังนี้
- ทำท่าทางอ่านหนังสือโดยไม่สนใจ
- อ่านข้อความ คำที่มีตัวอักษรที่เห็นอยู่เป็นประจำ
- ดูหนังสือที่มีเรื่องที่ชอบ
- อ่านและคัดลอกหรือเขียนทับตัวอักษรของผู้ใหญ่
- อ่านและเขียนตัวแบบขีดเขี่ย
- พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตนเอง
- กวาดตามองข้อความตามบรรทัด
ฯลฯ
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของพฤติกรรมเริ่มแรกเท่านั้น ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแล้ว เชื่อแน่ได้เลยว่าเด็กจะรักการอ่านเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่
เข้าใจถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงการรักการอ่านของเด็ก เพื่อเราจะได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รักการอ่าน จนกลายพฤติกรรมรักการอ่านเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมีดังนี้
- ทำท่าทางอ่านหนังสือโดยไม่สนใจ
- อ่านข้อความ คำที่มีตัวอักษรที่เห็นอยู่เป็นประจำ
- ดูหนังสือที่มีเรื่องที่ชอบ
- อ่านและคัดลอกหรือเขียนทับตัวอักษรของผู้ใหญ่
- อ่านและเขียนตัวแบบขีดเขี่ย
- พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตนเอง
- กวาดตามองข้อความตามบรรทัด
ฯลฯ
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของพฤติกรรมเริ่มแรกเท่านั้น ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแล้ว เชื่อแน่ได้เลยว่าเด็กจะรักการอ่านเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่
2554/09/18
กิจกรรมกลางแจ้ง: การประเมินผล
ลักษณะของกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้มีโอกาสออกกำลังกายอย่างอิสระ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยู่นอกห้องเรียนซึ่งเป็นการพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย และส่งผลถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมกัน การจัดกิจกรรมดังกล่าวให้กับเด็กครูจะต้องเข้าใจถึงการประเมินผลของกิจกรรมซึ่งมีดังนี้คือ ครูจะต้องใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมและความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในด้านน้ำหนัก ส่วนสูง - ลักษณะการพัฒนาของกล้ามเนื้อใหญ่
- ความมีระเบียบวินัย การเคารพกฎกติกา ข้อตกลง - การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- การปรับตัว การเล่นร่วมกับผู้อื่น - การรู้จักและสามารถเก็บอุปกรณ์การเล่นให้เป็นระเบียบ
การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งต้องมีการเตรียมการวางแผนทั้งวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม การประเมินผลและจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนจึงจะเกิดประโยชน์
- การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในด้านน้ำหนัก ส่วนสูง - ลักษณะการพัฒนาของกล้ามเนื้อใหญ่
- ความมีระเบียบวินัย การเคารพกฎกติกา ข้อตกลง - การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- การปรับตัว การเล่นร่วมกับผู้อื่น - การรู้จักและสามารถเก็บอุปกรณ์การเล่นให้เป็นระเบียบ
การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งต้องมีการเตรียมการวางแผนทั้งวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม การประเมินผลและจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนจึงจะเกิดประโยชน์
2554/09/12
ธรรมชาติการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ครูต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กเล็กๆ คือเด็กเรียนรู้จากการที่เขาได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ไม่ใช่การเรียนรู้จากการบอกเล่าหรือการสรุปจากการบอกของครูและ ผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากการปฏิบัตินั้น จะต้องจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ของจริง สื่อที่เป็นรูปภาพ ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ให้เด็กได้ทำคือทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การจำแนก การคาดคะเน การตั้งข้อคาดเดาหรือการตั้งสมมติฐาน นอกจากนั้นจะต้องมีการตั้งคำถาม การอภิปราย การให้เหตุผล การใช้เครื่องมือ การบันทึก และการสรุปผล กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการคิด การวิเคราะห์ การให้เด็กได้มีอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการทำกิจกรรม เด็กทุกคนต้องได้รับการจัดกิจกรรมดังกล่าว
2554/09/07
การส่งเสริมทักษะการฟัง พูดสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยมีหน้าที่สำคัญที่จะส่งเสริมทักษะการฟัง พูดในเด็กปฐมวัย เพราะมีความจำเป็นต่อเด็กในการที่เด็กจะต้องมีการสื่อสาร การติดต่อกับบุคคลต่างๆในสังคมแวดล้อมของเด็ก เทคนิคหรือแนวทางที่ครูควรจัดกิจกรรมง่ายๆ พอจะกล่าวได้คือ
- การบอก การอธิบาย ครูควรให้โอกาสเด็กได้บอก แสดงออก แสดงความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยครูเป็นผู้ถาม และเด็กเป็นผู้ตอบ เด็กแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อ
คำถามที่ครูถาม
- การเล่าเรื่อง ครูให้โอกาสกับเด็กทั้งการได้เล่าเรื่องราวต่างๆ หรือการให้เด็กได้ฟังเรื่องราว ทั้ง
ที่เป็นเรื่องจริง เรื่องที่เป็นจินตนาการ ข่าว เหตุการณ์ นิทาน เป็นต้น สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่องให้เด็กเล็กๆฟังนั้น เรื่องที่เล่าต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง เรียงลำดับเรื่องราวโดยไม่ย้อนกลับไปกลับมา เน้นสาระสำคัญของเรื่องมากกว่ารายละเอียด
กิจกรรมข้างต้นครูจำเป็นต้องจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เด็กจึงจะมีทักษะด้านการฟัง พูดอย่างแท้จริงซึ่งมีผลต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต
- การบอก การอธิบาย ครูควรให้โอกาสเด็กได้บอก แสดงออก แสดงความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยครูเป็นผู้ถาม และเด็กเป็นผู้ตอบ เด็กแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อ
คำถามที่ครูถาม
- การเล่าเรื่อง ครูให้โอกาสกับเด็กทั้งการได้เล่าเรื่องราวต่างๆ หรือการให้เด็กได้ฟังเรื่องราว ทั้ง
ที่เป็นเรื่องจริง เรื่องที่เป็นจินตนาการ ข่าว เหตุการณ์ นิทาน เป็นต้น สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่องให้เด็กเล็กๆฟังนั้น เรื่องที่เล่าต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง เรียงลำดับเรื่องราวโดยไม่ย้อนกลับไปกลับมา เน้นสาระสำคัญของเรื่องมากกว่ารายละเอียด
กิจกรรมข้างต้นครูจำเป็นต้องจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เด็กจึงจะมีทักษะด้านการฟัง พูดอย่างแท้จริงซึ่งมีผลต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต
2554/08/13
กิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยนอกห้องเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาด้านร่างกายให้กับเด็กซึ่งต้องได้พัฒนากล้าเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ได้รับการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของร่างกาย ครูจำเป็นจะต้องมีจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
ซึ่งประกอบด้วยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีกิจกรรมดังนี้
-เล่นเครื่องเล่นสนาม - การเล่นทราย
-การเล่นน้ำ -การเล่นสมมติในบ้านจำลอง
-การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา -การเล่นในมุมช่างไม้
สำหรับกิจกรรมที่ครูมักจัดให้เล่นที่เป็นที่นิยมจัดให้กับเด็กปฐมวัย
ซึ่งประกอบด้วยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีกิจกรรมดังนี้
-เล่นเครื่องเล่นสนาม - การเล่นทราย
-การเล่นน้ำ -การเล่นสมมติในบ้านจำลอง
-การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา -การเล่นในมุมช่างไม้
สำหรับกิจกรรมที่ครูมักจัดให้เล่นที่เป็นที่นิยมจัดให้กับเด็กปฐมวัย
2554/08/06
2554/07/18
สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนให้กับเด็กจะมีความหมายหรือมีประโยชน์อย่าง
เต็มที่แล้ว ครูผู้สอนจะต้องเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์
สิ่งที่เราต้องการให้เกิดกับเด็กในการพาเด็กออกนอกห้องเรียนที่สำคัญคือให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการศึกษา
ซึ่งได้แก่ การสังเกต การสำรวจ การทดลอง การรวบรวมข้อมูล การพัฒนาการทางภาษาด้านการฟัง
พูด การซักถาม นอกจากนั้นยังต้องการฝึกประสบการณ์ด้านการแก้ปัญหา การรอคอย ความรับผิดชอบ
ความอดทน เป็นต้น ดังนั้นสิ่งแรกที่ครูต้องเตรียมคือสภาพแวดล้อมที่เด็กจะได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่เราต้องการให้เด็กได้สังเกต สำรวจ และทดลอง ครูจะต้องเตรียมสภาพแวดล้อมนอก
ห้องเรียนคือทุกอย่างที่เด็กได้สัมผัสเมื่อเด็กออกนอกห้องเรียน และจะต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ด้วย สภาพแวดล้อมนั้นครูต้องพยายามให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กได้ดู ฟัง สัมผัส ดม และที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือจะต้องไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก สภาพแวดล้อมที่กล่าวได้แก่ ป่าชุมชน ต้นไม้ ดอกไม้ แปลงผัก ห้องสมุด อุปกรณ์ต่างๆที่จัดไว้นอกห้องเรียน เป็นต้น
ดังนั้นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์นอกห้องเรียนสิ่งที่ครูต้องระลึกเสมอคือจะต้อง
ให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เน้นในเรื่องระเบียบวินัย การรอคอย การแบ่งปัน
และการใช้คำพูด
เต็มที่แล้ว ครูผู้สอนจะต้องเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์
สิ่งที่เราต้องการให้เกิดกับเด็กในการพาเด็กออกนอกห้องเรียนที่สำคัญคือให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการศึกษา
ซึ่งได้แก่ การสังเกต การสำรวจ การทดลอง การรวบรวมข้อมูล การพัฒนาการทางภาษาด้านการฟัง
พูด การซักถาม นอกจากนั้นยังต้องการฝึกประสบการณ์ด้านการแก้ปัญหา การรอคอย ความรับผิดชอบ
ความอดทน เป็นต้น ดังนั้นสิ่งแรกที่ครูต้องเตรียมคือสภาพแวดล้อมที่เด็กจะได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่เราต้องการให้เด็กได้สังเกต สำรวจ และทดลอง ครูจะต้องเตรียมสภาพแวดล้อมนอก
ห้องเรียนคือทุกอย่างที่เด็กได้สัมผัสเมื่อเด็กออกนอกห้องเรียน และจะต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ด้วย สภาพแวดล้อมนั้นครูต้องพยายามให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กได้ดู ฟัง สัมผัส ดม และที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือจะต้องไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก สภาพแวดล้อมที่กล่าวได้แก่ ป่าชุมชน ต้นไม้ ดอกไม้ แปลงผัก ห้องสมุด อุปกรณ์ต่างๆที่จัดไว้นอกห้องเรียน เป็นต้น
ดังนั้นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์นอกห้องเรียนสิ่งที่ครูต้องระลึกเสมอคือจะต้อง
ให้เด็กได้ทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เน้นในเรื่องระเบียบวินัย การรอคอย การแบ่งปัน
และการใช้คำพูด
2554/07/10
ประเด็นสำคัญในทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner
สาระสำคัญของปัญญาตามที่ Gardner ได้ให้ความหมายนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือสิ่งที่เป็นประเด็นความรู้จากทฤษฎีดังกล่าวนำมาใช้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กคือ
-ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะค้นพบเพิ่มเติม บางคนอาจจะมีปัญญาทั้ง 8 ด้านสูง บางคนอาจจะมีปัญญาสูงเพียงด้านเดียวหรือสองด้านส่วนด้านอื่นๆไม่สูง
-ปัญญาด้านต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
อาจใช้ปัญญาหลายด้านไม่ว่าด้านคณิตศาสตร์ ภาษา มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง เป็นต้น
-ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
-ปัญญาในแต่ละด้านสามารถพัฒนาได้สูงขึ้นถ้ามีการให้การฝึกฝน การให้กำลังใจ
ตลอดจนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒนาปัญญาให้กับเด็ก
-ปัญญาแต่ละด้านหรือปัญญาด้านหนึ่งด้านใด มีการแสดงความสามารถได้หลายอย่างซึ่งตรงนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ
สาระของทฤษฎีด้งกล่าวมีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กของเรามีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
-ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะค้นพบเพิ่มเติม บางคนอาจจะมีปัญญาทั้ง 8 ด้านสูง บางคนอาจจะมีปัญญาสูงเพียงด้านเดียวหรือสองด้านส่วนด้านอื่นๆไม่สูง
-ปัญญาด้านต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
อาจใช้ปัญญาหลายด้านไม่ว่าด้านคณิตศาสตร์ ภาษา มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง เป็นต้น
-ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
-ปัญญาในแต่ละด้านสามารถพัฒนาได้สูงขึ้นถ้ามีการให้การฝึกฝน การให้กำลังใจ
ตลอดจนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒนาปัญญาให้กับเด็ก
-ปัญญาแต่ละด้านหรือปัญญาด้านหนึ่งด้านใด มีการแสดงความสามารถได้หลายอย่างซึ่งตรงนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ
สาระของทฤษฎีด้งกล่าวมีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กของเรามีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
2554/07/03
ความรู้ครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยสิ่งสำคัญที่สุดคือครูจะต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับเด็ก
เพราะเป็นช่วงในการพัฒนาเด็กได้ดีที่สุด กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่า
เป็นกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็ก โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการซึ่งเป็น
ช่วงสำคัญของชีวิต สิ่งที่ครูต้องตระหนักมีดังนี้
ด้านตัวเด็ก
-ครูจะต้องให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของการแสดงออกอย่างอิสระ การส่งเสริมอิสรภาพ
ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน
-การให้เด็กมีสุนทรียภาพต่อสิ่งแวดล้อม ชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ และมีทักษะการ
สังเกต
-การที่เด็กมีความพอใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน การได้แสดงออกทางความคิด
เห็นและการได้พัฒนาทักษะทางภาษาไปพร้อมกัน
ด้านตัวครู
-ให้โอกาสเด็กในการทำงานอย่างอิสระ เคารพในความแตกต่างของแต่ละคน
-ชื่นชมในผลงานของเด็ก ส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของเด็ก
-ตั้งใจในการตอบคำถาม และให้ความสนใจในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นของเด็ก
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของบทบาทของครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อเด็ก
เพราะเป็นช่วงในการพัฒนาเด็กได้ดีที่สุด กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่า
เป็นกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็ก โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการซึ่งเป็น
ช่วงสำคัญของชีวิต สิ่งที่ครูต้องตระหนักมีดังนี้
ด้านตัวเด็ก
-ครูจะต้องให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของการแสดงออกอย่างอิสระ การส่งเสริมอิสรภาพ
ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน
-การให้เด็กมีสุนทรียภาพต่อสิ่งแวดล้อม ชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ และมีทักษะการ
สังเกต
-การที่เด็กมีความพอใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน การได้แสดงออกทางความคิด
เห็นและการได้พัฒนาทักษะทางภาษาไปพร้อมกัน
ด้านตัวครู
-ให้โอกาสเด็กในการทำงานอย่างอิสระ เคารพในความแตกต่างของแต่ละคน
-ชื่นชมในผลงานของเด็ก ส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของเด็ก
-ตั้งใจในการตอบคำถาม และให้ความสนใจในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นของเด็ก
ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของบทบาทของครูต่อการจัดกิจกรรมศิลปะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อเด็ก
2554/06/16
เด็กและการเล่นกลางแจ้ง
กิจกรรมกลางแจ้งมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นอยู่เฉพาะในห้อง
เท่านั้น การเล่นกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เด็กมีโอกาสออกไปนอกห้อง เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กได้รับการพัฒนา ด้วยการเดิน วิ่ง กระโดด ยืน นั่ง ฯลฯ เด็กได้เล่นอิสระจากการเล่นอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ การจัดเครื่องเล่นสนามให้เด็กนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยที่มีต่อเด็ก สำหรับเครื่องเล่นสนามที่จัดให้เด็กได้พัฒนาอย่างครบถ้วนได้แก่ เครื่องเล่นประเภทปีนป่าย ตาข่ายสำหรับการปีนเล่น เครื่องเล่นสำหรับการหมุน เครื่องเล่นสำหรับการโยก เครื่องเล่นสำหรับการเลื่อน การลากจูง เครื่องเล่นสำหรับการทรงตัว การโหน นอกจากนั้นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเด็กคือการเล่นน้ำ การเล่นทราย ซึ่งทรายเป็นสิ่งที่เด็กชอบเล่นมากเด็กสามารถก่อทรายเป็นรูปแบบต่างๆ จากการคิดและสามารถนำวัสดุอื่นมาประกอบการเล่นตกแต่งทรายที่ตนเองก่อ ไม่ว่ากิ่งไม้ เปลือกหอย อุปกรณ์ประกอบการเล่นทรายต่างๆ เป็นต้น บ่อทรายที่จัดให้เด็กควรระวังในเรื่องของความสะอาดอย่าให้สัตว์ทำให้เกิดความสกปรก การเล่นกลางแจ้งจึงจำเป็นและสำคัญต่อเด็ก
เป็นอย่างยิ่ง
เท่านั้น การเล่นกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เด็กมีโอกาสออกไปนอกห้อง เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กได้รับการพัฒนา ด้วยการเดิน วิ่ง กระโดด ยืน นั่ง ฯลฯ เด็กได้เล่นอิสระจากการเล่นอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ การจัดเครื่องเล่นสนามให้เด็กนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยที่มีต่อเด็ก สำหรับเครื่องเล่นสนามที่จัดให้เด็กได้พัฒนาอย่างครบถ้วนได้แก่ เครื่องเล่นประเภทปีนป่าย ตาข่ายสำหรับการปีนเล่น เครื่องเล่นสำหรับการหมุน เครื่องเล่นสำหรับการโยก เครื่องเล่นสำหรับการเลื่อน การลากจูง เครื่องเล่นสำหรับการทรงตัว การโหน นอกจากนั้นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเด็กคือการเล่นน้ำ การเล่นทราย ซึ่งทรายเป็นสิ่งที่เด็กชอบเล่นมากเด็กสามารถก่อทรายเป็นรูปแบบต่างๆ จากการคิดและสามารถนำวัสดุอื่นมาประกอบการเล่นตกแต่งทรายที่ตนเองก่อ ไม่ว่ากิ่งไม้ เปลือกหอย อุปกรณ์ประกอบการเล่นทรายต่างๆ เป็นต้น บ่อทรายที่จัดให้เด็กควรระวังในเรื่องของความสะอาดอย่าให้สัตว์ทำให้เกิดความสกปรก การเล่นกลางแจ้งจึงจำเป็นและสำคัญต่อเด็ก
เป็นอย่างยิ่ง
2554/06/06
ความจำเป็นของการเล่น
การเล่นหรือการให้เด็กได้พักมีความจำเป็นสำหรับเด็ก เพราะสมองมีจังหวะหรือวิถีของการ
ทำงาน วงจรการทำงานของสมองมีผลต่อการเรียนรู้และการรับรู้ของเด็ก เมื่อใดที่ถึงจุดสูงสุดที่สมอง
ต้องการพักการเรียนรู้ก็จะเริ่มตกลง เมื่อสมองได้พักการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นการให้เด็กได้เล่นจึง
มีความจำเป็น การเล่นช่วยให้เด็กคลายความวิตกกังวล ได้ระบายความเครียด ระบายพลังงานส่วน
เกินออกไป การเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กหลายด้าน เช่น ทักษะทางด้านภาษา ความสามารถ
ทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ สิ่งที่กล่าวเด็กได้พัฒนาจากการเล่น นอกจากนั้น
การเล่นทำให้เด็กรับรู้เอกลักษณ์ของตนเอง คือเด็กมีโอกาสได้พัฒนาการรับรู้เอกลักษณ์ของตนเอง
และที่สำคัญการเล่นเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมต่อการใช้งาน กิจกรรมต่างๆที่เด็กได้เล่นจะสร้าง
สมองทุกส่วนให้พร้อมสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือการเรียนรู้เมื่อเด็กโตขึ้น
ทำงาน วงจรการทำงานของสมองมีผลต่อการเรียนรู้และการรับรู้ของเด็ก เมื่อใดที่ถึงจุดสูงสุดที่สมอง
ต้องการพักการเรียนรู้ก็จะเริ่มตกลง เมื่อสมองได้พักการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นการให้เด็กได้เล่นจึง
มีความจำเป็น การเล่นช่วยให้เด็กคลายความวิตกกังวล ได้ระบายความเครียด ระบายพลังงานส่วน
เกินออกไป การเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กหลายด้าน เช่น ทักษะทางด้านภาษา ความสามารถ
ทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ สิ่งที่กล่าวเด็กได้พัฒนาจากการเล่น นอกจากนั้น
การเล่นทำให้เด็กรับรู้เอกลักษณ์ของตนเอง คือเด็กมีโอกาสได้พัฒนาการรับรู้เอกลักษณ์ของตนเอง
และที่สำคัญการเล่นเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมต่อการใช้งาน กิจกรรมต่างๆที่เด็กได้เล่นจะสร้าง
สมองทุกส่วนให้พร้อมสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือการเรียนรู้เมื่อเด็กโตขึ้น
2554/06/05
เพลง คำคล้องจองส่งเสริมภาษาให้เด็กเล็ก
เด็กเล็กๆถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองคอยร้องเพลงหรืออ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอ
จะทำให้เด็กมึประสบการณ์ในการฟังเสียงสระ พยัญชนะ จังหวะ การออกเสียงสูง ต่ำ ถึงแม้เด็กยังไม่ได้
เรียนรู้เกี่ยวกับหลักภาษาแต่เด็กก็ได้ฟังการออกเสียงสัมผัสต่างๆ เกี่ยวกับเพลงหรือคำคล้องจองของเด็กนั้นผู้แต่งจะใช้คำหรือข้อความที่มีรูปแบบซ้ำๆกัน แม้แต่ทำนองก็จะเป็นทำนองที่ไม่ซับซ้อน มีการเล่นคำหรือการร้องทวนซ้ำไปซ้ำมา ที่เป็นเสียงหรือคำที่ง่ายๆสามารถจำได้อย่างรวดเร็ว เนื้อเพลงก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก ประกอบกับการออกเสียงที่ถูกต้องของผู้ใหญ่ ร้องด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เชื่อมกับประสบการณ์เดิม หรือขยายประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนั้นจึงเป็นพื้นฐานของความเข้าใจและความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาและการสื่อสารไม่ว่าการฟัง พูดสำหรับเด็ก แม้เด็กบางคนยังไม่สามารถพูดได้ก็ตาม ในด้านการพัฒนา
สมองระดับเสียงที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อคลื่นสมอง ถ้ามีดนตรีประกอบคำคล้องจองหรือเพลง พร้อม
การเคลื่นอไหวท่าทางด้วย สมองจะถูกกระตุ้นและเกิดการทำงานเชื่อมโยงระหว่างสมองซึกซ้ายและซึก
ขวา ที่กล่าวเช่นนี้เพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่ได้เคร่งเครียดกับการสอนภาษาให้กับเด็กเล็กที่ใช้วิธีการสอนที่เป็น
ทางการและกวดขันกับเด็กมากเกินไป
จะทำให้เด็กมึประสบการณ์ในการฟังเสียงสระ พยัญชนะ จังหวะ การออกเสียงสูง ต่ำ ถึงแม้เด็กยังไม่ได้
เรียนรู้เกี่ยวกับหลักภาษาแต่เด็กก็ได้ฟังการออกเสียงสัมผัสต่างๆ เกี่ยวกับเพลงหรือคำคล้องจองของเด็กนั้นผู้แต่งจะใช้คำหรือข้อความที่มีรูปแบบซ้ำๆกัน แม้แต่ทำนองก็จะเป็นทำนองที่ไม่ซับซ้อน มีการเล่นคำหรือการร้องทวนซ้ำไปซ้ำมา ที่เป็นเสียงหรือคำที่ง่ายๆสามารถจำได้อย่างรวดเร็ว เนื้อเพลงก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก ประกอบกับการออกเสียงที่ถูกต้องของผู้ใหญ่ ร้องด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เชื่อมกับประสบการณ์เดิม หรือขยายประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนั้นจึงเป็นพื้นฐานของความเข้าใจและความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาและการสื่อสารไม่ว่าการฟัง พูดสำหรับเด็ก แม้เด็กบางคนยังไม่สามารถพูดได้ก็ตาม ในด้านการพัฒนา
สมองระดับเสียงที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อคลื่นสมอง ถ้ามีดนตรีประกอบคำคล้องจองหรือเพลง พร้อม
การเคลื่นอไหวท่าทางด้วย สมองจะถูกกระตุ้นและเกิดการทำงานเชื่อมโยงระหว่างสมองซึกซ้ายและซึก
ขวา ที่กล่าวเช่นนี้เพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่ได้เคร่งเครียดกับการสอนภาษาให้กับเด็กเล็กที่ใช้วิธีการสอนที่เป็น
ทางการและกวดขันกับเด็กมากเกินไป
2554/05/20
สมองกับการจำของเด็ก
การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยใช้การจัดกิจกรรมผ่านการเล่นเพื่อให้เกิด
การเรียนรู้ เด็กควรมีความเพลิดเพลินซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่ต้องให้เด็กมีอารมณ์ทางบวก
การจำของสมองจะจำสิ่งที่เรียนรู้ไปหลังจาก 24 ชั่งโมงมีดังนี้
การฟังคำบรรยาย อย่างเดียวโดยไม่มีการซักถามจะจำได้ร้อยละ 5
การอ่านเรื่องราวซึ่งให้แง่คิดความเห็นจะจำได้ร้อยละ 10
การฟังด้วยหูและเห็นด้วยภาพจะจำได้ร้อยละ 20
การแสดงจะจำได้ร้อยละ 30
การอภิปรายถกเถียงจะจำได้ร้อยละ 50
การลงมือปฏิบัติจะจำได้ร้อยละ 75
การนำสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาสอนจะจำได้ร้อยละ 90
ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กปฐมวัยได้เกิดประสบการณ์หรือให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องวาง
แผนในการจัดกิจกรรมโดยใช้ความรู้ดังกล่าวในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้พัฒนามากที่สุด
การเรียนรู้ เด็กควรมีความเพลิดเพลินซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่ต้องให้เด็กมีอารมณ์ทางบวก
การจำของสมองจะจำสิ่งที่เรียนรู้ไปหลังจาก 24 ชั่งโมงมีดังนี้
การฟังคำบรรยาย อย่างเดียวโดยไม่มีการซักถามจะจำได้ร้อยละ 5
การอ่านเรื่องราวซึ่งให้แง่คิดความเห็นจะจำได้ร้อยละ 10
การฟังด้วยหูและเห็นด้วยภาพจะจำได้ร้อยละ 20
การแสดงจะจำได้ร้อยละ 30
การอภิปรายถกเถียงจะจำได้ร้อยละ 50
การลงมือปฏิบัติจะจำได้ร้อยละ 75
การนำสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาสอนจะจำได้ร้อยละ 90
ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กปฐมวัยได้เกิดประสบการณ์หรือให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องวาง
แผนในการจัดกิจกรรมโดยใช้ความรู้ดังกล่าวในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้พัฒนามากที่สุด
2554/05/04
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
มนุษย์ทุกคนย่อมต้องปลูกฝังให้เกิดความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้
มนุษย์หรือคนเราเมื่อเห็นคุณค่าของตนเองแล้วย่อมส่งผลต่อการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เราจะต้องทำจากภายในออกสู่ภายนอกซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าจะปลูกฝังได้ แต่ก็ไม่เกินความสามารถ
ของมนุษย์ไปได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆเป็นต้นไป กิจกรรมที่จะฝึกให้กับเด็กเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ
อย่างเช่นเมื่อเด็กไปโรงเรียน ครูควรดำเนินการดังนี้
- ให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ทั้งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวเอง และที่เป็น
กิจกรรมของส่วนรวม เช่น การล้างหน้า แปรงฟัน การสวมเสื้อผ้า รองเท้า-ถุงเท้า การเก็บที่นอน การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดอุปกรณ์หรือสื่อที่ใช้ร่วมกัน การยกเก็บอุปกรณ์ เป็นต้น
- ให้เด็กช่วยเหลือครูในกิจกรรมที่ปฏิบัติในห้องเรียน เช่น การถือของ การยกของ การแจกของ
เป็นต้น
-ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ครูได้วางแผน เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวครูต้องให้เด็ก
ได้ปฏิบัติอย่างทั่วถึง และมีการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมและบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่อง
โดยส่งเสริมให้เด็กได้พูดโต้ตอบ สื่อสารให้ตรงตามที่เด็กและครูต้องการ มีการให้แรงเสริมและให้
กำลังใจแก่เด็ก ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวถึงแม้จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆหรือทำเป็นประจำแล้ว แต่ถ้าครูละเลยและไม่ให้ความ
สนใจ ตลอดทั้งไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่สามารถสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับเด็กได้
มนุษย์หรือคนเราเมื่อเห็นคุณค่าของตนเองแล้วย่อมส่งผลต่อการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เราจะต้องทำจากภายในออกสู่ภายนอกซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าจะปลูกฝังได้ แต่ก็ไม่เกินความสามารถ
ของมนุษย์ไปได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆเป็นต้นไป กิจกรรมที่จะฝึกให้กับเด็กเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ
อย่างเช่นเมื่อเด็กไปโรงเรียน ครูควรดำเนินการดังนี้
- ให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ทั้งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวเอง และที่เป็น
กิจกรรมของส่วนรวม เช่น การล้างหน้า แปรงฟัน การสวมเสื้อผ้า รองเท้า-ถุงเท้า การเก็บที่นอน การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดอุปกรณ์หรือสื่อที่ใช้ร่วมกัน การยกเก็บอุปกรณ์ เป็นต้น
- ให้เด็กช่วยเหลือครูในกิจกรรมที่ปฏิบัติในห้องเรียน เช่น การถือของ การยกของ การแจกของ
เป็นต้น
-ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ครูได้วางแผน เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวครูต้องให้เด็ก
ได้ปฏิบัติอย่างทั่วถึง และมีการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมและบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่อง
โดยส่งเสริมให้เด็กได้พูดโต้ตอบ สื่อสารให้ตรงตามที่เด็กและครูต้องการ มีการให้แรงเสริมและให้
กำลังใจแก่เด็ก ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวถึงแม้จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆหรือทำเป็นประจำแล้ว แต่ถ้าครูละเลยและไม่ให้ความ
สนใจ ตลอดทั้งไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่สามารถสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับเด็กได้
2554/04/30
เด็กปฐมวัยกับการประเมินพัฒนาการ
การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อเด็ก แต่สิ่งที่มีความสำคัญอีก
อย่างหนึ่งคือการที่จะต้องมีการประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถอธิบายได้ว่าเด็กมีพัฒนา
อย่างไร เรามีแนวทางการประเมินที่จำเป็นต้องดำเนินการซึ่งพอจะกล่าวได้คือ
- ประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเฉพาะวิธีการสังเกตซึ่งมีความสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้
- บันทึกพฤติกรรมที่ได้ประเมินทุกครั้ง
- นำผลของการประเมินพัฒนาการไปใช้ในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆอย่างเต็มศักยภาพ
- รายงานการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาเด็ก
สิ่งที่กล่าวข้างต้นมีความจำเป็นและเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกับการจัดกิจกรรม
หรือการจัดประการณ์ให้กับเด็ก
อย่างหนึ่งคือการที่จะต้องมีการประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถอธิบายได้ว่าเด็กมีพัฒนา
อย่างไร เรามีแนวทางการประเมินที่จำเป็นต้องดำเนินการซึ่งพอจะกล่าวได้คือ
- ประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเฉพาะวิธีการสังเกตซึ่งมีความสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้
- บันทึกพฤติกรรมที่ได้ประเมินทุกครั้ง
- นำผลของการประเมินพัฒนาการไปใช้ในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆอย่างเต็มศักยภาพ
- รายงานการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาเด็ก
สิ่งที่กล่าวข้างต้นมีความจำเป็นและเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกับการจัดกิจกรรม
หรือการจัดประการณ์ให้กับเด็ก
2554/04/17
ป้ายนิเทศในห้องเรียนของเด็กปฐมวัย
การจัดป้ายนิเทศในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญสำหรับการจัดประสบการณ์เพื่อ
พัฒนาเด็กไม่ได้จัดเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่การจัดป้ายนิเทศมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก
เพราะทำให้เด็กได้ขยายประสบการณ์จากเนื้อหาที่เด็กได้เรียนรู้จากการจัดประสบการณ์ของครู เด็กได้
สื่อสารกับบุคคลต่างๆ เด็กได้เกิดความภูมิใจ เป็นต้น ดังนั้นครูจำเป็นจะต้องจัดป้ายนิเทศที่ประกอบด้วย
ลักษณะดังนี้
- ติดภาพหรือเรื่องราวที่ต้องการให้เด็กรู้ และทำกิจกรรมในสัปดาห์ที่กำลังเรียน
- ติดภาพและผลงานของเด็กพร้อมชื่อเจ้าของผลงาน
- ติดภาพหรือโปสเตอร์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งต้องการให้เด็กได้ทำ
- ติดภาพทบทวนสิ่งที่เรียนในสัปดาห์ก่อน
ฉะนั้น การจัดป้ายนิเทศมีความสำคัญต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูจะต้องวางแผนการจัด และ
ดำเนินการจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
พัฒนาเด็กไม่ได้จัดเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่การจัดป้ายนิเทศมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก
เพราะทำให้เด็กได้ขยายประสบการณ์จากเนื้อหาที่เด็กได้เรียนรู้จากการจัดประสบการณ์ของครู เด็กได้
สื่อสารกับบุคคลต่างๆ เด็กได้เกิดความภูมิใจ เป็นต้น ดังนั้นครูจำเป็นจะต้องจัดป้ายนิเทศที่ประกอบด้วย
ลักษณะดังนี้
- ติดภาพหรือเรื่องราวที่ต้องการให้เด็กรู้ และทำกิจกรรมในสัปดาห์ที่กำลังเรียน
- ติดภาพและผลงานของเด็กพร้อมชื่อเจ้าของผลงาน
- ติดภาพหรือโปสเตอร์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งต้องการให้เด็กได้ทำ
- ติดภาพทบทวนสิ่งที่เรียนในสัปดาห์ก่อน
ฉะนั้น การจัดป้ายนิเทศมีความสำคัญต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูจะต้องวางแผนการจัด และ
ดำเนินการจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
เพลงกับการพัฒนาเด็ก
เด็กปฐมวัยเป็นวัยทองของชีวิตมนุษย์ การที่ให้เด็กได้พัฒนาตั้งแต่เล็กๆด้วยการให้เด็ก
ได้ฟังเพลงจังหวะช้าๆ มีผลต่อการทำงานของสมองโดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง ดนตรีทำให้จิตใจสงบ
เยือกเย็นและมีใจจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นอัลฟา เมื่อเกิดคลื่นอัลฟาทำให้เกิดสภาวะที่มีสมาธิและเป็นสภาพที่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กเล็กๆ ซึ่งขณะนี้เด็กมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยให้เด็กมีสมาธิต่อการเรียนรู้ ดังนั้นเราควรจัดให้เด็กได้ฟังเพลงที่กล่าวข้างต้น นอกจากทำให้เกิดสมาธิแล้ว ยังเกิดผลต่อเด็กดังนี้
- เกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ
- มีความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน มีความรู้สึกผ่อนคลาย
- เกิดทักษะการฟัง
จากที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของผลการใช้เพลงอันเหมาะสมที่เกิดกับเด็ก ผู้ใหญ่จึงต้องพิจารณาการนำเพลงมาใช้ในการพัฒนาเด็กเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กอย่างมึคุณค่า
ได้ฟังเพลงจังหวะช้าๆ มีผลต่อการทำงานของสมองโดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง ดนตรีทำให้จิตใจสงบ
เยือกเย็นและมีใจจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นอัลฟา เมื่อเกิดคลื่นอัลฟาทำให้เกิดสภาวะที่มีสมาธิและเป็นสภาพที่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กเล็กๆ ซึ่งขณะนี้เด็กมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยให้เด็กมีสมาธิต่อการเรียนรู้ ดังนั้นเราควรจัดให้เด็กได้ฟังเพลงที่กล่าวข้างต้น นอกจากทำให้เกิดสมาธิแล้ว ยังเกิดผลต่อเด็กดังนี้
- เกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ
- มีความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน มีความรู้สึกผ่อนคลาย
- เกิดทักษะการฟัง
จากที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของผลการใช้เพลงอันเหมาะสมที่เกิดกับเด็ก ผู้ใหญ่จึงต้องพิจารณาการนำเพลงมาใช้ในการพัฒนาเด็กเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กอย่างมึคุณค่า
2554/03/21
มุมหนังสือหรือมุมอ่าน : สำคัญสำหรับเด็ก
มุมหนังสือหรือมุมอ่านมีความสำคัญมาก ทั้งที่เด็กอยู่บ้านหรืออยู่ที่โรงเรียน ผู้ใหญ่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมุมดังกล่าวให้แก่เด็ก เพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการปลูก
ฝังการรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ใช่หวังแต่เพียงโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องสร้างบรรยากาศ
เพื่อการอ่านให้แก่เด็ก สภาพทางบ้านและทางโรงเรียนจะต้องช่วยกัน และร่วมมือกันอย่างที่เรียกว่าเราจะต้องไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเด็กมีพฤติกรรมรักการอ่าน ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่เริ่มขับเคลื่อนโดยจัดเป็นมุมหนังสือในห้องเรียนและมีความมุ่งมั่นดังนี้
-จัดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งในห้อง กำหนดพื้นที่ไว้ด้วยเสื่อหรือพรม ห้ามเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะอยู่ในมุมหนังสือ
-จัดหาหนังสือที่หลากหลาย จัดเป็นแถวให้เห็นทุกปก ไม่จัดเรียงซ้อนกัน หรือจัดสูง
เกินไปสำหรับเด็กจะหยิบได้
-จัดเปลี่ยนหนังสือตามหัวข้อที่ต้องการให้เด็กอ่าน หรือตามความสนใจ สำหรับหนังสือ
เล่มโปรดของเด็กไม่จำเป็นต้องเอาลงจากชั้น อาจตั้งโชว์ไว้เป็นเวลานานก็ได้แล้วแต่ความสนใจของเด็ก
ดังนั้นการที่จะให้เด็กรักการอ่านหนังสือผู้ใหญ่จะต้องทำหลายอย่างไม่ใช่เพียงแต่เขียน
โครงการหรือพูดกันเท่านั้น มีกิจกรรมหลายอย่างที่เราจะต้องลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
ฝังการรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ใช่หวังแต่เพียงโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องสร้างบรรยากาศ
เพื่อการอ่านให้แก่เด็ก สภาพทางบ้านและทางโรงเรียนจะต้องช่วยกัน และร่วมมือกันอย่างที่เรียกว่าเราจะต้องไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเด็กมีพฤติกรรมรักการอ่าน ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่เริ่มขับเคลื่อนโดยจัดเป็นมุมหนังสือในห้องเรียนและมีความมุ่งมั่นดังนี้
-จัดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งในห้อง กำหนดพื้นที่ไว้ด้วยเสื่อหรือพรม ห้ามเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะอยู่ในมุมหนังสือ
-จัดหาหนังสือที่หลากหลาย จัดเป็นแถวให้เห็นทุกปก ไม่จัดเรียงซ้อนกัน หรือจัดสูง
เกินไปสำหรับเด็กจะหยิบได้
-จัดเปลี่ยนหนังสือตามหัวข้อที่ต้องการให้เด็กอ่าน หรือตามความสนใจ สำหรับหนังสือ
เล่มโปรดของเด็กไม่จำเป็นต้องเอาลงจากชั้น อาจตั้งโชว์ไว้เป็นเวลานานก็ได้แล้วแต่ความสนใจของเด็ก
ดังนั้นการที่จะให้เด็กรักการอ่านหนังสือผู้ใหญ่จะต้องทำหลายอย่างไม่ใช่เพียงแต่เขียน
โครงการหรือพูดกันเท่านั้น มีกิจกรรมหลายอย่างที่เราจะต้องลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
2554/03/12
2554/03/10
ความสำคัญของกระบวนการพัฒนาร่างกาย
มีผู้ใหญ่หลายคนที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กยังไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนา
การด้านร่างกาย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นจริงแล้วการ
พัฒนาด้านร่างกายแล้วมีส่วนสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตของสมองอย่างแยกกันไม่ออกเลย โดย
เฉพาะในเด็กช่วงปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้กระบวนการพัฒนาร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็ก จำเป็น
จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงสร้างของร่างกาย
ตั้งแต่กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ในการที่ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ผู้ใหญ่
ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาคือ
-ให้เด็กได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนให้ร่างกายได้ใช้ทั้งระบบ
-ให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการใช้ตา มือ เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
ให้สัมพันธ์กัน
-ให้เด็กได้เล่น การเล่นของเด็กทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด
ปีน โหน เป็นต้น
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการในตัวเด็กอย่างมากมายหรือที่
เรียกว่าการพัฒนาแบบองค์รวม
การด้านร่างกาย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นจริงแล้วการ
พัฒนาด้านร่างกายแล้วมีส่วนสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตของสมองอย่างแยกกันไม่ออกเลย โดย
เฉพาะในเด็กช่วงปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้กระบวนการพัฒนาร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็ก จำเป็น
จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงสร้างของร่างกาย
ตั้งแต่กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ในการที่ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ผู้ใหญ่
ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาคือ
-ให้เด็กได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนให้ร่างกายได้ใช้ทั้งระบบ
-ให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการใช้ตา มือ เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
ให้สัมพันธ์กัน
-ให้เด็กได้เล่น การเล่นของเด็กทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด
ปีน โหน เป็นต้น
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการในตัวเด็กอย่างมากมายหรือที่
เรียกว่าการพัฒนาแบบองค์รวม
2554/03/06
สมองของเด็กวัย 2-7 ปี
การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กวัย 2-7 ปีนั้นผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของสมองวัยดังกล่าว เพื่อจะได้ออกแบบจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนา
การของเด็กคือกิจกรรมจะได้ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ที่สำคัญกิจกรรมจะต้องผ่านการเล่นเด็กจึงเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการที่เรียกว่า preoperational stage เด็กเรียนรู้ภาษาและคิดแบบตนเองเป็นศูนย์กลาง เล่นแบบสมมติ เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถโยงความ
สัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ได้แต่เหตุผลของเด็กมีขอบเขตที่เป็นสิ่งที่มีจำกัดเพราะเด็กยังคง
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองเฉพาะตนเอง ไม่เห็นเหตุผลของคนอื่น ยังไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็น
จริง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและรู้จักแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจ
ความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดเจนมากนัก สามารถแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้ รู้จักการนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นได้ และสามารถนำเหตุผลทั่วไป
มาสรุปแก้ปัญหาได้บ้าง การคิดหาเหตุผลยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กรับรู้เท่านั้น การพัฒนาสมองดังกล่าวผู้ใหญ่ต้องรู้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเด็กต่อไป
จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของสมองวัยดังกล่าว เพื่อจะได้ออกแบบจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนา
การของเด็กคือกิจกรรมจะได้ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ที่สำคัญกิจกรรมจะต้องผ่านการเล่นเด็กจึงเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการที่เรียกว่า preoperational stage เด็กเรียนรู้ภาษาและคิดแบบตนเองเป็นศูนย์กลาง เล่นแบบสมมติ เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถโยงความ
สัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ได้แต่เหตุผลของเด็กมีขอบเขตที่เป็นสิ่งที่มีจำกัดเพราะเด็กยังคง
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองเฉพาะตนเอง ไม่เห็นเหตุผลของคนอื่น ยังไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็น
จริง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและรู้จักแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจ
ความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดเจนมากนัก สามารถแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้ รู้จักการนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นได้ และสามารถนำเหตุผลทั่วไป
มาสรุปแก้ปัญหาได้บ้าง การคิดหาเหตุผลยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กรับรู้เท่านั้น การพัฒนาสมองดังกล่าวผู้ใหญ่ต้องรู้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเด็กต่อไป
2554/02/27
การเล่นเกมการเล่นและเกมการศึกษา
กิจกรรมที่เรารู้จักว่าเป็นการเล่นเกมการละเล่นนั้นคือสิ่งที่ผู้ใหญ่จัดให้เด็กเล็กได้เล่น อาจจะเป็นการเล่นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ การเล่นสำหรับเด็กเล็กควรเป็นเกมการละเล่นที่มีกติกาไม่ยุ่งยากนัก จุดประสงค์ให้เด็กได้เกิดความสนุกสนาน และพัฒนาการด้านร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อใหญ่ ครูเป็นผู้อธิบายให้เด็กได้เข้าใจก่อนการเล่น ส่วนเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้าน
สติปัญญา มีกติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ จุดประสงค์คือการพัฒนา
สติปัญญาในเรื่องการฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต การคิดหาเหตุผล การฝึกความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท การแก้ปัญหา เป็นต้น เกมการศึกษา ที่นำมาให้เด็กได้เล่นเพื่อการพัฒนาได้แก่ เกมจับคู่ เกมเรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ เกมจัดหมวดหมู่ เป็นต้น ทั้งการเล่น
เกมการละเล่นและเกมการศึกษา ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการ และเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมจึงจะเกิดการพัฒนาเด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ
สติปัญญา มีกติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ จุดประสงค์คือการพัฒนา
สติปัญญาในเรื่องการฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต การคิดหาเหตุผล การฝึกความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท การแก้ปัญหา เป็นต้น เกมการศึกษา ที่นำมาให้เด็กได้เล่นเพื่อการพัฒนาได้แก่ เกมจับคู่ เกมเรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ เกมจัดหมวดหมู่ เป็นต้น ทั้งการเล่น
เกมการละเล่นและเกมการศึกษา ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการ และเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมจึงจะเกิดการพัฒนาเด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ
2554/02/14
ผู้ปกครองกับความเข้าใจในเรื่องเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
เด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนั้น ผู้ปกครองมีความสำคัญในเรื่องการ
จัดประสบการณ์ให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว คือผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจและร่วมมือกับครูในการจัดการ
ศึกษาให้กับเด็กทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เด็กกลุ่มที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหมายถึงเด็ก
ประเภทต่างๆ ดังนี้
- เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
- เด็กพิการ เด็กที่มึความบกพร่องทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ทางการได้ยิน
ทางการเห็นและทางอารมณ์ จิตใจ สังคม เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง
- เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคม
- เด็กที่ถูดละเมิดทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการละเมิดทางเพศ
ดังนั้นเมื่อผู้ปกครองร่วมมือกับครูในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยตั้งแต่เล็กๆ
โดยให้ความสำคัญกับเด็กทั้งสองกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กปฐมวัย
จัดประสบการณ์ให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว คือผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจและร่วมมือกับครูในการจัดการ
ศึกษาให้กับเด็กทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เด็กกลุ่มที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหมายถึงเด็ก
ประเภทต่างๆ ดังนี้
- เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
- เด็กพิการ เด็กที่มึความบกพร่องทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ทางการได้ยิน
ทางการเห็นและทางอารมณ์ จิตใจ สังคม เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง
- เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคม
- เด็กที่ถูดละเมิดทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการละเมิดทางเพศ
ดังนั้นเมื่อผู้ปกครองร่วมมือกับครูในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยตั้งแต่เล็กๆ
โดยให้ความสำคัญกับเด็กทั้งสองกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กปฐมวัย
2554/02/06
การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่
การเรียนรู้ตามแนวการเรียนการสอนมอนเตสซอรี่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ความ
สำคัญกับศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้ริเริ่มปรัชญาและแนวคิดนี้ คือ Dr. Maria Montessori
แพทย์ชาวอิตาลี การเรียนการสอนแนวมอนเตสซอรี่ ครูผู้สอนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ
ต้องเข้าใจถึงปรัชญา หลักการ และแนวคิดที่ถูกต้อง สามารถนำไปสู่การปฏิบัติซึ่งต้องได้รับการฝึก
อบรมอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการทดสอบตามที่กำหนด ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่หลักของ
ครูมอนเตสซอรี่มีดังนี้
1 จัดเตรียมสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก
ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความอบอุ่นและสบายใจ
2 แนะนำวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์เพื่อให้เด็กได้รู้จักวิธีการใช้ ตลอดจนรู้วัตถุประสงค์
ของสื่อ
3 ให้อิสระเด็กในการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้เด็กปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องจน
สำเร็จก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตามความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ จากสื่อที่ปฏิบัติตาม
ช่วงเวลาที่เด็กสนใจ
4 สังเกตการทำงานของเด็ก เพื่อปรับและพัฒนาสภาพแวดล้อมสื่ออุปกรณ์ให้
สอดคล้องกับเด็กและศักยภาพของเด็กยิ่งขึ้น โดยไม่เข้าไปขัดจังหวะ
สิ่งดังกล่าวเป็นบทบาท และหน้าที่หลักของครูซึ่งจัดการเรียนการสอนที่นำแนวมอนเตสซอรี่มาใช้
สำคัญกับศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้ริเริ่มปรัชญาและแนวคิดนี้ คือ Dr. Maria Montessori
แพทย์ชาวอิตาลี การเรียนการสอนแนวมอนเตสซอรี่ ครูผู้สอนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ
ต้องเข้าใจถึงปรัชญา หลักการ และแนวคิดที่ถูกต้อง สามารถนำไปสู่การปฏิบัติซึ่งต้องได้รับการฝึก
อบรมอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการทดสอบตามที่กำหนด ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่หลักของ
ครูมอนเตสซอรี่มีดังนี้
1 จัดเตรียมสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก
ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความอบอุ่นและสบายใจ
2 แนะนำวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์เพื่อให้เด็กได้รู้จักวิธีการใช้ ตลอดจนรู้วัตถุประสงค์
ของสื่อ
3 ให้อิสระเด็กในการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้เด็กปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องจน
สำเร็จก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตามความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ จากสื่อที่ปฏิบัติตาม
ช่วงเวลาที่เด็กสนใจ
4 สังเกตการทำงานของเด็ก เพื่อปรับและพัฒนาสภาพแวดล้อมสื่ออุปกรณ์ให้
สอดคล้องกับเด็กและศักยภาพของเด็กยิ่งขึ้น โดยไม่เข้าไปขัดจังหวะ
สิ่งดังกล่าวเป็นบทบาท และหน้าที่หลักของครูซึ่งจัดการเรียนการสอนที่นำแนวมอนเตสซอรี่มาใช้
2554/02/03
มาเข้าใจวัฒนธรรมการอ่านของเด็กปฐมวัย
ตอนนี้เราหรือผู้ใหญ่มารณรงค์ให้เด็กมีพฤติกรรมรักการอ่าน จนกระทั่งต้องการให้
เด็กมีวัฒนธรรมในการอ่าน สำหรับคำที่กล่าวข้างต้นเรามีความเข้าใจอย่างไรบ้าง ถ้าเราเข้าใจตรง
กันแล้วจะทำให้สามารถดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องและทำให้สถานการณ์ในการอ่าน
ของคนไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ความหมายของวัฒนธรรมในการอ่าน หากพูดง่ายๆคือ การที่เด็กมี
พฤติกรรมการอ่านอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นนิสัยของบุคคลในทุกแห่งของการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์ โดยที่ผู้มีพฤติกรรมการอ่านรู้สึกเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์จากการอ่าน และมีเจตคติที่
ดีต่อการอ่าน จนเกิดการถ่ายทอด ส่งเสริม การอ่านไปสู่ผู้อื่น วัฒนธรรมดังกล่าว พูดง่ายๆคือ
จะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ระบบคิด คุณค่า ความเชื่อในวิถีชีวิตของบุคคล จนยึดถือกลาย
เป็นชีวิตประจำวันของคน และมีการถ่ายทอดในกลุ่มบุคคล หรือจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นเมื่อทุกคน
มีความเข้าใจในวัฒนธรรมดังกล่าวตรงกัน โดยเฉพาะครูเด็กเล็กๆซึ่งจะต้องวางรากฐานการอ่าน
จะต้องรวบรวมความรู้ความสามารถและปฏิบัติร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เกิดวัฒนธรรมการอ่าน
ให้ได้ตั้งแต่แรก
เด็กมีวัฒนธรรมในการอ่าน สำหรับคำที่กล่าวข้างต้นเรามีความเข้าใจอย่างไรบ้าง ถ้าเราเข้าใจตรง
กันแล้วจะทำให้สามารถดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องและทำให้สถานการณ์ในการอ่าน
ของคนไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ความหมายของวัฒนธรรมในการอ่าน หากพูดง่ายๆคือ การที่เด็กมี
พฤติกรรมการอ่านอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นนิสัยของบุคคลในทุกแห่งของการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์ โดยที่ผู้มีพฤติกรรมการอ่านรู้สึกเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์จากการอ่าน และมีเจตคติที่
ดีต่อการอ่าน จนเกิดการถ่ายทอด ส่งเสริม การอ่านไปสู่ผู้อื่น วัฒนธรรมดังกล่าว พูดง่ายๆคือ
จะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ระบบคิด คุณค่า ความเชื่อในวิถีชีวิตของบุคคล จนยึดถือกลาย
เป็นชีวิตประจำวันของคน และมีการถ่ายทอดในกลุ่มบุคคล หรือจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นเมื่อทุกคน
มีความเข้าใจในวัฒนธรรมดังกล่าวตรงกัน โดยเฉพาะครูเด็กเล็กๆซึ่งจะต้องวางรากฐานการอ่าน
จะต้องรวบรวมความรู้ความสามารถและปฏิบัติร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เกิดวัฒนธรรมการอ่าน
ให้ได้ตั้งแต่แรก
2554/02/01
ฝึกทักษะการสังเกตให้กับเด็กอย่างไรขณะทัศนศึกษา
ทักษะการสังเกตในเด็กเล็กมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนรู้ทุกชนิด การสังเกต
เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา
จมูก ลิ้น และผิวกาย โดยประสาทสัมผัสดังกล่าวเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฎการณ์ต่างๆ
การสังเกตถือว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานขั้นแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อการ
เรียนรู้ ขณะเด็กมีกิจกรรมทัศนศึกษาควรฝึกทักษะการสังเกตดังนี้
- ให้เด็กได้ฝึกทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสขณะดำเนินกิจกรรมให้มากที่สุด
- ฝึกการสังเกตจากสิ่งที่ง่ายและส่วนที่ใหญ่ก่อน แล้วจึงสังเกตสิ่งที่เล็กและซับซ้อนขึ้น
ตามลำดับ
- ผู้ใหญ่จะต้องช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งต่างๆก่อนเมื่อเด็กเกิดความสนใจแล้วเด็ก
จะมีความต้องการสังเกตเอง
- ส่งเสริมให้เด็กมีการสังเกตอย่างต่อเนื่อง และได้เห็นถึงความแตกต่างของสิ่งที่สังเกต
- ข้อมูลต่างๆที่เด็กมีอยู่ ผู้ใหญ่จะต้องส่งเสริมและช่วยในการตัดสินใจให้กับเด็ก
ถ้าครูหรือผู้ใหญ่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะการสังเกตขณะพาเด็กไปทัศนศึกษาแล้ว
และฝึกอย่างต่อเนื่อง ทักษะนี้ก็จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวเด็กไปจนโต เด็กก็จะเป็นคนที่ช่างสังเกตเมื่อ
เขาเป็นผู้ใหญ่
เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา
จมูก ลิ้น และผิวกาย โดยประสาทสัมผัสดังกล่าวเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฎการณ์ต่างๆ
การสังเกตถือว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานขั้นแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อการ
เรียนรู้ ขณะเด็กมีกิจกรรมทัศนศึกษาควรฝึกทักษะการสังเกตดังนี้
- ให้เด็กได้ฝึกทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสขณะดำเนินกิจกรรมให้มากที่สุด
- ฝึกการสังเกตจากสิ่งที่ง่ายและส่วนที่ใหญ่ก่อน แล้วจึงสังเกตสิ่งที่เล็กและซับซ้อนขึ้น
ตามลำดับ
- ผู้ใหญ่จะต้องช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งต่างๆก่อนเมื่อเด็กเกิดความสนใจแล้วเด็ก
จะมีความต้องการสังเกตเอง
- ส่งเสริมให้เด็กมีการสังเกตอย่างต่อเนื่อง และได้เห็นถึงความแตกต่างของสิ่งที่สังเกต
- ข้อมูลต่างๆที่เด็กมีอยู่ ผู้ใหญ่จะต้องส่งเสริมและช่วยในการตัดสินใจให้กับเด็ก
ถ้าครูหรือผู้ใหญ่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะการสังเกตขณะพาเด็กไปทัศนศึกษาแล้ว
และฝึกอย่างต่อเนื่อง ทักษะนี้ก็จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวเด็กไปจนโต เด็กก็จะเป็นคนที่ช่างสังเกตเมื่อ
เขาเป็นผู้ใหญ่
2554/01/16
พัฒนาการการแสดงออกของเด็กวัย 3-6 ปี
เด็กวัยอายุ 3-6 ปี มีช่วงความสนใจประมาณ 15 -20 นาที ซึ่งเป็นช่วงที่น้อยมาก
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกไม่ควรให้นานเกิน 20 นาที อย่างเช่นการให้เด็กแสดงละคร การ
แสดงละครเป็นการแสดงออกของเด็กซึ่งเด็กในวัยนี้ชอบแสดงจากนิทาน จินตนาการ เพลง บทกลอน
และประสบการณ์ เด็กยังไม่ความสามารถในด้านการหาเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นตัวละครต่างๆ ที่มี
บทบาทต้องให้ชัดเจน การแสดงออกในวัยนี้จะเป็นการแสดงออกโดยการให้เด็กได้เคลื่อนไหวทาง
ร่างกาย และเด็กสามารถจับจังหวะดนตรีง่ายๆ และแสดงออกตามจังหวะได้ การทำให้เด็กได้แสดง
ออกในลักษณะของรูปแบบหรือท่าทางตามตัวอย่างเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ยาก ดังนั้นการให้เด็กได้แสดง
ออกจึงควรปล่อยให้เด็กมีอิสระที่จะทำท่าใดก็ได้ตามจินตนาการของเด็กเอง สิ่งที่เด็กทำได้จะเป็น
ประสบการณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก อย่างเช่นความสามารถในการทำท่าทางเลียนแบบท่าเดินของ
สัตว์ เสียงร้องของสัตว์ สิ่งที่สำคัญในเรื่องดังกล่าวอยู่ที่การเริ่มต้นสร้างความรู้สึกที่ดีแก่เด็ก และ
ความคิดที่เด็กได้คิดด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กต่อไป
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกไม่ควรให้นานเกิน 20 นาที อย่างเช่นการให้เด็กแสดงละคร การ
แสดงละครเป็นการแสดงออกของเด็กซึ่งเด็กในวัยนี้ชอบแสดงจากนิทาน จินตนาการ เพลง บทกลอน
และประสบการณ์ เด็กยังไม่ความสามารถในด้านการหาเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นตัวละครต่างๆ ที่มี
บทบาทต้องให้ชัดเจน การแสดงออกในวัยนี้จะเป็นการแสดงออกโดยการให้เด็กได้เคลื่อนไหวทาง
ร่างกาย และเด็กสามารถจับจังหวะดนตรีง่ายๆ และแสดงออกตามจังหวะได้ การทำให้เด็กได้แสดง
ออกในลักษณะของรูปแบบหรือท่าทางตามตัวอย่างเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ยาก ดังนั้นการให้เด็กได้แสดง
ออกจึงควรปล่อยให้เด็กมีอิสระที่จะทำท่าใดก็ได้ตามจินตนาการของเด็กเอง สิ่งที่เด็กทำได้จะเป็น
ประสบการณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก อย่างเช่นความสามารถในการทำท่าทางเลียนแบบท่าเดินของ
สัตว์ เสียงร้องของสัตว์ สิ่งที่สำคัญในเรื่องดังกล่าวอยู่ที่การเริ่มต้นสร้างความรู้สึกที่ดีแก่เด็ก และ
ความคิดที่เด็กได้คิดด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กต่อไป
2554/01/12
การพัฒนาสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย
การพัฒนาสมรรถภาพทางกายหรือการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด ซึ่ง
เด็กมีการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ โดยเด็กไม่ต้องได้รับการฝึกหัด การเคลื่อนไหวที่สลับซับซ้อน
บางอย่างเด็กจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน เมื่อเด็กมีการโตขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การกระโดด
การเคลื่อนไหว เป็นต้น การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย สรุปแล้วหมายถึง ความสามารถใน
การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ การควบคุมกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว ความสามารถในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กจะเริ่มจากศีรษะ ไปยังส่วนเท้า จากลำตัวไปยังแขน มือ นิ้ว
จากสะโพกไปยังขา จนกระทั่งถึงปลายเท้า ซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใหญ่ ไปสู่
การทำงานของกล้ามเนื้อเล็ก ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของ
เด็กในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยนี้
เด็กมีการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ โดยเด็กไม่ต้องได้รับการฝึกหัด การเคลื่อนไหวที่สลับซับซ้อน
บางอย่างเด็กจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน เมื่อเด็กมีการโตขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การกระโดด
การเคลื่อนไหว เป็นต้น การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย สรุปแล้วหมายถึง ความสามารถใน
การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ การควบคุมกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว ความสามารถในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กจะเริ่มจากศีรษะ ไปยังส่วนเท้า จากลำตัวไปยังแขน มือ นิ้ว
จากสะโพกไปยังขา จนกระทั่งถึงปลายเท้า ซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใหญ่ ไปสู่
การทำงานของกล้ามเนื้อเล็ก ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของ
เด็กในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยนี้
2554/01/04
การเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟที่ร.ร.บ้านหนองขาม
โรงเรียนบ้านหนองขาม อยู่ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี การจัดการเรียนการ
สอนในระดับชั้นอนุบาลใช้แนวการเรียนการสอนวอลดอร์ฟมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนนับเป็นระยะเวลาหลายปึมาแล้ว สภาพแวดล้อมของโรงเรียนซึ่งมีป่าชุมชน มีครูปฐมวัยซึ่งเข้าใจการพัฒนาเด็กจาก
ปัจจัยพื้นฐานของชุมชนคืออาจารย์ปณิตา ศิลารักษ์ ลักษณะสำคัญของที่โรงเรียนนี้คือ เด็กเรียนรู้
โดยผ่านรูปธรรม ผ่านการปฏิบัติ เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ล้อมรอบ
โรงเรียน ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการพัฒนาพลังเจตจำนงของเด็กๆในโรงเรียนบ้านหนองขาม ที่พวก
เขาทั้งหลายมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเขา สิ่งแวดล้อมนี้เป็นพลัง
ส่งเสริมให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆที่ดีงาม นับได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาเด็กของ
โรงเรียนบ้านหนองขามไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ดีงาม และเป็นมนุษย์ที่เต็ม
สอนในระดับชั้นอนุบาลใช้แนวการเรียนการสอนวอลดอร์ฟมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนนับเป็นระยะเวลาหลายปึมาแล้ว สภาพแวดล้อมของโรงเรียนซึ่งมีป่าชุมชน มีครูปฐมวัยซึ่งเข้าใจการพัฒนาเด็กจาก
ปัจจัยพื้นฐานของชุมชนคืออาจารย์ปณิตา ศิลารักษ์ ลักษณะสำคัญของที่โรงเรียนนี้คือ เด็กเรียนรู้
โดยผ่านรูปธรรม ผ่านการปฏิบัติ เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ล้อมรอบ
โรงเรียน ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการพัฒนาพลังเจตจำนงของเด็กๆในโรงเรียนบ้านหนองขาม ที่พวก
เขาทั้งหลายมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเขา สิ่งแวดล้อมนี้เป็นพลัง
ส่งเสริมให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆที่ดีงาม นับได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาเด็กของ
โรงเรียนบ้านหนองขามไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ดีงาม และเป็นมนุษย์ที่เต็ม
2554/01/03
เด็กปฐมวัยกับละครสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ร่วมกันทำกิจกรรมนั้นมีผลต่อเด็กเป็นอย่างมาก
จุดประสงค์ของละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กได้คิด ตลอดจนแสดงออกตามแบบละครที่ไม่มีรูปแบบ
ตายตัว สิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์คือครูต้องคอยให้การสนับสนุน แนะแนวเด็กอย่างต่อเนื่องและคอย
อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก ลักษณะของละครสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยคือ
-การแสดงละครเป็นไปตามความสามารถของเด็ก
-เป็นการพัฒนาเด็กในทุกด้าน
-เด็กแสดงละครด้วยความคิดของตนเองและความพอใจ
-ไม่จำเป็นต้องท่องจำบททุกตอน
-ฉากและเครื่องแต่งกายมีประกอบบ้างเพื่อเป็นการช่วยในเรื่องจินตนาการ
-ไม่มีการกำกับการแสดงอย่างจริงจัง
-เด็กช่วยกันคิดในการแสดงละครสร้างสรรค์โดยได้รับคำแนะนำจากครู
ดังนั้นการแสดงละครสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยจึงให้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม
จุดประสงค์ของละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กได้คิด ตลอดจนแสดงออกตามแบบละครที่ไม่มีรูปแบบ
ตายตัว สิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์คือครูต้องคอยให้การสนับสนุน แนะแนวเด็กอย่างต่อเนื่องและคอย
อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก ลักษณะของละครสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยคือ
-การแสดงละครเป็นไปตามความสามารถของเด็ก
-เป็นการพัฒนาเด็กในทุกด้าน
-เด็กแสดงละครด้วยความคิดของตนเองและความพอใจ
-ไม่จำเป็นต้องท่องจำบททุกตอน
-ฉากและเครื่องแต่งกายมีประกอบบ้างเพื่อเป็นการช่วยในเรื่องจินตนาการ
-ไม่มีการกำกับการแสดงอย่างจริงจัง
-เด็กช่วยกันคิดในการแสดงละครสร้างสรรค์โดยได้รับคำแนะนำจากครู
ดังนั้นการแสดงละครสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยจึงให้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)